ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหินระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ราษฎรบ้านท่าวังหิน ได้ร้องขอให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน โดยแยกสาขามาจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว เนื่องจากระยะทางจากหมู่บ้านไปโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว เป็นระยะทาง ๕ กิโลเมตร มีแม่น้ำปราณบุรีขวางกั้น และเมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำป่าไหลหลาก อาจจะทำให้เกิดอันตรายและทำให้การเดินทางของนักเรียนได้รับความลำบาก แรกดำเนินการจัดตั้ง (แยกสาขา) ได้อาศัยศาลาการเปรียญสำนักสงฆ์ท่าวังหิน เป็นสถานที่ให้การศึกษาแก่นักเรียน โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๔๐ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
พื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูงและที่ลาดเชิงเขา อากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล จะมีอากาศร้อนและแห้งแล้งเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฤดูฝนจะมีฝนตกชุก ยาวนาน ระหว่างเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน

การคมนาคม
เส้นทางภายในหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง การเดินทางลำบากเพราะค่อนข้างลาดชัน โดยเฉพาะฤดูในเส้นทางบางตอนจะถูกตัดขาด การติดต่อระหว่างหมู่บ้านกับตำบลและอำเภอมีเส้นทางคมนาคม ๑ เส้นทาง ระยะทางถึงที่ว่าการอำเภอปราณบุรี ๒๗ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
หมู่บ้านท่าวังหินมีประชากรอาศัยอยู่ ๑๔๔ คน แยกเป็น ๓๔ ครัวเรือน เป็นชาย ๗๑ คน เป็นหญิง ๗๓ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ สับปะรด เผือก พริก อาชีพสำรองคือ อาชีพรับจ้าง และประมงน้ำจืด มีรายได้เฉลี่ยครอบครัว ๘,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน   นายไพรวัลย์   บุญล้อม
ผู้ใหญ่บ้าน   นายสำราญ   ชูช่วย

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
มีเส้นทางคมนาคม ๑ เส้น เป็นถนนลูกรัง สามารถติดต่อหมู่บ้านใกล้เคียงได้ ๒ หมู่บ้าน คือ
๑. บ้านท่าทุ่ง หมู่ที่ ๓ ระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร
๒. บ้านกระทุ่น ระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. พัฒนาเส้นทางคมนาคมให้ใช้ได้ทุกฤดูกาล
๒. การติดต่อระหว่างหมู่บ้านถึงอำเภอปราณบุรีค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเส้นทางคมนาคมค่อนข้างลาดชัน
๓. การนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลลำบาก เนื่องจากภายในหมู่บ้านและตำบลไม่มีสถานีอนามัยหรือสถานพยาบาล

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าวังหิน สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านท่าวังหิน บ้านท่าทุ่ง และบ้านกระทุ่น ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๔ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๒

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑. อาคารเรียน ๑ หลัง คณะกรรมการหมู่บ้าน และผู้ปกครอง
๒. อาคารโรงครัว โรงอาหาร ๑ หลัง คณะกรรมการหมู่บ้าน และผู้ปกครอง
๓. อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง คุณสุชาติ - คุณวันทนีย์ ศรีทองกิตติกุล (ปราณบุรี)
๔. อาคารห้องสมุด ห้องพยาบาล คณะอาจารย์ - นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยา
เขตเทคนิคกรุงเทพ
๕. อาคารศูนย์พัฒนาเด็ก ๑ หลัง องค์การบริหารส่วนตำบลเขาจ้าว (อบต.เขาจ้าว)
๖. เครื่องสูบน้ำดื่ม-น้ำใช้ คอนกรีต
เสริมเหล็ก ๔ ใบ บรรจุน้ำได้ ๙๐ ลูกบาศก์เมตร
หน่วยงานโยธาธิการและเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.)

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๙๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๘๖ คน เป็นชาย ๔๒ คน หญิง ๔๔ คน
มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็กเล็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ

ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
รับผิดชอบโครงการฯ
๑. ด.ต.สุภาพ จันทร์แก้ว
ม.๖
ครูใหญ่, บริหาร
๒.จ.ส.ต.ชัยรัตน์ ทิมแท้
ม.๖
โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพ
อนามัยแม่และเด็ก
๓. จ.ส.ต.ชัยยศ ทิศาวงศ์
ม.๖
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๔.จ.ส.ต.นพดล หอมเมือง
ม.ศ.๕
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๕. จ.ส.ต.รวี ภู่สอาด
ม.ศ.๕
โครงการฝึกอาชีพ
๖. จ.ส.ต.มนัส ชูยินดี
ม.๖
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
๗. ส.ต.อ.ประดิษฐ์ อะละมาลา
ม.ศ.๕
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๘. ส.ต.อ.สวอง จันทบูรณ์
ปริญญาตรี
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๙. ส.ต.ต.พัฒนศักดิ์ จูจันทร์
ม.ศ.๕
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๒
๑๗
๒๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑
๑๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖
๑๑
รวม
๔๒
๔๔
๘๖


ปัจจุบันมีนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และศึกษาต่อ จำนวน ๑๕ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๖ คน

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.ประดิษฐ์   อะละมาลา

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
  • สำนักงานเกษตรอำเภอปราณบุรี
  • แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร น้ำจากแม่น้ำปราณบุรี โดยใช้เครื่องสูบน้ำขึ้นมาใช้
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝนโดยกักเก็บไว้ น้ำจากแม่น้ำปราณบุรี โดยใช้เครื่องสูบน้ำขึ้นมาใช้ แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝนโดยกักเก็บไว้ในภาชนะถังเก็บน้ำฝนคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้พียงพอตลอดปี ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์ ผู้ประกอบเลี้ยง คือ คณะครู แม่บ้าน และผู้ปกครองนักเรียน การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๖๒ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ดังนี้
    ๑. นมผง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
    ๓. นมสด UHT จากกรมอนามัย จำนวน ๑,๐๒๒ กล่อง
  • การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันอังคาร และพฤหัสบดี
    ๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์ พุธ และศุกร์
    ๓. นมสด UHT ให้เฉพาะนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ดื่มทุกวันไม่เว้นวันหยุด

  • ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๐ - มีนาคม ๒๕๔๑
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๓.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๖๖.๒๘ ๓๘.๓๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๖๖.๒๘ ๓๘.๓๗
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี พอใช้
    มิถุนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒.๗๕ ๐.๐๐ ๘๕.๐๐ ๒๗.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑.๕๒ ๐.๐๐ ๔๗.๐๗ ๑๔.๙๕
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓.๘๑ ๐.๐๐ ๔๗.๐๗ ๑๔.๙๕
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช ้ปรับปรุง
    กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔.๗๕ ๐.๐๐ ๑๐๕.๐๐ ๗๐.๖๐
      ผลผลิตเฉลี่ย(กรัม/คน/มื้อ) ๒.๕๑ ๐.๐๐ ๕๕.๕๐ ๓๗.๓๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๖.๒๘ ๐.๐๐ ๕๕.๕๐ ๓๗.๓๒
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี พอใช้
    สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๙.๐๐ ๐.๐๐ ๘๕.๐๐ ๓๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย(กรัม/คน/มื้อ) ๕.๒๓ ๐.๐๐ ๔๙.๔๒ ๒๐.๓๕
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๑๓.๐๘ ๐.๐๐ ๔๙.๔๒ ๒๐.๓๕
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๘.๐๐ ๒๓.๕๐ ๑๖๖.๐๐ ๒๘๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๙.๕๑ ๑๒.๔๒ ๘๗.๗๔ ๑๕๐.๖๓
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๓.๗๘ ๔๙.๖๘ ๘๗.๗๔ ๑๕๐.๖๓
      ประเมินผล ปรับปรุง พอใช้ ดีมาก ดีมาก
    ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๕.๕๐ ๖๐.๐๐ ๕๔.๐๐ ๔๔.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๖.๓๘ ๖๓.๔๒ ๕๗.๐๘ ๔๖.๕๑
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๐.๙๖ ๒๕๓.๗๐ ๕๗.๐๘ ๔๖.๕๑
      ประเมินผล พอใช้ ดีมาก ดี พอใช้
    พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๔.๕๐ ๐.๐๐ ๑๓๓.๕๐ ๒๔๘.๕๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๔.๒๔ ๐.๐๐ ๗๗.๖๗ ๑๔๔.๔๘
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๕.๖๑ ๐.๐๐ ๗๗.๖๒ ๑๔๔.๔๘
      ประเมินผล พอใช้ พอใช ดีมาก ดีมาก
    ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๗.๕๐ ๐.๐๐ ๒๘๘.๕๐ ๒๗๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๙.๖๙ ๐.๐๐ ๑๕๙.๗๕ ๑๕๒.๒๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๔.๒๒ ๐.๐๐ ๑๕๙.๗๕ ๑๕๒.๒๗
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๗.๒๕ ๐.๐๐ ๑๓๖.๐๐ ๒๖๔.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๕.๘๔ ๐.๐๐ ๗๙.๐๗ ๑๕๓.๔๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๙.๖๑ ๐.๐๐ ๗๙.๐๗ ๑๕๓.๔๙
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๙.๐๐ ๘.๐๐ ๑๔๓.๐๐ ๓๐๗.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๗.๗๕ ๔.๙๐ ๘๗.๕๒ ๑๘๗.๘๘
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๔.๓๗ ๑๙.๕๘ ๘๗.๕๒ ๑๘๗.๘๘
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๓.๐๐ ๒๗.๐๐ ๑๘๖.๐๐ ๓๓๑.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๒.๑๖ ๑๔.๒๗ ๙๘.๓๑ ๑๗๔.๙๕
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๓๐.๓๙ ๕๗.๐๘ ๙๘.๓๑ ๑๗๔.๙๕
      ประเมินผล พอใช้ ดี ดีมาก ดีมาก

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๙
    ๒๙
    ๒๖
    ๑๐.๓๔
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๒
    ๑๒
    ๒๕.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๒
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๐.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๔
    ๒๒.๒๐
    พอใช้
    ประถม ๕
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๑๑
    ๑๑
    ๑๑
    ๙.๑๐
    ดีมาก
    รวม
    ๕๗
    ๕๗
    ๕๐
    ๑๒.๓๐
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
  • ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑) แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๒๐ กิโลกรัม
    ๒) น้ำตาล ๒ งวด จำนวน ๒๐ กิโลกรัม
    ๓) นมผง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
  • ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑) แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๑๕ กิโลกรัม
    ๒) น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๑๕ กิโลกรัม
    ๓) นมผง ๑ งวด จำนวน ๒๕ กิโลกรัม
    ๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

  • แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๔)
    (ตก. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๑)