|
ประวัติความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านคอกอ้ายเผือก
โรงเรียนตำรวจตระเวรชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก ตั้งอยู่ที่
หมู่ ๒ ตำบล ไชยราช อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พิกัด เอ็น เอ็น ๓๓๕๑๗๐ อยู่ในความรับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๑๔ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยความร่วมมือ ร่วมใจของราษฎรบ้านคอกอ้ายเผือกที่เห็นความสำคัญของการศึกษา
เพื่อต้องการให้บุตรหลานมีความรู้ความสามารถอ่านออกเขียนได้
ซึ่งเดิมนักเรียนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านไชยราช
เป็นระยะทางถึง ๕ กิโลเมตร ได้รับความลำบากในการเดินทางในช่วงฤดูฝนเป็นอย่างมาก
ซึ่งระหว่างทางจะมีลำห้วยขวางกั้นถึง ๒ แห่ง เวลาฝนตกหนักน้ำหลากมาก
เป็นที่ลำบากต่อการเดินทางไปโรงเรียน และนอกจากนี้ระหว่างทาง
มีสภาพเป็นป่าปกคลุมตลอดเส้นทาง ผู้ปกครองเกรงว่าบุตรหลานจะมีอันตราย
ดังนั้นประชาชนในหมู่บ้านคอกอ้ายเผือก นำโดยนายชด ทารส
ผู้ใหญ่บ้าน จึงทำหนังสือร้องขอให้ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต
๗ (กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ในปัจจุบัน) อำเภอเมือง
จังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน โดยมีนายบุญ
เกาะแก้ว เป็นผู้บริจาคที่ดินให้ จำนวน ๑๕ ไร่ และประชาชนได้ร่วมมือการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวหลังคามุงหญ้าคาขึ้นมา
๑ หลัง ขนาด ๘.๕๐ x ๑๔ เมตร แบ่งออกเป็น ๔ ชั้นเรียน
ดำเนินการก่อสร้าง เมื่อ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ต่อมาเมื่อ
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๑๘ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้อนุมัติให้เปิดโรงเรียนทำการสอนได้
โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ ได้ส่งตัวครูเข้าไปทำการสอนจำนวน
๒ นาย คือ ส.ต.ท. เดชา ครุฑเผือก ทำหน้าที่ครูใหญ่ และพลฯ
ไพรัช น้อยนพคุณ เป็นครูสอน และได้เปิดทำการสอนเมื่อ
๕ มิถุนายน ๒๕๑๘ โดยมี ร.ต.ต. บุญเลิศ จอกกระจาย ผู้บังคับหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่
๗๑๑ เป็นผู้ทำพิธีเปิด มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมปีที่
๑ ประถมปีที่ ๔ จำนวนนักเรียนรวม ๔๑ คน เป็นชาย ๒๒ คน
หญิง ๑๙ คน หลังจากดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนแล้ว ได้มีการปรับปรุงโรงเรียนในด้านต่าง
ๆ เพื่อดำเนินการให้โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นตลอดมา
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้น
ในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เปิดทำการสอน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยรับเด็ก จากหมู่บ้านคอกอ้ายเผือก
และหมู่บ้านใกล้เคียง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๓๐ กันยายน
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม
-หลักสูตรที่ใช้ คือ หลักสูตรของ สำนักการประถมศึกษาแห่งชาติ
ดำเนินการสอนโดยครูตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ จะได้รับหลักฐานแสดงผลการเรียน (ป.๐๕) นักเรียนที่จบการศึกษาสามารถ
เข้าไปศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้น ในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งอื่น
ๆ ได้
|
การดำเนินการตามโครงการตามพระราชดำริ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการ บริโภคตลอดช่วงการศึกษา โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตร ที่ผลิตขึ้นเองภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร และได้รับความรู้ทางด้านการเกษตรแผนใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมรับผิดชอบ และให้การสนับสนุนโครงการ เป็นต้นว่า วิทยาลัยเกษตรกรรมจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเกษตรอำเภอบางสะพานน้อย สำนักงานประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานประมงอำเภอบางสะพาน และ สำนักงานส่งเสริมเกษตรภาคตะวันตก ราชบุรี เป็นต้น
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ สิบตำรวจโท ประดิษฐ์ อะละมาลา
ผู้ดำเนินโครงการ นักเรียนและผู้ปกครอง
ผลการดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันปัจจุบัน ดังนี้
|
๑. | พื้นที่ในการดำเนินงาน จำนวน ๔๗ แปลง
๑.๑ | ปลูกพืชผัก
-คะน้า ๖ แปลง -กวางตุ้ง ๙ แปลง
-ผักบุ้งจีน ๙ แปลง -ถั่วพู ๑๐ แปลง
-ตำลึง ๗ แปลง -ผักกาดหัว ๒ แปลง
-กะหล่ำปลี ๔ แปลง -แฟง ๑ ร้าน
-ผักหวาน ๒๐ ต้น -เห็ดนางฟ้า ๕๐๐ ก้อน |
๑.๒ | ปลูกไม้ผล จำนวน ๒๕๒ ต้น
-มะม่วง ๔๐ ต้น -ขนุน ๒๕ ต้น
-มะพร้าว ๗๐ ต้น -กล้วย ๘๐ กอ
-มันเทศ ๔๓ ร่อง -มะม่วงหิมพาน ๓๗ ต้น |
|
๒. | ประเภทสัตว์เลี้ยง ๔ ชนิด
-ไก่พันธุ์ไข่ (พันธุ์ผสม ๓ สายพันธุ์) จำนวน ๕๐ ตัว
-ไก่พันธุ์พื้นเมือง จำนวน ๒๐ ตัว
-สุกร จำนวน ๓ ตัว
-ปลาดุก จำนวน ๑,๐๐๐ ตัว |
๓. |
กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวัน
( ๕ บาท/วัน/คน) โรงเรียนตำรวจตระเวรชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก
ได้รับจัดสรร ดังนี้
๓.๑ เดือน พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง เดือน กันยายน ๒๕๓๗
จำนวน ๑๐๗,๖๗๐ บาท
๓.๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๓๗ ถึง เดือน มีนาคม ๒๕๓๘ จำนวน
๑๑๑,๐๐๐ บาท
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคอกอ้ายเผือก มีการประกอบอาหารกลางวัน
๕ ครั้ง ต่อสัปดาห์ โดยนำผลผลิตจากโรงเรียนและจัดซื้อเครื่องปรุงจากเงินอุดหนุนโครงการ
โดยให้นักเรียนและผู้ปกครอง เป็นผู้ประกอบอาหาร นอกจากนั้นยังประกอบน้ำนมถั่วเหลือง
เป็นอาหารเสริมให้กับนักเรียนดื่ม ๓ ครั้งต่อสัปดาห์
|
การประกอบเลี้ยงอาหารกลางวัน (แต่ พ.ค. – ธ.ค. ๓๗)
เดือน
| เนื้อ(กก.)
| ปลา(กก.)
| ไก่(กก.)
| ไข่(กก.)
| ผัก(กก.)
| ผลไม้(กก.)
| ถั่วเมล็ดแห้ง(กก.)
| รวม(กก.) |
พ.ค.๓๗
| ๑๒
| ๒๘
| ๖
| -
| ๕๖
| -
| ๔๐
| ๑๔๒ |
มิ.ย.๓๗
| -
| ๑๓๕
| ๒๙
| -
| ๙๑
| -
| ๓๐
| ๒๘๕ |
ก.ค.๓๗
| -
| ๑๑๐
| ๕๐
| -
| ๒๗๒
| ๖๐
| ๗๐
| ๕๖๒ |
ส.ค.๓๗
| -
| ๑๔๒
| ๑๐๒
| -
| ๒๑๑
| -
| ๖๕
| ๕๒๐ |
ก.ย.๓๗
| -
| ๗๘
| ๑๔๓
| -
| ๑๑๓
| -
| ๑๐
| ๓๔๔ |
ต.ค.๓๗
| -
| ๗
| ๘
| -
| ๓๐
| -
| -
| ๔๕ |
พ.ย.๓๗
| -
| -
| ๔๕.๕
| ๑๕.๖
| ๑๖๙.๕
| -
| ๑๘
| ๒๔๘.๖ |
ธ.ค.๓๗
| -
| ๒๐
| ๕๖
| ๓๔.๖
| ๑๑๔.๕
| -
| ๑๘
| ๒๔๓.๑ |
ม.ค.๓๗
| ๗๔
| ๕๒
| -
| ๖๗.๖
| ๑๑๘
| -
| ๑๒
| ๓๒๓.๖ |
ก.พ.๓๗
| -
| ๒๔
| -
| ๖๓.๓
| ๑๙๔
| -
| -
| ๓๔๒.๓ |
รวม
| ๘๖
| ๕๙๖
| ๕๐๐.๕
| ๑๘๑.๑
| ๑,๓๖๙
| ๖๐
| ๒๖๓
| ๓,๐๕๕.๖ |
แผนการประกอบอาหารเสริมในรอบสัปดาห์
วัน
| ชนิดอาหารเสริม
| วัสดุประกอบ
| ผู้ดำเนินการ |
จันทร์
| นมถั่วเหลือง
| แป้งถั่วเหลือง,น้ำตาล
| ครูโรงเรียน |
อังคาร
| ขนมหวาน,โอวัลติน
| ถั่วเขียว,ถั่วดำ,น้ำตาล,โอวัลติน
| ครูโรงเรียน,ผู้ปกครอง |
พุธ
| นมถั่วเหลือง
| แป้งถั่วเหลือง,น้ำตาล
| ครูโรงเรียน |
พฤหัสบดี
| ขนมหวาน,โอวัลติน
| ถั่วเขียว,ถั่วดำ,น้ำตาล,โอวัลติน
| ครูโรงเรียน,ผู้ปกครอง |
ศุกร์
| นมถั่วเหลือง
| แป้งถั่วเหลือง,น้ำตาล
| ครูโรงเรียน |
ตารางเปรียบเทียบการประกอบอาหารเลี้ยง
รายการ
| เนื้อ (กก.)
| ปลา (กก.)
| ไก่ (กก.)
| ไข่ (กก.)
| ผัก (กก.)
| ผลไม้ (กก.)
| อาหาร เสริม (กก.)
| รวม (กก.) |
ผลิตภัณฑ์ผลผลิตทางการ เกษตรในโรงเรียน
| -
| ๖๙
| ๒๑
| ๖๔
| ๑,๓๙๗
| ๒๒๓
| -
| ๑,๗๗๔ |
วัตถุที่ใช้ประกอบเลี้ยง
| ๘๖
| ๕๙๖
| ๕๐๐.๕
| ๑๘.๑๐
| ๑,๓๖๙
| ๖๐
| ๒๖๓
| ๓,๐๕๕.๖ |
ผลต่าง
| -๘๖
| -๕๒๗
| -๔๗๙.๕
| -๑๑๗.๑
| +๒๘
| +๑๖๓
| -๒๖๓
| -๑๒๘๑.๖ |
เฉลี่ยคน/ปี (๑๐ เดือน)
| ๐.๓๑
| ๒.๑๖
| ๑.๘๒
| ๐.๔๒
| ๔.๙๗
| ๐.๒๑
| ๐.๙๕
| ๑๑.๑๑ |
ตารางแสดงภาวะโภชนาการนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๗
ลำดับ
| ปีการศึกษา
| จำนวนนักเรียนที่รับการตรวจ
| ภาวะโภชนาการ |
คน
| ร้อยละ
| นักเรียน
| ร้อยละ
| นักเรียน
| ร้อยละ |
๑.
| ๒๕๓๕
| ๒๔๓
| ๙๐.๖๗
| ๒๓๔
| ๙๖.๓๐
| ๙
| ๓.๗๐ |
๒.
| ๒๕๓๖
| ๒๑๑
| ๘๒.๑๐
| ๒๐๐
| ๙๔.๗๙
| ๑๑
| ๕.๒๑ |
๓.
| ๒๕๓๗
| ๒๑๐
| ๙๘.๕๙
| ๑๗๔
| ๘๒.๘๖
| ๓๖
| ๑๗.๑๔ |
|