ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าละอูระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าละอู

หมู่ที่ ๓ บ้านป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู จัดตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ได้รับหนังสือร้องขอจากนายจาคะ ปัญญาหาร ผู้ใหญ่บ้านป่าละอูและชาวไทยภูเขา (กระเหรี่ยง) ซึ่งขณะนั้นมีราษฎรอาศัยอยู่ จำนวน๕๕ ครอบครัว ประชาชนรวม ๒๓๗ คน บุตรธิดา ขาดสถานที่เรียนเนื่องจากผู้ปกครองย้ายมาอยู่ในที่ดินจัดสรร ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน จึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ปรากฏว่ามีเด็กอยู่ในวัยเรียน ประมาณ ๕๐ คน และขาดสถานที่เรียน จึงได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมาสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้อนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน จึงได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียน และบ้านพักครูชั่วคราวขึ้น โดยใช้วัสดุในพื้นที่ ดำเนินการเปิดการเรียนการสอน เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๒๖ โดยเริ่มต้นเปิดทำการสอนชั้นเด็กก่อนวัยเรียน และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เริ่มแรกมีนักเรียน จำนวน ๕๒ คน มีครูทำการสอน จำนวน ๓ นาย
ต่อมาเมื่อปีการศึกษา ๒๕๒๘ จำนวนนักเรียนได้เพิ่มมากขึ้น อาคารเรียนชั่วคราวได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางโรงเรียนจึงได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น โดยขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ของอาคารเรียนโรงเรียนอานันท์ (โรงเรียน สปช.ในตำบลห้วยสัตว์ใหญ่) ซึ่งได้ทำการรื้อจัดสร้างอาคารใหม่ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณการจัดสร้างอาคารเรียนจากทางราชการ และจากภาคเอกชน โดยได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนถาวรชั้นเดียว จำนวน ๔ ห้องเรียน ๑ ห้องพักครู และต่อมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทางราชการ และภาคเอกชน ในการจัดสร้างอาคารประกอบต่าง ๆ
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้สั่งการให้กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน มอบโอนความรับผิดชอบโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู ให้กับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ โดยทำพิธีรับมอบโอน เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู ตั้งอยู่บนพื้นราบเชิงเขา แหล่งน้ำในการอุปโภค มีส่วนราชการที่รับผิดชอบได้ดำเนินการจัดสนับสนุนให้ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด กล้วย และพืชผักประเภทต่าง ๆ โดยนำผลผลิตที่ได้ ขายให้กับพ่อค้าซึ่งเดินทางไปรับซื้อที่หมู่บ้าน
ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู เปิดทำการสอนในระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ชั้นเด็กก่อนวัยเรียน ชั้นอนุบาล ชั้นประถมปีที่ ๑ - ๖ รวม ๘ ชั้นเรียน มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น ๑๔๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ทำการสอน จำนวน ๙ นาย และผู้ดูแลเด็ก ๒ คน
สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน และโครงการตามพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๓๐
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๔๐ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นราษฎรชาวไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนรอยต่อเขตติดต่อกับ ประมาณ ๘๐ ครอบครัว ได้มาจับจองแผ้วถางป่าเพื่อทำพื้นที่การเกษตรและปลูกบ้านเรือนอาศัย ทำให้เกิดมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเป็นบริเวณกว้างขึ้น ราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อพยพมาจับจองเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ของหมู่บ้านป่าละอู เป็นพื้นที่ศูนย์ปฏิบัติงานโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ได้มีการขยายแบ่งหมู่บ้านเพิ่มขึ้น ๓ หมู่บ้าน

การคมนาคม
เส้นทางคมนาคมเข้าออกหมู่บ้านมี ๑ เส้นทาง ระยะทางจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ๑๓๕ กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอหัวหินถึงหมู่บ้าน ๖๕ กิโลเมตร ถนนลาดยาง ๑๓๒ กิโลเมตร ถนนลูกรัง ๒ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๒ ชั่วโมง สภาพเส้นทางใช้ได้ตลอดปี

จำนวนประชากร
หมู่บ้านป่าละอู มีประชากร จำนวน ๙๓ ครัวเรือน จำนวนประชากร ๔๑๘ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ เช่น มะนาวพริก ข้าวโพด กล้วย ฯลฯ และรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนันตำบลห้วยสัตว์ใหญ่   นายชำนาญ  มีชัย ปลัด อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่  นางสาวเพ็ญพักตร์  คุ้มภัย ผู้ใหญ่บ้าน  นายเชาว์   ปลีดอก

ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. บ้านฟ้าประทาน ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีครัวเรือน ๑๒๓ ครัว      เรือนประชากร ๕๖๓ คน ผู้ใหญ่บ้าน นายชำนาญ มีชัย
๒. บ้านเฉลิมพร ตำบลสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีครัวเรือน ๗๗ ครัวเรือน      ประชากร ๒๙๓ คน ผู้ใหญ่บ้าน นายสนั่น ปิ่นแก้ว
๓. บ้านเฉลิมราษฎร์ ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีครัวเรือน ๙๓ ครัว      เรือน ประชากร ๓๑๑ คน ผู้ใหญ่บ้าน นายเลื่อน เนตรกาสัก

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
๒. ด้านการศึกษา นักเรียนมีอัตราการขาดเรียนสูง โดยเฉพาะในฤดูฝน
๓. ด้านอนามัย มีการเจ็บป่วยด้วยไข้มาลาเรีย ทั้งประชาชนและนักเรียนบ่อยครั้งในปีนี้      ยากแก่การรักษา
๔. ด้านอาชีพ การทำไร่ปีนี้ เกิดภาวะแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ต้องการมีอาชีพเสริม

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรป่าละอู สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านป่าละอู บ้านป่าละอูน้อย บ้านผังบ้าน บ้านผาแดง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๙ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก ต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียนถาวร ๑ กก.สอ.ตชด.ราษฎร ภาคเอกชน
    ๒. อาคารห้องสมุด ภาคเอกชน
    ๓. อาคารชั้นเด็กก่อนวัยเรียน ชมรมอีซูซุเพื่อสังคม ภาคเอกชน
    ๔. บ้านพักครู คุณภุชงค์ พรพิบูลย์
    ๕. โรงอาหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีเขตเทเวศน์

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปีการศึกษา ๒๕๔๑ มีนักเรียน ๑๔๔ คน เป็นชาย ๗๑ คน หญิง ๗๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. ด.ต.ประยูร ปรีดิ์เปรม
    ม.ศ.๓
    บริหาร
    ๒. ด.ต.สมชาย ชาวบ้านใหญ่
    ม.ศ๓
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    โครงการส่งเสริมโภชนาการสุขภาพ
    อนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
    ๓. จ.ส.ต.สมนึก จันทร์ปลูก
    ปริญญาตรี
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๔. ส.ต.ท.ปราโมทย์ คงไสย
    ม.๖
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๕. ส.ต.ท.สมพงษ์ พันธ์ดี
    ม.๖
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๖. ส.ต.ท.มานิตย์ คกแก้ว
    ปริญญาตรี
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๗. ส.ต.ท.นพพล พวงศรี
    ปวท.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๘. ส.ต.ท.นิคม รอดสุด
    ปริญญาตรี
    โครงการฝึกอาชีพ
    ๙. ส.ต.ต.รังสรรค์ เนาวบุตร
    ม.๖
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๑๐. น.ส.น้ำเงิน ดำรง
    ม.๓
    ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๑. น.ส.สุกัญญา ศรีทอง
    ม.๓
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๔
    ๓๐
    ๕๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๙
    ๑๔
    ๓๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๖
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๗๑
    ๗๓
    ๑๔๔

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๔๐)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อจำนวน ๖ คน และประกอบอาชีพจำนวน ๑๒ คน ดังนี้

    ปีการศึกษา
    ชื่อ – ชื่อสกุล
    ศึกษาต่อ
    ประกอบอาชีพ
    สถานศึกษา
    ๒๕๓๗ เด็กชายทรงสิทธิ์ ศรีทอง
    -
    ทำไร่
     
      เด็กชายวันชัย เมี๊ยะโย
    -
    ทำไร่
     
      เด็กชายศิริชัย ปัญญาหาญ
    -
    ทำไร่
     
      เด็กชายกฤษรินทร์ อาจเทศ
    /
    รับจ้าง
    ร.ร.ป่าเด็งวิทยา
      เด็กชายศิริชัย ทรัพย์บุญมี
    -
    ทำไร่
     
    ๒๕๓๘ เด็กหญิงอหิสรา เข็มเพชร
    -
    ทำไร่
     
      เด็กหญิงสุดา นาสินรักษ์
    -
    ทำไร่
     
    ๒๕๓๙ เด็กชายโยธิน จันทร์อุปถัมภ์
    /
    ทำไร่
    กศน.
      เด็กชายพยัคฆ์ ทองดีเลี้ยง
    /
    ทำไร่
    กศน.
      เด็กชายศิริศักดิ์ ทรัพย์บุญมี
    /
    ทำไร่
     
      เด็กชายมงคล จันทร์อุปถัมภ์
     
    ทำไร่
     
      เด็กชายมงคล จันทร์อุปถัมภ์
     
    ทำไร่
     
      เด็กชายพรชัย เมี๊ยะโย
     
    ทำไร่
     
      เด็กชายสายชล จันทร์อุปถัมภ์
     
    ทำไร่
     
    ๒๕๔๐ เด็กชายสายทับ จันทร์อุปถัมภ์
     
    ทำไร่
     
      เด็กชายพายุพรรณ เข็มเพชร
     
    ทำไร่
     
      เด็กหญิงวชิรา ทรัพย์บุญมี
    /
     
    กศน.
      เด็กหญิงเสาวนีย์ จันทร์พก
     
    ทำไร่
     

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ ขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามแผนพัฒนาเด็กและเยาชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ท.สมพงษ์ พันธ์ดี

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    สำนักงานเกษตรอำเภอหัวหิน สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหัวหิน สำนักงานประมงอำเภอหัวหิน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร เขื่อนป่าเลา
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน น้ำในเขื่อนป่าเลา
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผังบ้าน กลุ่มผาแดง และกลุ่มและอูน้อย
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๓๖
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๑ ดังนี้
    ๑. นมผง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๙๕ กิโลกรัม
    ๓. นมสด UHT จากสำนักงานพัฒนาชุมชน จำนวน ๖,๑๑๓ กล่อง

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันอังคาร พฤหัสบดี
    ๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์ พุธ ศุกร์
    ๓. นมสด UHT ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวัน (เฉพาะอนุบาล)

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๒
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๕๔
    ๔๙
    ๔๙
    ๐.๐๐
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๓๓
    ๓๑
    ๒๖
    ๑๖.๑๓
    ดี
    ประถม ๒
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๔
    ๖.๖๖
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๔
    ๒๔
    ๒๒
    ๘.๓๓
    ดีมาก
    ประถม ๔
    -
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๒๕.๐๐
    ปรับปรุง
    ประถม ๖
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๙๐
    ๘๘
    ๗๘
    ๑๐
    ๑๑.๓๖
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑.แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๗๐ กิโลกรัม
    ๒.น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๗๐ กิโลกรัม
    ๓.นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๒๕ กิโลกรัม
    ๔.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๕. นม Lactasoy ๑ งวด จำนวน ๒,๐๑๖ กล่อง
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑.แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๔๐ กิโลกรัม
    ๒.น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๔๐ กิโลกรัม
    ๓.นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
    ๔.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑.แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๖๕ กิโลกรัม
    ๒.น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๖๕ กิโลกรัม
    ๓.นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๔.เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๐๗)
    (ตก. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๒)