|
ประวัติความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านย่านซื่อ
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านย่านซื่อ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่
๙ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พิกัด
เอ็น.พี. ๓๕๕๐๓๙ อยู่ในความรับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๑๔ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่เห็นความสำคัญของการศึกษา
ต้องการให้บุตรหลานมีความรู้ความสามารถ อ่านออกเขียนได้
แต่เดิมทีนักเรียนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านรวมไทย
ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นระยะทางประมาณ
๕ กิโลเมตรได้รับความลำบากในการเดินทางไปเรียน ระหว่างการเดินทางมีลำห้วยขวางกั้นถึงสองแห่ง
คือ ลำห้วยทุ่งแฝก และลำห้วยเขาน้อย ระหว่างหมู่บ้านรวมไทย
กับหมู่บ้านย่านซื่อ เวลาฝนตกน้ำหลากเป็นที่ลำบากต่อการเดินทางไปเรียนของเด็ก
ดังนั้น ประชาชนในหมู่บ้านได้ส่งตัวแทนเข้าพบกับ ร.ต.ต.
ประโยชน์ เข็มแก้ว (ยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นผู้บังคับหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่
๗๒๕ กองร้อยที่ ๓ ตำรวจตระเวนชายแดน (ปัจจุบัน เป็นกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่
๑๔๖) ซึ่งตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ในหมู่บ้านย่านซื่อ เพื่อขอให้ช่วยดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน
ดังนั้นจึงได้นำกำลังตำรวจตระเวนชายแดนในหมวด ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น
โดยให้ตำรวจตระเวนชายแดน ในหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่
๗๒๕ เป็นครูสอนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๙ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ได้มีคำสั่งให้เป็นโรงเรียนที่ถูกต้องจนถึงปัจจุบัน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เดือนพฤศจิกายน ทางสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
เป็นจำนวน ๕๘๐,๐๐๐ บาท ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวร
ป. ๐๔ ให้จำนวนหนึ่งหลัง แล้วเสร็จเมื่อ ๒๓ มกราคม ๒๕๒๙
ส่วนที่ดินในการก่อสร้างอาคารเรียนนั้น ได้รับบริจาคจากประชาชนในหมู่บ้านย่านซื่อ
ได้ร่วมกันบริจาคเป็นเนื้อที่ทั้งหมดจำนวน ๕๐ ไร่ ในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวร
|
สถานภาพทั่วไป
ราษฎรในพื้นที่ บ้านย่านซื่อ หมู่ ๙ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อพยพมาจากหมู่บ้านปลายน้ำ ตำบลกุยบุรี
อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นส่วนใหญ่และเป็นชุดแรกที่อพยพขึ้นมาจับจองพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ
และจัดตั้งเป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องตามกฏหมายในปี ๒๕๒๙
ในปัจจุบันรัฐบาลได้ออก สปก. ๔–๐๑ ให้แก่ราษฏรในบางส่วนแล้ว
จากการตั้งบ้านเรือนเพื่อทำมาหากิน ในพื้นที่ป่าสงวนด้ายอาชีพในด้านการเกษตรปลูกพืชไร่
และได้มีการบุกรุกป่าสงวนเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกเช่าที่ทำกินให้กับราษฎรในเขตนอกหมู่บ้าน
และในหมู่บ้านตลอดจนจัดชุดพัฒนาบ้านย่านซื่อ เข้าไปควบคุมการจัดสรรที่อยู่ให้กับราษฎรด้วย
ส่วนเรื่องที่ทำกินนั้น รัฐบาลอยู่ในระหว่างการดำเนินออก
สปก.๔–๐๑ ราษฎรได้เลือกผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว ๒ คน
๑. นายเจียม ตองสวัสดิ์ ได้ลาออกไปแล้ว
๒.นายประวิทย์ ยอดสร้อย ผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบัน
ปัจจุบันหมู่บ้านย่านซื่อ เป็นหมู่บ้านที่ราษฎรอาศัยอยู่
จำนวน ๑๕๖ ครัวเรือน ประชากร ชาย ๓๕๖ คน หญิง ๒๕๑ คน
รวมประชากรทั้งสิ้น ๖๐๗ คน จัดระบบหมู่บ้านเป็นระเบียบโดยชุดพัฒนาบ้านย่านซื่อ
(พล ร.๙) มีไฟฟ้า ประปาหมู่บ้าน แหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตรมีเพียงพอ
แต่ในฤดูแล้งมีน้อย ในหมู่บ้านมีเขื่อนดินแต่ยังขาดระบบชลประทาน
(กำลังอยู่ในขั้นดำเนินการ) แหล่งน้ำเพื่อใช้สำหรับอุปโภคบริโภค
ส่วนใหญ่จะเป็นบ่อน้ำดื่ม บ่อบาดาล
|
การคมนาคม
เส้นทางเข้าหมู่บ้านย่านซื่อ มี 2 เส้นทาง ดังนี้
เส้นทางที่ ๑ จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปอำเภอกุยบุรี
๖๐ กิโลเมตร (ลาดยาง) จากสามแยกหนองหมู อำเภอกุยบุรี
ไปบ้านยางชุม ๒๐ กิโลเมตร จากเขื่อนยางชุม ไปบ้านย่านซื่อ
๘ กิโลเมตร (ลูกรัง)
เส้นทางที่ ๒ จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปอำเภอกุยบุรี
๖๐ กิโลเมตร (ลาดยาง) จาก สามแยกหนองหมู ไปบ้านยางชุม
๒๐ กิโลเมตร (ลาดยาง) จากบ้านยางชุม ไปบ้านรวมไทย ๕
กิโลเมตร (ลูกรัง) จากบ้านรวมไทย ไปบ้านย่านซื่อ ๕ กิโลเมตร
(ลูกรัง)
|
สภาพทั่วไป
พื้นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัย ครอบครัวละ ๔ งาน
พื้นที่ทำกินครอบครัวละ ๒๐ ไร่
พื้นที่ปลูกป่าชุมชน (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี) ๗๐ ไร่
|
การประกอบอาชีพ
อาชีพของประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพทำไร่ เช่น สัปปะรด นุ่น
พริก หน่อไม้ฝรั่ง มะละกอ และ รับจ้างทั่วไป เฉลี่ยต่อครอบครัวละ
๑๕,๐๐๐ บาท/ปี
|
ขนบธรรมเนียมประเพณี
ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เป็นชาวไทยภาคกลางตอนใต้
ประชาชนให้ความร่วมมือ กับหน่วยงานราชการเป็นอย่างดี
สร้างบ้านถาวรอยู่รวมกันในลักษณะที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกัน
และกัน คาดว่าประชาชนจะไม่มีการอพยพไปทำกินที่อื่น การออกไปขายแรงงานนอกหมู่บ้านมีบ้างเป็นส่วนน้อย
|
ปัญหาข้อขัดข้องในหมู่บ้าน
- ต้องการมีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง
- ต้องการจัดที่ทำกินให้ถูกต้องกฏหมาย และ เป็นธรรม
- ต้องการแหล่งน้ำในการทำการเกษตรที่สมบูรณ์แบบ มีน้ำใช้ตลอดปี
-ต้องการสะพาน และถนนลาดยางที่ได้มาตรฐานและแข็งแรง
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านย่านซื่อ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัด
ของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เปิดทำการสอนตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านย่านซื่อ
และหมู่บ้านใกล้เคียง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๓๐ มีนาคม
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม
ปัจจุบันใช้หลักสูตรของ สำนักงานประถมศึกษาแห่งชาติ ดำเนินการสอนโดยครุตำรวจตระเวนชายแดน
เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จะได้รับหลักฐานการแสดงผลการเรียน
(ป.๐๕) นักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อในชั้นสูงขึ้น
ในสถาบันการศึกษาของรัฐแห่งอื่น ๆ ได้
|
การดำเนินการตามโครงการตามพระราชดำริ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ
เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอาหารกลางวันที่มีคุณค่า
ทางโภชนาการ บริโภคตลอดช่วงการศึกษา โดยใช้ผลผลิตทางการเกษตร
ที่ผลิตขึ้นเองภายในโรงเรียนมาประกอบอาหาร และได้รับความรู้ทางด้านเกษตรแผนใหม่
ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีหน่วยงานต่าง
ๆ ร่วมรับผิดชอบและให้การสนับสนุนโครงการ เป็นต้นว่า
สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตก ราชบุรี วิทยาลัยเกษตรกรรมจังหวัดเพชรบุรี
, สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานเกษตรอำเภอกุยบุรี
สำนักงานประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำนักงานประมงอำเภอกุยบุรี
เป็นต้น
ครูผู้รับผิดชอบโครงการ สิบตำรวจเอกสินชัย จันทร์เนย
ผู้ดำเนินโครงการ นักเรียนและผู้ปกครอง
ผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน
มีดังนี้
ี้
|
๑. | พื้นที่ในการดำเนินการ จำนวน ๕๖ แปลง
๑.๑ | ปลูกพืชผัก
- คะน้า
- ผักกาด
- ผักบุ้งจีน
- ผักกาดหัว
- ตำลึง
- มะเขือเจ้าพระยา
- กวางตุ้ง
- ผักกะหล่ำ
- ถั่วฝักยาว
- หอม
- พริก
- บวบเหลียม |
๑.๒ | ปลูกไม้ผล
- มะม่วง
- มะพร้าว
- ฝรั่ง
- ขนุน
- มะยม |
|
๒. | ประเภทสัตว์เลี้ยง
- สุกร จำนวน ๑ ตัว
- เป็ดเทศ จำนวน ๑๐ ตัว
- แย้ จำนวน ๘๐๐ ตัว
- ปลาดุกบิ๊กอุย จำนวน ๒๐๐ ตัว |
๓. |
กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวัน ( ๕บาท/วัน/คน) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านย่านซื่อได้รับจัดสรร ดังนี้
๓.๑ เดือน พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง เดือน กันยายน ๒๕๓๗ จำนวน ๖๓,๐๕๐ บาท
๓.๒ เดือน ตุลาคม ๒๕๓๗ ถึง มีนาคม ๒๕๓๘ จำนวน ๖๕,๐๐๐ บาท
|
การประกอบเลี้ยงอาหารกลางวัน (แต่ พ.ค. – ธ.ค. ๓๗)
เดือน
| เนื้อ(กก.)
| ปลา(กก.)
| ไก่(กก.)
| ไข่(กก.)
| ผัก(กก.)
| ผลไม้ (กก.)
| ถั่วเมล็ด แห้ง(กก.)
| รวม(กก.) |
พ.ค.๓๗
| ๑๔
| ๑๖
| ๑๐
| ๖
| -
| -
| ๑๕
| ๖๑ |
มิ.ย.๓๗
| ๓๓
| ๒๐
| ๒๘
| ๒๐
| -
| ๖๔
| ๓๕
| ๒๐๐ |
ก.ค.๓๗
| ๒๙
| ๒๕
| ๑๔
| ๑๕
| -
| -
| ๔๘
| ๑๓๑ |
ส.ค.๓๗
| ๒๔
| ๓๐
| ๒๔
| ๑๒
| -
| -
| ๓๐
| ๑๒๐ |
ก.ย.๓๗
| ๔๗
| ๑๒
| ๑๕
| ๑๕
| ๙
| -
| ๒๐
| ๑๑๘ |
ต.ค.๓๗
| ๑๙
| ๕
| ๑๐
| -
| ๘
| -
| ๕
| ๔๗ |
พ.ย.๓๗
| ๔๑
| ๓๕
| ๑๖
| ๗๑
| -
| -
| -
| ๑๙๘ |
ธ.ค.๓๗
| ๔๒
| -
| ๓๐
| ๒๕
| -
| -
| -
| ๙๗ |
ม.ค.๓๘
| ๔๔
| ๓๐
| ๓๓
| ๒๑
| ๒๐
| ๕๐
| ๑๗
| ๒๑๕ |
ก.พ.๓๘
| ๖๕
| ๓๐
| ๑๘
| ๔๐
| ๑๐
| -
| ๑๘
| ๑๘๑ |
รวม
| ๓๕๘
| ๒๐๓
| ๒๑๗
| ๑๗๐
| ๑๑๘
| ๑๑๔
| ๑๘๘
| ๑,๓๖๘ |
แผนการประกอบอาหารเสริมในรอบสัปดาห์ ปีการศึกษา ๒๕๓๗
วัน
| ชนิดอาหารเสริม
| วัสดุประกอบ
| ผู้ดำเนินการ |
จันทร์
| นมถั่วเหลือง
| ผงนม,น้ำตาล
| ครูโรงเรียน |
อังคาร
| ขนมหวาน,โอวัลติน
| ถั่วเขียว,ถั่วดำ,น้ำตาล,โอวัลติน
| ครูโรงเรียน,ผู้ปกครอง |
พุธ
| นมถั่วเหลือง
| ผงนม,น้ำตาล
| ครูโรงเรียน |
พฤหัสบดี
| ขนมหวาน,โอวัลติน
| ถั่วเขียว,ถั่วดำ,น้ำตาล,โอวัลติน
| ครูโรงเรียน,ผู้ปกครอง |
ศุกร์
| นมถั่วเหลือง
| ผงนม,น้ำตาล
| ครูโรงเรียน |
ตารางเปรียบเทียบการประกอบอาหารเลี้ยง
รายการ
| เนื้อ (กก.)
| ปลา (กก.)
| ไก่ (กก.)
| ไข่ (กก.)
| ผัก (กก.)
| ผลไม้ (กก.)
| อาหาร เสริม (กก.)
| รวม (กก.) |
ผลิตภัณฑ์ ผลผลิตทาง การเกษตร ในโรงเรียน
| -
| ๕๒๐
| -
| -
| ๕,๑๘๓
| ๓๙๐
| -
| ๖,๐๙๓ |
วัตถุที่ใช้ประ กอบเลี้ยง
| ๓๕๘
| ๒๐๓
| ๒๑๗
| ๑๗๐
| ๑๑๘
| ๑๑๔
| ๑๘๘
| ๑,๓๖๘ |
ผลต่าง
| -๓๕๘
| +๓๑๗
| -๒๑๗
| -๑๗๐
| +๕,๐๖๕
| +๒๗๖
| -๑๘๘
| +๔,๗๒๕ |
เฉลี่ยคน/ปี (๑๐ เดือน)
| ๒.๔๘
| ๑.๔๐
| ๑.๕๐
| ๑.๑๘
| ๐.๘๑
| ๑
| ๑.๓๐
| ๙.๕๐ |
ตารางแสดงภาวะโภชนาการนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๗
ลำดับ
| ปีการศึกษา
| จำนวนนักเรียนที่รับการตรวจ
| ภาวะโภชนาการ |
คน
| ร้อยละ
| นักเรียน
| ร้อยละ
| นักเรียน
| ร้อยละ |
๑.
| ๒๕๓๕
| ๑๑๗
| ๑๐๐
| ๙๐
| ๗๖.๙๒
| ๒๗
| ๒๓.๐๗ |
๒.
| ๒๕๓๖
| ๑๓๗
| ๑๐๐
| ๑๑๕
| ๘๓.๙๔
| ๒๒
| ๑๖.๐๕ |
๓.
| ๒๕๓๗
| ๘๘
| ๑๐๐
| ๗๒
| ๘๑.๘๑
| ๑๖
| ๑๘.๑๘ |
|