ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าวระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว

หมู่ที่ ๑ บ้านเขาจ้าว ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เดิมหมู่บ้านเขาจ้าตั้งอยู่ที่ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ ๑๐๐ ครอบครัว การคมนาคมเข้าออกหมู่บ้านไม่สะดวก ระยะทางจากอำเภอถึงหน้าหมู่บ้าน ประมาณ ๓๕ กิโลเมตร ภายในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียน ทำให้เด็กไม่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน จึงได้ส่งตัวแทนไปติดต่อกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๗ (กก.ตชด.๑๓ ในปัจจุบัน) เพื่อขอให้จัดส่งครูและอุปกรณ์การเรียนการสอนให้โดยได้เปิดดำเนินการสอนเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๑ อาศัยศาลาการเปรียญของสำนักสงฆ์บ้านเขาจ้าว เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ปี พ.ศ.๒๕๒๘ คณะครูอาจารย์และนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกค่ายอาสาพัฒนาชนบทที่หมู่บ้านเขาจ้าว และได้มอบเงินจำนวน ๖,๐๐๐ บาท ให้กับคณะกรรมการหมู่บ้าน และร่วมสร้างอาคารเรียนแต่ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากขาดงบประมาณ ต่อมาร้อยตำรวจตรีอนุชา จารุนัฎ ผบ.มว.ตชด.๗๒๙ ยศในขณะนั้น ได้ดำเนินการจัดสร้างต่อ โดยได้รับการบริจาคเงินจาก คุณเจริญ สุวรรณเตมีย์ จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ขนาด ๓ ห้องเรียน กว้าง ๘ เมตร ยาว๒๗ เมตร จนสำเร็จ ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ คณะอาจารย์ และนักศึกษาจากวิทยาลัยครูเพชรบุรี ได้ไปออกค่ายอาสาพัฒนา ได้จัดสร้างลานเอนกประสงค์พร้อมทั้งสนามเด็กเล่นให้ทางโรงเรียน โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๐ ไร่

ความเป็นมา
เริ่มแรกหน่วยงานของรัฐ ได้เข้าไปดำเนินการก่อสร้างเขื่อนปราณบุรี ที่บ้านท่าเรือ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านเขาจ้าว จึงได้มีราษฎรจากที่ต่างๆ เข้าไปเป็นลูกจ้างแรงงานในการก่อสร้างเขื่อน เมื่อการก่อสร้างเขื่อนเสร็จ ราษฎรดังกล่าวได้อพยพขึ้นไปตามลำแม่น้ำปราณบุรี และทำการแผ้วถางป่าจับจองพื้นที่ดินทำกินบริเวณทุ่งพลายงาม ต่อจากนั้นได้มีราษฎรอพยพตามขึ้นไปจับจองที่ดินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรวมกันเป็นหมู่บ้านเขาจ้าในปัจจุบัน จากการตั้งบ้านเรือนและประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรของราษฎรนั้น พื้นที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตปลอดภัยทางทหาร โดยได้อนุญาตให้ราษฎรเข้าทำกินได้ ไม่จำกัดสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินและได้ออกเอกสารสิทธิ์ใบ ทบ.๘ ให้กับราษฎร หมู่บ้านเขาจ้าว ได้รับจัดตั้งให้เป็นตำบลเขาจ้าว มีราษฎรเข้าอยู่อาศัย จำนวน ๕๑๐ ครอบครัว ประชากรทั้งหมด ๑,๐๘๖ คน เป็นชาย ๔๘๐ คน หญิง ๖๐๖ คน อยู่แบบกระจัดกระจาย ในหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ อาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติ แม่น้ำปราณบุรี สำหรับใช้ในด้านการเกษตร และอุปโภคบริโภค

การคมนาคม
มีเส้นทางเข้าหมู่บ้าน สายหลัก ๑ เส้นทาง
- จากอำเภอปราณบุรีไปเขื่อนปราณบุรี ระยะทาง ๑๕ กิโลเมตร (ลาดยาง)
- จากเขื่อนปราณบุรีไปหมู่บ้านเขาจ้าว ระยะทาง ๔๐ กิโลเมตร (ลูกรัง)

สภาพทั่วไป
พื้นที่หมู่บ้านเป็นที่ลาดเชิงเขาอากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล มีพื้นที่โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามพระราชดำริฯ จำนวน ๘๐ ไร่

การประกอบอาชีพ
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกสับปะรด, พริก, ข้าวโพด
มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละประมาณ ๘,๐๐๐ บาท/ปี

ปัญหาข้อขัดข้องในหมู่บ้าน
ราษฎรต้องการมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ในครอบครัว

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านเขาจ้าว เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านเขาจ้าว บ้านเขากระทุ่น บ้านวังปลา ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๙
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๐

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑.อาคารเรียน ๑ หน่วย พตท.๑๑๒๒ ร้อย ๑๑๑
๒. อาคารเรียน ๒ นิสิตจุฬาลงกรณ์ฯ, คุณเจริญ สุวรรณเตมีย์
๓. ห้องสมุด สถาบันราชภัฎเพชรบุรี, กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔
๔. ห้องพยาบาล ประชาชนในพื้นที่, กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔
๕. โรงอาหาร ประชาชนในพื้นที่, กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔
๖. ห้องน้ำ, ห้องสุขา วิทยาลัยการอาชีพไกลกังวลหัวหิน
๗. สนามเด็กเล่น อาจารย์, นักศึกษาสถาบันราชภัฎเพชรบุรี (ค่ายอาสาพัฒนา)
๘. บ่อเลี้ยงปลา กองวิศวกรรมประมง กรมประมง กรุงเทพฯ, ประมงอำเภอปราณบุรี
๙. ผักกางมุ้ง สำนักงานส่งเสริมการเกษตรอำเภอปราณบุรี

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๑ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียน ๘๕ คน เป็นชาย ๔๕ คน หญิง ๔๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
หน้าที่รับผิดชอบ
๑. จ.ส.ต.ภูษิต สมสู่
ม.ศ.๕
ครูใหญ่
๒. จ.ส.ต.มนัส ชูยินดี
ม.๖
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๓. จ.ส.ต.ปิยพงษ์ ด้วงพูล
ม.ศ.๕
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๔. จ.ส.ต.มานิตย์ เทพกรณ์
ม.๖
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๕. จ.ส.ต.สมพงษ์ ขำพล
ม.ศ.๓
โครงการฝึกอาชีพ
๖. ส.ต.ท.นพรัตน์ ชูเชิด
ม.๖
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๗. ส.ต.ต.นาจ สัมพันธ์
อนุปริญญา
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๘. พลฯ ประหยัด ศิลาอร
ม.๖
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
๙. พลฯ พนม จิ้มลิ้ม
ม.๖
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (หญ้าแฝก)
๑๐. นางเกษร เอกนุ่ม
ปวช.
ผู้ดูแลเด็ก
๑๑. นางสาววารีรัตน์ บุญมี
ม.๖
ผู้ดูแลเด็ก

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๕
๑๓
๒๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๔
รวม
๔๕
๔๐
๘๕

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.ส.ภูษิต สมสู่ และ จ.ส.ต.มนัส ชูยินดี
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันตกราชบุรี, วิทยาลัยเกษตรกรรมจังหวัดเพชรบุรี, สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง และสำนักงานประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งน้ำทางการเกษตร คือ แม่น้ำปราณบุรี และบ่อเลี้ยงปลาของโรงเรียน

ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๓๙
เดือน หมวด
เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๔,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๖,๐๐๐.๐๐ ๑๐๕,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓.๑๗ ๐.๐๐ ๓๖.๕๑ ๘๓.๓๓
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๗.๙๔ ๐.๐๐ ๓๖.๕๑ ๘๓.๓๓
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ดีมาก
มิถุนาคม ผลผลิรวม (กรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๘๙,๐๐๐.๐๐ ๕๕,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๘.๕๓ ๒๓.๘๑
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๘.๕๓ ๒๓.๘๑
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๘๙,๐๐๐.๐๐ ๗๐,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๗.๐๙ ๓๗.๐๔
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๗.๐๙ ๓๗.๐๔
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
สิงหาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๑๔,๐๐๐.๐๐ ๓๓,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๗.๒๐ ๑๓.๖๖
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๗.๒๐ ๑๓.๖๖
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
กันยายน ผลผลิตรวม (กรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๒๔,๐๐๐.๐๐ ๘๐,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๖.๒๔ ๓๖.๒๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๖.๒๔ ๓๖.๒๘
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี พอใช้
ตุลาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๑,๐๐๐.๐๐ ๒๒,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๖๙.๓๙ ๒๙.๙๓
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๖๙.๓๙ ๒๙.๙๓
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี พอใช้
พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๐๗,๐๐๐.๐๐ ๑๐๘,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๖.๓๒ ๔๖.๗๕
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๖.๓๒ ๔๖.๗๕
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
ธันวาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๘๖,๐๐๐.๐๐ ๙๐,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๐.๙๕ ๔๒.๘๖
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๔๐.๙๕ ๔๒.๘๖
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
มกราคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๑๐,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๙๒,๐๐๐.๐๐ ๔๕,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔.๕๔ ๐.๐๐ ๔๑.๗๒ ๒๐.๔๑
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๑.๓๔ ๐.๐๐ ๔๑.๗๒ ๒๐.๔๑
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กรัม) ๓,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๙๑,๐๐๐.๐๐ ๑๓๕,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑.๕๙ ๐.๐๐ ๔๑.๒๗ ๖๑.๒๒
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓.๙๗ ๐.๐๐ ๔๑.๒๗ ๖๑.๒๒
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ดี
มีนาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๕,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๑๘,๐๐๐.๐๐ ๙๐,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒.๖๒ ๐.๐๐ ๕๖.๑๙ ๔๒.๘๖
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๖.๕๕ ๐.๐๐ ๕๖.๑๙ ๔๒.๘๖
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี พอใช้

หมายเหตุ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร
คำอธิบายตัวชี้วัด การแปลผล/เกณฑ์
น้ำหนักผลผลิตทางการเกษตรประเภทเนื้อ ผัก ถั่วเมล็ดแห้ง และ ณ ๗๕% = ดีมาก
ผลไม้ที่ผลิตได้ เปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการอาหารของ < ๗๕% = ดี
นักเรียน หน่วยเป็นกรัม/นักเรียน ๑ คน/มื้อ ณ ๕๐-๒๕% = พอใช้
< ๒๕% = ปรับปรุง
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๔ คน
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูประจำชั้น ผู้ดูแลเด็ก และนักเรียนชั้นประถมปีที่ ๓ - ๖ ผลัดกันประกอบอาหาร โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน ได้รับอาหารเสริมดังนี้
) นมสด UHT จาก กรมอนามัย จำนวน ๓,๔๔๙ กล่อง
) นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๓๔๘ กิโลกรัม (ปี ๒๕๓๘)
) แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๓๐๐ กิโลกรัม (ปี ๒๕๓๘)
การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
) นมสด UHT ทุกวันที่เปิดทำการเรียนการสอน ๑ กล่อง/คน
) นมผง ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี วันละ ๑ ครั้ง
) นมถั่วเหลือง ทุกวันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์ วันละ ๑ ครั้ง

อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ ครั้งที่ ๓)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ ๑
ระดับ ๒
ระดับ ๓
รวม
% ต่ำ
กว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๒๗
๒๗
๒๓
๑๔.๘๑
ดี

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำ
กว่าเกณฑ์
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
๓๗.๕๐
ปรับปรุง
ประถม ๒
๑๖
๑๖
๑๔
๑๒.๕๐
ดี
ประถม ๓
๒๕.๐๐
พอใช้
ประถม ๔
๑๑
๑๑
๑๐
๙.๐๙
ดีมาก
ประถม ๕
๑๖
๑๖
๑๖
๑๒.๕๐
ดี
ประถม ๖
๑๑
๑๑
๑๑
๐.๐๐
ดีมาก
รวม
๗๐
๗๐
๖๐
๑๐
๑๔.๒๙
ดี

รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๒
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๒. ค่าเครื่องปรุง ๒ งวด จำนวน ๙,๔๔๐ บาท
๓. พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

ปีการศึกษา ๒๕๓๓
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๒. พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น
๓. ไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสม ๕๐ ตัว

ปีการศึกษา ๒๕๓๔
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๕
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๓๒๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๒๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

ปีการศึกษา ๒๕๓๖
๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๔๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๔๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๗
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๓๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๓๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๘
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๓๐๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๐๐ กิโลกรัม
๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๓๔๘ กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.
(๔๘)
(ปข. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙)