ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเนินแก้ววิทยาคารระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเนินแก้ววิทยาคาร

หมู่ที่ ๕ บ้านชุมนุมมะละกอ ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เริ่มก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ โดยพระภิกษุสุเมธ ภิกขุ (เกิน) ประจำวัดเขารัก ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาจนบุรี ได้ทำการก่อสร้างสำนักสงฆ์เนินแก้วขึ้น และสร้างอาคารเพื่อเป็นศาลาบำเพ็ญกุศลประจำหมู่บ้านชุมนุมมะละกอ ต่อมาได้เห็นความสำคัญของการศึกษา ต้องการให้เด็กๆ ในหมู่บ้านมีความรู้ ความสามารถอ่านออกเขียนได้ ประกอบกับได้เห็นความลำบากของเด็กๆ ที่ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนหนองเสือ ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึง ๕ กิโลเมตร โดยเฉพาะในฤดูฝน ท่านจึงยกศาลาหลังนี้ให้เป็นอาคารเรียนและได้ประสานกับผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ ตำรวจตระเวนชายแดนด่านสิงขร (ปัจจุบันคือกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔๖) ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อขอครูมาทำการสอนเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๒๑ ต่อมาทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (ค่ายพระพุทธยอดฟ้า) กาจนบุรี ปัจจุบันคือกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๓ ได้รับมอบอาคารเรียนเข้าอยู่ในความรับผิดชอบและส่งครูมาทำการสอน ๓ นาย โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๐ ไร่

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเนินแก้ววิทยาคาร เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านชุมนุมมะละกอ และบ้านเขาดิน ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้ ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๙
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๐

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑.อาคารเรียน ๑ พระภิกษุสุเมธ ภิกขุ
๒. อาคารเรียน ๒ ประชาชนในพื้นที่
๓. อาคารเรียน ๓ ค่ายอาสาพัฒนาวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี
๔. อาคารเรียน ๔ ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันราชภัฎเพชรบุรี
๕. อาคารสหกรณ์ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔, ประชาชนในพื้นที่
๖. โรงอาหาร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔
๗. ห้องน้ำ, ห้องสุขา ประชาชนในพื้นที่, ชมรมอาสาพัฒนาสถาบันราชภัฎเพชรบุรี
๘. ห้องสมุด สถาบันราชภัฎเพชรบุรี
๙. ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔
๑๐. สนามเด็กเล่น วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๖๕ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียน ๙๑ คน เป็นชาย ๔๙ คน หญิง ๔๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
หน้าที่รับผิดชอบ
๑. จ.ส.ต.สากล อาจสัญจร
นบ.
ครูใหญ่ รับผิดชอบทุกโครงการ
๒. จ.ส.ต.ยงยุทธ แจ้งกิจ
ศศบ.
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๓. ส.ต.ท.เสมา ทิพย์คีรี
ปกศ.
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๔. ส.ต.ท.พงษ์ศักดิ์ รัตนพล
ม.๖
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
๕. ส.ต.ต.ประชุม สันตานนท์
ปกศ.
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๖. ส.ต.อ.สมพร สงวนไพบูลย์
ม.ศ.๓
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๗. ส.ต.ต.ไชยา จันทดี
ม.ศ.๓
โครงการฝึกอาชีพ
๘. ส.ต.อ.ยอดชาย เผือกผ่อง
ม.๖
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๙. นางสาววารี ล้นเหลือ
ป.๖
ผู้ดูแลเด็ก
๑๐. นางสาวขวัญใจ จุ้ยตาล
ป.๖
ผู้ดูแลเด็ก

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๗
๑๔
๓๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๒
รวม
๔๙
๔๒
๙๑

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.ยงยุทธ แจ้งกิจ

ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๓๙
เดือน หมวด
เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๓,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๗๕,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓.๒๘ ๐.๐๐ ๗๐.๒๙ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๘.๒๐ ๐.๐๐ ๗๐.๒๙ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
มิถุนาคม ผลผลิรวม (กรัม) ๑๐๖,๖๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๓๒,๐๐๐.๐๐ ๓๑,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔๙.๙๕ ๐.๐๐ ๖๑.๘๖ ๑๔.๕๓
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๒๔.๘๘ ๐.๐๐ ๖๑.๘๖ ๑๔.๕๓
  ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๓๖,๖๐๐ ๐.๐๐ ๒๑๘,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๙.๘๖ ๐.๐๐ ๑๑๘.๕๖ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๙.๖๕ ๐.๐๐ ๑๑๘.๕๖ ๐.๐๐
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ดีมาก ปรับปรุง
สิงหาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๕๘,๘๕๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๘๑,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๖.๓๘ ๐.๐๐ ๘๑.๑๓ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๖๕.๙๕ ๐.๐๐ ๘๑.๑๓ ๐.๐๐
  ประเมินผล ดี ปรับปรุง ดีมาก ปรับปรุง
กันยายน ผลผลิตรวม (กรัม) ๗๗,๒๕๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๓๘,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๗.๙๒ ๐.๐๐ ๖๗.๗๕ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๙๔.๘๑ ๐.๐๐ ๖๗.๗๕ ๐.๐๐
  ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
ตุลาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๑๐,๖๕๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๓๓,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐.๙๘ ๐.๐๐ ๑๓๗.๑๑ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๗.๔๕ ๐.๐๐ ๑๓๗.๑๑ ๐.๐๐
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ดีมาก ปรับปรุง
พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กรัม) ๓๘,๒๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๒๐๕,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๗.๙๐ ๐.๐๐ ๙๖.๐๖ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๔.๗๕ ๐.๐๐ ๙๖.๐๖ ๐.๐๐
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ดีมาก ปรับปรุง
ธันวาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๑๘,๙๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๑๒,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๙.๒๘ ๐.๐๐ ๕๔.๙๘ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๓.๒๐ ๐.๐๐ ๕๔.๙๘ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
มกราคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๑๑๕,๑๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๕๔,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๙.๓๓ ๐.๐๐ ๗๙.๓๘ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๔๘.๓๒ ๐.๐๐ ๗๙.๓๘ ๐.๐๐
  ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดีมาก ปรับปรุง
กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กรัม) ๓๓๖,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๙๘,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๗๓.๒๐ ๐.๐๐ ๕๐.๕๒ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๓๒.๙๙ ๐.๐๐ ๕๐.๕๒ ๐.๐๐
  ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
มีนาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๗๙,๖๕๐.๐๐ ๐.๐๐ ๘๐,๐๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๙.๑๐ ๐.๐๐ ๓๙.๒๗ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๙๗.๗๕ ๐.๐๐ ๓๙.๒๗ ๐.๐๐
  ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง

หมายเหตุ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร
คำอธิบายตัวชี้วัด การแปลผล/เกณฑ์
น้ำหนักผลผลิตทางการเกษตรประเภทเนื้อ ผัก ถั่วเมล็ดแห้ง และ ณ ๗๕% = ดีมาก
ผลไม้ที่ผลิตได้ เปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการอาหารของ < ๗๕% = ดี
นักเรียน หน่วยเป็นกรัม/นักเรียน ๑ คน/มื้อ ณ ๕๐-๒๕% = พอใช้
< ๒๕% = ปรับปรุง
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์ และทำน้ำนมถั่วเหลืองเป็นอาหารเสริมให้นักเรียนดื่ม ๓ ครั้ง/สัปดาห์ มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๘ คน
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ นักเรียน และผู้ปกครอง
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน ได้รับอาหารเสริมดังนี้
) นมสด UHT จาก กรมอนามัย จำนวน ๓๔๒ กล่อง
) นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๖๔ กิโลกรัม (ปี ๒๕๓๘)
) แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๔๕ กิโลกรัม (ปี ๒๕๓๘)
) แลตาซอย จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑,๙๐๘ กล่อง

การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
) นมสด UHT สำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน วันละ ๑ กล่อง/คน
) นมผง ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี วันละ ๑ ครั้ง
) นมถั่วเหลือง ทุกวันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์ วันละ ๑ ครั้ง

อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ ครั้งที่ ๓)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ ๑
ระดับ ๒
ระดับ ๓
รวม
% ต่ำ
กว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๒๙
๒๙
๒๕
๑๓.๗๙
ดี

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำ
กว่าเกณฑ์
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๒
๑๒
๑๒
๑๑
๘.๓๓
ดีมาก
ประถม ๓
๑๓
๑๓
๑๒
๗.๖๙
ดีมาก
ประถม ๔
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๕
๑๒
๑๒
๑๑
๘.๓๓
ดีมาก
ประถม ๖
๑๕
๑๕
๑๓
๑๓.๓๓
ดี
รวม
๖๖
๖๖
๖๑
๗.๕๘
ดีมาก

รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๒
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๒. ค่าเครื่องปรุง ๒ งวด จำนวน ๖,๒๔๐ บาท
๓. พันธุ์มะม่วง ๑๐ ต้น

ปีการศึกษา ๒๕๓๓
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๑ ชุด
๒. ไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสม ๕๐ ตัว
๓. พันธุ์มะม่วง ๑๐ ต้น

ปีการศึกษา ๒๕๓๔
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๕
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

ปีการศึกษา ๒๕๓๖
๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๗
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๘
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๔๕ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๔๕ กิโลกรัม
๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๖๔ กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๔๘)
(ปข. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙)