ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรห้วยผึ้งระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรห้วยผึ้ง

เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๒๓ โดย กก.สอ.ตชด.ได้รับหนังสือร้องขอจากราษฎรบ้านห้วยผึ้งให้สร้างโรงเรียน เพื่อทำการสอนแก่บุตรหลาน โดยราษฎรได้บริจาคที่ดินรวม ๓๑ ไร่ และได้ช่วยจัดหาวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างให้ ขณะนั้นมีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ ๘๖ ครัวเรือน ปลูกบ้านอย่างกระจัดกระจาย ผกก.สอ.ตชด.จึงได้ส่ง ข้าราชการตำรวจ จำนวน ๔ นาย ไปก่อสร้างอาคารชั่วคราว ขนาด ๔ ห้องเรียน ๑ ห้องพักครู และเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๔ ต่อมาปี ๒๕๒๔ ได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเพิ่มเติม ๑ หลัง ๒ ห้องเรียน และในปี ๒๕๒๕ เปลี่ยนเป็นอาคารถาวร ปี ๒๕๒๗ ได้จัดสร้างอาคารโรงอาหาร ๑ หลัง ปี ๒๕๒๘ สร้างอาคารเรียนถาวร ๑ หลัง ๒๕๓๒ สร้างอาคารโรงอาหาร ๑ หลัง (โครงเหล็ก) ปี ๒๕๓๓ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ ได้รับมอบโดนจาก กก.สอ.ตชด. และได้มีการสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน และอาคารเอนกประสงค์ตามลำดับ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๓๑ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เดิมราษฎรอพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี ประมาณ ๘๖ ครอบครัว ได้เข้าไปจับจองแผ้วถางป่า เพื่อทำพื้นที่การเกษตรและปลูกบ้านเรือนอาศัย ทำให้เกิดมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเป็นบริเวณกว้างขึ้น ราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อพยพมาจับจองเพิ่มขึ้น ในพื้นที่หมู่บ้านห้วยผึ้งเป็นพื้นที่ปลอดภัย ทางราชการทหารโดยศูนย์ทางทหารราบเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ต่อมาได้มีการขยายแบ่งหมู่บ้านเพิ่มขึ้น ๓ หมู่บ้านคลองน้อย หมู่ที่ ๗ และบ้านโปร่งสำโรง หมู่ ๙

การคมนาคม
เส้นทางคมนาคม - ออกจากหมู่บ้านห้วยผึ้งถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีระยะทาง ๑๕๒ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ๑๔๗ กิโลเมตร ถนนลูกรัง ๕ กิโลกรัม ห่างจากอำเภอหัวหิน ๖๑ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ๑ ชั่วโมง ๔๕ นาที สภาพเส้นทางใช้ได้ตลอดปี

จำนวนประชากร
หมู่บ้านห้วยผึ้งมีประชากรอาศัยอยู่ ๑,๐๖๐ แยกเป็น ๓๒๐ ครัวเรือน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่สับปะรด มะนาว ชมพู่ กล้วย ข้าวโพด และรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ ๘,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน   นายชำนาญ มีชัย
ผู้ใหญ่บ้าน  นายหวล เจิมสุวรรณ

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. บ้านคลองน้อย หมู่ ๗ มีประชากรอาศัยอยู่ ๓๕๐ คน แยกเป็น ๗๕ ครัวเรือน นายโอด นิลนวล เป็นผู้ใหญ่บ้าน
๒. บ้านโปร่งสำโรง หมู่ ๙ มีประชากรอาศัยอยู่ ๒๒๓ คน แยกเป็น ๗๒ ครัวเรือน นายมงคล พูนลำเภา เป็น ผู้ใหญ่บ้าน

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. ด้านการศึกษา บ้านคลองน้อย หมู่ ๗ อยู่ไกลจากโรงเรียน ๑๘ กิโลเมตร มีนักเรียนไปเรียนทั้งหมด ๕๓ คน มีความยากลำบากในการเดินทางในฤดูฝน ต้องการแยกสาขาโรงเรียนตำรวจไปที่บ้านคลองน้อย
๒. ด้านอนามัย มีการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรีย ทั้งประชาชนและนักเรียนบ่อยครั้งในปีนี้ ยากแก่การรักษา
๓. ด้านอาชีพ การทำไร่ปีนี้เกิดภาวะแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ต้องการอาหารเสริม

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนเรศวรห้วยผึ้ง สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านห้วยผึ้ง บ้านคลองน้อย และบ้านโปร่งสำโรง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๙ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑. อาคารเรียนถาวร ๑ บริษัทโดลไทยแลนด์, กอ.รมน.รุ่น ๑๐
๒. อาคารเรียนถาวร ๒ บริษัทโดลไทยแลนด์, กอ.รมน.รุ่น ๑๐
๓. อาคารเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
๔. บ้านพักครู บริษัทโดลไทยแลนด์, กอ.รมน.รุ่น ๑๐
๕. โรงอาหาร ชมรมลูกเสือชาวบ้านบางกอกน้อย

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๔ นาย
ปัจจุบันมีการศึกษา ๒๕๔๑ มีนักเรียน ๒๘๙ คน เป็นชาย ๑๐๖ คน หญิง ๘๓ คน
มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน (ข้อมูลวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๑)

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ

ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
รับผิดชอบโครงการฯ
๑. ร.ต.ต.สรพัฒน ช่วยพัฒน์
อนุปริญญา
บริหาร
๒.จ.ส.ต.ทองสิน เกตุลา
ม.๖
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๓. จ.ส.ต.บุญปลอด ทองเทศ
ปกศ.
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๔.จ.ส.ต.ประยงค์ มูลกำบิล
ม.ศ.๕
โครงการอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
๕. จ.ส.ต.ณรงค์ เปี่ยมยา
ม.๖
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
๖. ส.ต.อ.ไพบูลย์ สอนวัฒนา
ปกศ.สูง
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม
๗. ส.ต.ท.เสกสิทธิ์ ผิวเหมาะ
ปริญญาตรี
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๘. ส.ต.ท.ดำรงศักดิ์ ใสฉิม
ปริญญาตรี
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๙. ส.ต.ท.อุดม กล่อมเกลี้ยง
ม.๖
โครงการฝึกอาชีพ
๑๐. นางสาวธันญาเรศ ดวงแก้ว
ม.๓
ผู้ดูแลเด็ก
๑๑. นางสาวลำจวน กองเพชร
ม.๖
ผู้ดูแลเด็ก

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๓๒
๒๔
๕๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๒
๑๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๒
๒๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๗
๑๐
๒๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๓
๑๓
๒๖
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๖
๒๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๗
รวม
๑๐๖
๘๓
๑๘๙


ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๓๓ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๕๒ คน

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.ทองสิน เกตุลา

หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
  • สำนักงานเกษตรอำเภอหัวหิน
  • สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหัวหิน
  • สำนักงานงานประมงอำเภอหัวหิน
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี
  • สำนักงานเกษตรภาคตะวันตกราชบุรี
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร แม่น้ำปราณบุรี
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน และแม่น้ำปราณบุรี
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน ๒๐ กลุ่ม
  • การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๐๓
  • โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ ดังนี้
    ๑. นมผง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๓๒๕ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๑๓๐ กิโลกรัม
    ๓. นมสด UHT จากกรมอนามัย จำนวน ๑,๑๒๒ กล่อง
  • การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันอังคาร และพฤหัสบดี
    ๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์ พุธ และศุกร์
    ๓. นมสด UHT ให้เฉพาะเด็กก่อนวัยเรียนดื่มทุกวัน

  • มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๔๗
    ๓๘
    ๓๖
    -
    -
    ๕.๒๖
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๙
    ๑๖
    ๑๔
    ๑๒.๕๐
    ดี
    ประถม ๒
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๗
    ๑๕.๐๐
    ดี
    ประถม ๓
    ๒๙
    ๒๗
    ๑๖
    ๓.๗๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๒๓
    ๒๓
    ๒๓
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๒๓
    ๒๓
    ๒๓
    ๔.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๕
    ๑๑.๗๖
    ดี
    รวม
    ๑๓๔
    ๑๒๘
    ๑๑๙
    ๗.๐๓
    ดีมาก

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๐ - มีนาคม ๒๕๔๑
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กรัม) ๑๒๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๗.๐๐ ๑๑๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๖๓.๔๙ ๐.๐๐ ๓๐.๑๖ ๕๘.๒๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๑๕๘.๗๓ ๐.๐๐ ๓๐.๑๖ ๕๘.๒๐
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ดี
    มิถุนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๑.๑๕ ๐.๐๐ ๗๐.๐๐ ๙๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐.๓๗ ๐.๐๐ ๑๗.๖๔ ๒๒.๖๘
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๒๕.๙๒ ๐.๐๐ ๑๗.๖๔ ๒๒.๖๘
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๐๓.๓๕ ๐.๐๐ ๙๙.๐๐ ๘๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย(กรัม/คน/มื้อ) ๒๔.๘๖ ๐.๐๐ ๒๓.๘๑ ๑๙.๒๔
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๖๒.๑๔ ๐.๐๐ ๒๓.๘๑ ๑๙.๒๔
      ประเมินผล ดี ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๐๖.๕๕ ๐.๐๐ ๕๙.๐๐ ๗๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๘.๑๙ ๐.๐๐ ๒๕.๑๓ ๑๘.๕๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๗๐.๔๗ ๐.๐๐ ๑๕.๑๓ ๑๘.๕๒
      ประเมินผล ดี ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๒๗.๕๐ ๐.๐๐ ๑๖๗.๐๐ ๘๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๐.๖๖ ๐.๐๐ ๔๐.๑๖ ๑๙.๒๔
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๗๖.๖๖ ๐.๐๐ ๔๐.๑๖ ๑๙.๒๔
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๘๘.๐๐ ๐.๐๐ ๖๗.๐๐ ๕๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๘.๒๐ ๐.๐๐ ๔๔.๓๑ ๓๓.๐๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๑๔๕.๕๐ ๐.๐๐ ๔๔.๓๑ ๓๓.๐๗
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
    พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๘.๘๕ ๐.๐๐ ๑๓๒.๐๐ ๖๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๒.๙๒ ๐.๐๐ ๓๔.๙๒ ๑๕.๘๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๓๒.๓๑ ๐.๐๐ ๓๔.๙๒ ๑๕.๘๗
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๙๓.๐๕ ๐.๐๐ ๑๕๓.๐๐ ๖๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๓.๔๔ ๐.๐๐ ๓๘.๕๕ ๑๕.๑๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๕๘.๖๑ ๐.๐๐ ๓๘.๕๕ ๑๕.๑๒
      ประเมินผล ดี ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๒๒.๖๐ ๐.๐๐ ๑๖๐.๐๐ ๖๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๒.๔๓ ๐.๐๐ ๔๒.๓๓ ๑๗.๒๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๘๑.๐๘ ๐.๐๐ ๔๒.๓๓ ๑๗.๒๐
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๒๒.๕๐ ๐.๐๐ ๑๙๒.๐๐ ๙๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๑.๓๓ ๐.๐๐ ๕๓.๔๗ ๒๕.๐๖
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๗๘.๓๒ ๐.๐๐ ๕๓.๔๗ ๒๕.๐๖
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ด ีพอใช้
    มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๑๗.๑๕ ๐.๐๐ ๑๕๘.๐๐ ๗๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๘.๑๗ ๐.๐๐ ๓๘.๐๐ ๑๘.๐๔
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม) ๗๐.๔๔ ๐.๐๐ ๓๘.๐๐ ๑๘.๐๔
      ประเมินผล ดี ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    รายการสิ่งของพระราชทาน
  • ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๓๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๓๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๒๕๐ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
  • ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๙๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๙๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๒๕๐ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
  • ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

  • แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๔)
    (ตก. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๑)