ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑
ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑
หมู่ที่ ๕ บ้านห้วยใหญ่ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เริ่มจัดตั้งโดยการนำของนายเรี้ยน โตทอง ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ ขอจัดตั้งโรงเรียนผ่านผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ เดิม (กก.ตชด.๑๓ ปัจจุบัน) เนื่องจากเด็กนักเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนด่านสิงขร ตำบลคลองวาฬ เป็นระยะทาง ๔ กิโลเมตร ได้รับความลำบากในช่วงฤดูฝน ระหว่างทางมีลำห้วยขวางกั้น ผู้ปกครองเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อบุตรหลาน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๗ เดิม จึงได้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนให้ โดยตั้งในที่ดินของผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาประชาชนในหมู่บ้านได้สละเนื้อที่จำนวน ๑๕ ไร่ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนซึ่งมีอาคารเรียนแบบชั่วคราว ๑ หลัง ต่อมาได้รับงบประมาณจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ เดิม เป็นเงินจำนวน ๑๖,๐๐๐ บาท จึงได้รื้ออาคารเรียนหลังเก่า ซึ่งก่อสร้างไว้ไม่ถูกลักษณะนำมาปลูกสร้างใหม่ให้เหมาะสม แต่ก็ยังเป็นอาคารเรียนชั่วคราว สภาพอาคารเรียนได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากชมรมค่ายอาสาพัฒนาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง จำนวน ๖ ห้องเรียน โดยใช้อาคารเรียนเดิมเป็นหลัก งบประมาณค่าก่อสร้างเป็นเงินประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาท โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่

ข้อมูลหมู่บ้านห้วยใหญ่
หมู่ที่ ๕ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สถานภาพทั่วไป
ราษฎรในพื้นที่ส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด เช่น จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี อำเภอปราณบุรี อำเภอกุบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาประกอบอาชีพทำมาหากิน และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ ราษฎรบางส่วนได้แผ้วถางป่าเพื่อทำการปลูกพืชไร่ หมู่บ้านห้วยใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน ๗,๒๒๕ ไร่ ทำการเพาะปลูกพืชไร่ จำนวน ๔,๐๔๕ ไร่ หมู่บ้านห้วยใหญ่ แบ่งการปกครองออกเป็น ๗ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ ถึงหมู่ที่ ๗ มีนายเปื่อน บุญช่วย เป็นกำนันปกครอง ปัจจุบันหมู่บ้านห้วยใหญ่ มีราษฎรอาศัยอยู่จำนวน ๑๒๘ ครอบครัว ประชากรทั้งสิ้น ๗๕๙ คน เป็นชาย จำนวน ๓๘๔ คน เป็นหญิง จำนวน ๓๗๕ คน มีนายเสนาะ โตทอง เป็นผู้ใหญ่บ้าน ภายในหมู่บ้านมีน้ำประปาและไฟฟ้าใช้ แหล่งน้ำที่สำคัญมีอ่างเก็บน้ำ ๑ แห่ง มีฝายทดน้ำ ๔ แห่ง ทำให้มีน้ำใช้บริโภคตลอดปี

การคมนาคม
เส้นทางคมนาคม จากอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงหมู่บ้านเป็นทางราดยางตลอดสาย ระยะทางประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ได้สะดวกตลอดปี

การประกอบอาชีพ
พื้นที่ทั่วไปของหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มอากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เลี้ยงโคนม ค้าขาย รับจ้างทำการเกษตร รายได้เฉลี่ยครอบครัวละประมาณ ๓๐,๐๐๐ - ๓๒,๐๐๐ บาท/ปี

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านห้วยใหญ่ และหมู่บ้านเขาน้อย ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๙
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๐

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ผู้ให้การสนับสนุน
๑.อาคารเรียน ๑ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๗ (วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน)
๒. อาคารเรียน ๒ สถาบันราชภัฎเพชรบุรี (ต่อเติมเพิ่ม ๓ ห้อง)
๓. ห้องสมุด สถาบันราชภัฎเพชรบุรี
๔. สนามเด็กเล่น วิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์
๕. สหกรณ์ร้านค้า กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔, ครู และประชาชนในพื้นที่
๖. อาคารเอนกประสงค์ งบประมาณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๒๕ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน๑ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๓๕ คน เป็นชาย ๗๐ คน หญิง ๖๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
ทำหน้าที่
๑. ด.ต.ประยูร ปรีด์เปรม
ม.ศ.๓
ครูใหญ่ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
๒. ด.ต.สมชาย ชาวบางใหญ่
ม.ศ.๓
โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๓. จ.ส.ต.สมนึก อ่อนหลำ
ม.ศ.๓
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๔. จ.ส.ต.สมนึก จันทร์ปลูก
ปริญญาตรี
โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๕. ส.ต.ต.นพดล พวงศรี
อนุปริญญา
โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๖. ส.ต.ต.กมล บุญเสน
ม.๖
โครงการฝึกอาชีพ
๗. ส.ต.ต.มนูญ รัตนเดชาการ
อนุปริญญา
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ
๘. นางสาวปัญรญา แซ่โง้ว
ม.๓
ผู้ดูแลเด็ก
๙. นางสาวนุชจรี โตทอง
ม.๖
ผู้ดูแลเด็ก

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๓๐
๒๘
๕๘
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๓
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๓
รวม
๗๐
๖๕
๑๓๕

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.สมนึก อ่อนลำ
หน่วยงานที่เข้าไปดำเนินการ วิทยาลัยเกษตรกรรมเพชรบุรี, สำนักงานเกษตรกรรมประจวบคีรีขันธ์, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๓๙
เดือน หมวด
เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
พฤษภาคม ผลผลิตรวม(ก.) ๗,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๒๔,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๒.๕๒ ๐.๐๐ ๘.๖๒ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๖.๒๙ ๐.๐๐ ๘.๖๒ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
มิถุนาคม ผลผลิรวม(กก.) ๑๒,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๖๒,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๔.๕๑ ๐.๐๐ ๒๓.๒๙ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๑๑.๒๗ ๐.๐๐ ๒๓.๒๙ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
กรกฎาคม ผลผลิตรวม(ก.) ๑๓,๘๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๓๕,๐๐๐.๐๐ ๑๒,๐๐๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๖.๐๐ ๐.๐๐ ๕๘.๗๒ ๕.๒๒
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๑๕.๐๑ ๐.๐๐ ๕๘.๗๒ ๕.๒๒
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
สิงหาคม ผลผลิตรวม(ก.) ๒๐,๖๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๑๘,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๗.๔๐ ๐.๐๐ ๔๒.๔๐ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๑๘.๕๑ ๐.๐๐ ๔๒.๔๐ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
กันยายน ผลผลิตรวม(ก.) ๙,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๔๐,๐๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๓.๗๔ ๐.๐๐ ๕๕.๑๐ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๙.๓๕ ๐.๐๐ ๕๕.๑๐ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
ตุลาคม ผลผลิตรวม(ก.) ๑๐,๕๕๐.๐๐ ๐.๐๐ ๖๑,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๑๒.๔๖ ๐.๐๐ ๗๒.๐๒ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๓๑.๑๔ ๐.๐๐ ๗๒.๐๒ ๐.๐๐
  ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
พฤศจิกายน ผลผลิตรวม(ก.) ๕,๙๕๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๐๒,๕๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๒.๒๔ ๐.๐๐ ๓๘.๕๐ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๕.๕๙ ๐.๐๐ ๓๘.๕๐ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
ธันวาคม ผลผลิตรวม(ก.) ๑๕,๓๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๐๑,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๕.๗๕ ๐.๐๐ ๓๗.๙๔ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
มกราคม ผลผลิตรวม(ก.) ๙,๙๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๔๘,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๔.๐๙ ๐.๐๐ ๖๑.๑๖ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๑๐.๒๓ ๐.๐๐ ๖๑.๑๖ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม(ก.) ๑๑,๗๕๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๓๗,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๔.๘๖ ๐.๐๐ ๕๖.๖๑ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๑๒.๑๔ ๐.๐๐ ๕๖.๖๑ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ดี ปรับปรุง
มีนาคม ผลผลิตรวม(ก.) ๑๔,๗๕๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๒๕,๐๐๐.๐๐ ๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย
(กรัม/คน/มื้อ)
๕.๘๐ ๐.๐๐ ๔๙.๑๙ ๐.๐๐
  %ผลผลิตที่ได้/
ความต้องการ
๑๔.๕๑ ๐.๐๐ ๔๙.๑๙ ๐.๐๐
  ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง

หมายเหตุ ปริมาณผลผลิตทางการเกษตร
คำอธิบายตัวชี้วัด การแปลผล/เกณฑ์
น้ำหนักผลผลิตทางการเกษตรประเภทเนื้อ ผัก ถั่วเมล็ดแห้ง และ ณ ๗๕% = ดีมาก
ผลไม้ที่ผลิตได้ เปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการอาหารของ < ๗๕% = ดี
นักเรียน หน่วยเป็นกรัม/นักเรียน ๑ คน/มื้อ ณ ๕๐-๒๕% = พอใช้
< ๒๕% = ปรับปรุง
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ นักเรียน และผู้ปกครอง
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน ได้รับอาหารเสริมดังนี้
๑) นมสด UHT จาก กรมอนามัย จำนวน ๖๖ ลัง
๒) นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๒๑๒ กิโลกรัม (ปี ๒๕๓๘)
๓) แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม (ปี ๒๕๓๘)

การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
๑) นมสด UHT ให้นักเรียนไปดื่มที่บ้านในวันหยุด, วันหยุดนักขัตฤกษ์
๒) นมผง ทุกวันอังคาร และวันพฤหัสบดี วันละ ๑ ครั้ง
๓) นมถั่วเหลือง ทุกวันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์ วันละ ๑ ครั้ง
๔) ถั่วเขียว
๕) ถั่วดำ

อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ ครั้งที่ ๓)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ ๑
ระดับ ๒
ระดับ ๓
รวม
% ต่ำ
กว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๕๐
๕๐
๕๐
๐.๐๐
ดีมาก

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำ
กว่าเกณฑ์
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
๑๕
๑๓
๑๑
๑๕.๓๘
ดี
ประถม ๒
๑๔
๑๔
๑๒
๑๔.๒๙
ดี
ประถม ๓
๑๓
๑๓
๔๖.๑๕
ปรับปรุง
ประถม ๔
๑๐
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๕
๑๔
๑๔
๑๓
๗.๑๔
ดีมาก
ประถม ๖
๑๓
๑๒
๑๑
๘.๓๓
ดีมาก
รวม
๗๙
๗๕
๖๓
๑๒
๑๖.๐๐
ดี

รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๒
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๒. ค่าเครื่องปรุง ๒ งวด จำนวน ๔,๒๖๐ บาท
๓. พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

ปีการศึกษา ๒๕๓๓
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๒. พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น
๓. ไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสม ๕๐ ตัว

ปีการศึกษา ๒๕๓๔
๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๒. โครงการจัดหาอาหารไก่ระยะแรก ๑ ชุด จำนวน ๕๐๐ บาท

ปีการศึกษา ๒๕๓๕
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

ปีการศึกษา ๒๕๓๖
๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๘๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๘๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๗
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๓๒๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๒๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

ปีการศึกษา ๒๕๓๘
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม
๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๒๑๒ กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

แหล่งอ้างอิง: สำนักโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี.(๔๘)
(ปข. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙)