ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตรระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร ตั้งอยู่ หมู่ที่๔ บ้านสันตินิมิตร ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร มีมูลเหตุในการก่อตั้ง เนื่องจากประชาชนได้อพยพเข้ามาจับจองพื้นที่ทำกิน และมีเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนจำนวนมาก จึงได้ร่วมกันจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราว และขอครูตำรวจตระเวนชายแดนเข้าไปทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๓๐
ต่อมาวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ อาคารได้ถูกพายุใต้ฝุ่นเกย์พัดเสียหายทั้งหลัง ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่โดยได้รับบริจาคกระเบื้องมุงหลังคาจากบริษัทวิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๓ ไร่ ๒๐๐ ตารางวา

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
บ้านสันตินิมิตร เป็นหมู่บ้านตั้งใหม่ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา ฝนตกชุกตลอดปี ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ ๖๐ ภาคใต้ร้อยละ ๓๐ และภาคเหนือ ร้อยละ ๑๐ นับถือศาสนาพุทธ โดยมีสำนักสงฆ์สันติเจริญธรรมใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนา

การคมนาคม
ระยะทางห่างจากจังหวัดชุมพร ๗๒ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ๔๘ กิโลเมตร ถนนดินลูกรัง ๒๔ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
มีประชากร ๑๐๓ ครอบครัว เป็นชาย ๒๓๑ คน หญิง ๑๘๑ คน รวม ๔๑๒ คน

การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนกาแฟ ผลไม้ และรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ ๓๐,๐๐๐ บาท/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
นายนรินทร์ชัย เพชรสุวรรณ กำนัน
นายวิเชียร เพชรเวช ผู้ใหญ่บ้าน

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
หมู่บ้านใกล้เคียงบ้านสันตินิมิตร จัดตั้งอยู่เป็นกลุ่ม จำนวน ๑๔ กลุ่ม ยังไม่มีผู้นำที่ตั้งโดยทางราชการ ภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา ฝนตกชุก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีอาชีพทำสวนกาแฟ ผลไม้ รายได้เฉลี่ย ๓๐,๐๐๐ บาท/ปี

ปัญหาของหมู่บ้าน
- เส้นทางคมนาคมภายในหมู่บ้าน ในช่วงฤดูฝนเป็นโคลนตม
- สถานีอนามัยอยู่ห่างไกล

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันตินิมิตร เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จังหวัดชุมพร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐โดยรับเด็กจากหมู่บ้านสันตินิมิตร และหมู่บ้านใกล้เคียง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ๑ ครู, ประชาชน, กก.ตชด.ที่ ๔๑
    ๒. อาคารเรียน ๒ ครู, ประชาชน บริษัทสวนปาล์มวิจิตรภัณฑ์ออยล์, กก.ตชด.๔๑
    ๓. โรงอาหาร, สหกรณ์ ครู, ประชาชน, สหกรณ์อำเภอท่าแซะ
    ๔. ห้องส้วม กองร้อยทหารพรานที่ ๔๕๐๒
    ๕. ห้องพยาบาล, ห้องสมุด ครู, ประชาชน
    ๖. บ่อปลาซีเมนต์, บ่อดิน ประมงจังหวัดชุมพร, ครู, ประชาชน
    ๖. คอกปศุสัตว์ ครู, ประชาชน

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๘๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๙๐ คน เป็นชาย ๑๐๖ คน หญิง ๘๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑. ร.ต.ต.สุชาติ ฤาชา
    คบ.
    ครูใหญ่
    ๒. จ.ส.ต.สุชาติ ร่วมพันธ์
    อศ.ศ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๓. ส.ต.อ.ชัยวัฒน์ บัวดำ
    ม.๖
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๔. ส.ต.ท.วุฒิศักดิ์ แก้วประถม
    อศ.ศ.
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๕. ส.ต.ต.สมใจ ชาวเกวียน
    ม.๖
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๖. ส.ต.ต.กฤษณะ ที่รัก
    ศศ.บ.
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๗. ส.ต.ต.สุธี จักรกรด
    ม.๖
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๘. ส.ต.ต.นิพนธ์ เลาไธสงค์
    ปกศ.สูง
    โครงการฝึกอาชีพ
    ๙. นางสาวบุญเรือง ทองสุวรรณ
    ปกศ.สูง
    ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๐. นางสาวพรทิพย์ เมืองคุ้ม
    ปวช.
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๑
    ๑๘
    ๓๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๑
    ๑๘
    ๓๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๓
    ๑๑
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๙
    ๑๑
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ๑๐
    ๒๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๕
    ๒๔
    รวม
    ๑๐๖
    ๘๔
    ๑๙๐

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.สุชาติ ร่วมพันธุ์
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    เกษตรอำเภอท่าแซะ เกษตรจังหวัดชุมพร
    แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร น้ำคลอง ประปาภูเขา
    แหล่งน้ำใช้สำหรับดื่ม น้ำฝน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๓.๐๐ ๐.๐๐ ๒๑.๐๐ ๖๓.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔.๔๘
    ๐.๐๐
    ๗.๒๔
    ๒๑.๗๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๑.๒๑
    ๐.๐๐
    ๗.๒๔
    ๒๑.๗๒
      ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๖.๐๐
    ๐.๐๐
    ๑๖.๐๐
    ๘๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔.๔๘
    ๐.๐๐
    ๒.๗๖
    ๑๓.๗๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๑.๒๑
    ๐.๐๐
    ๒.๗๖
    ๑๓.๗๙
      ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕๙.๕๐
    ๐.๐๐
    ๙๕.๐๐
    ๖๓.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๙.๗๗
    ๐.๐๐
    ๑๕.๖๐
    ๑๐.๓๔
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๔.๔๓
    ๐.๐๐
    ๑๕.๖๐
    ๑๐.๓๔
     
    ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๓.๐๐
    ๐.๐๐
    ๗๓.๐๐
    ๔๙.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐.๓๔
    ๐.๐๐
    ๑๑.๙๙
    ๘.๐๕
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๕.๘๖
    ๐.๐๐
    ๑๑.๙๙
    ๘.๐๕
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๘.๐๐ ๐.๐๐ ๗๖.๐๐ ๕๔.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๑.๑๗ ๐.๐๐ ๑๒.๔๘ ๘.๘๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๗.๙๑ ๐.๐๐ ๑๒.๔๘ ๘.๘๗
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรัปปรุง ปรับปรุง
    ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๙.๐๐ ๐.๐๐ ๗๖.๐๐ ๕๗.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐.๐๐ ๐.๐๐ ๒๖.๒๑ ๑๙.๖๖
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๕.๐๐ ๐.๐๐ ๒๖.๒๑ ๑๙.๖๖
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๒.๐๐ ๐.๐๐ ๔๒.๐๐ ๑๐๓.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐.๑๘ ๐.๐๐ ๖.๙๐ ๑๖.๙๑
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๔.๔๕ ๐.๐๐ ๖.๙๐ ๑๖.๙๑
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๕.๐๐ ๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๙๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๘.๑๗ ๐.๐๐ ๓.๖๓ ๑๗.๒๔
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๐.๔๒ ๐.๐๐ ๓.๖๓ ๑๗.๒๔
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๒.๐๐ ๐.๐๐ ๕๓.๐๐ ๑๐๓.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐.๑๘ ๐.๐๐ ๘.๗๐ ๑๖.๙๑
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๕.๔๕ ๐.๐๐ ๘.๗๐ ๑๖.๙๑
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๕.๐๐ ๐.๐๐ ๙๖.๐๐ ๙๔.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๘.๑๗ ๐.๐๐ ๑๗.๔๒ ๑๗.๐๖
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๐.๔๒ ๐.๐๐ ๑๗.๔๒ ๑๗.๐๖
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๒.๐๐ ๐.๐๐ ๙๖.๐๐ ๑๐๒.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐.๑๘ ๐.๐๐ ๑๕.๗๖ ๑๖.๗๕
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๕.๔๕ ๐.๐๐ ๑๕.๗๖ ๑๖.๗๕
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มแม่บ้าน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๓๖ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน รวมได้รับเงินค่าอาหารเดือนละ ๒๗,๕๐๐ บาท และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมสด UHT จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๘,๑๑๖ กล่อง
    ๒. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๒๖๐ กิโลกรัม
    ๓. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๓๒๕ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่ม วันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมผง ให้นักเรียนดื่มทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๓๔
    ๒๖
    ๑๗
    -
    -
    ๓๔.๖๒
    -

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๓๗
    ๓๗
    ๒๔
    ๑๓
    ๓๕.๑๔
    -
    ประถม ๒
    ๒๔
    ๒๔
    ๑๔
    ๑๐
    ๔๑.๖๗
    -
    ประถม ๓
    ๑๒
    ๑๒
    ๑๑
    ๘.๓๓
    -
    ประถม ๔
    ๓๐
    ๓๐
    ๒๘
    ๖.๖๖
    -
    ประถม ๕
    ๒๑
    ๒๑
    ๑๔
    ๓๓.๓๓
    -
    ประถม ๖
    ๒๓
    ๒๓
    ๒๐
    ๑๓.๐๔
    -
    รวม
    ๑๔๖
    ๑๔๖
    ๑๑๐
    ๓๖
    ๒๔.๖๖
    -

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๒๐๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๒๐๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
    ๔. นมถั่วเหลืองแลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๑๕๕ หีบ
    ๕. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน ๑๒๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๓๖)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒๖๒ ๒๕๔๐)