ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำฉาระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำฉา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำฉา หมู่ที่ ๕ บ้านน้ำฉา ตำบลครน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
โรงเรียนจัดตั้งเมื่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๑๙โดยการนำของนายพล จันทร์อาภา กำนันตำบลรนสมัยนั้น เนื่องจากราษฎรมีความเดือดร้อนเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร - หลาน เพราะหมู่บ้านอยู่ห่างจากโรงเรียนประถมศึกษามาก และการคมนาคมก็ไม่สะดวก ราษฎรในพื้นที่จึงได้ร้องขอไปยังผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๘ (เดิม) เพื่อก่อตั้งเป็นโรงเรียนไกลคมนาคม โดยผู้ใหญ่บ้าน (ขณะนั้น) และราษฎรในพื้นที่ บริจาคที่ดินให้ จำนวน ๑๐ ไร่ วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๒๒ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียน ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๒๔ราษฎรในพื้นที่ ร่วมกันบริจาคและสร้างอาคาร ๑ หลัง ขนาด ๖ x ๒๔ เมตร และในปี พ.ศ.๒๕๒๘ สมาคมสตรีมหาพฤฒาราม บริจาคเงิน จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างอาคาร ๑ หลัง ซึ่งเป็นหลังที่ ๒ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๐ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เป็นที่ราบสูงเชิงเขา ที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ปฏิรูปเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก. ๔ - ๐๑) ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอสวี ประมาณ ๑๗ กิโลเมตร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ กาแฟ ยางพารา ทุเรียน

การคมนาคม
มีถนนสายหลักเข้าออกหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางแต่ไม่มีรถโดยสารประจำทาง ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถส่วนตัวในการเดินทาง

จำนวนประชากร
มีประชากร ๖๖๗ คน เป็นชาย ๓๓๘ คน หญิง ๓๒๙ คน

การประกอบอาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชที่ปลูกได้แก่ กาแฟ ยางพารา มะพร้าว และผลไม้ต่างๆ

ผู้นำหมู่บ้าน
นายสุนันท์ เมืองสวี ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
สภาพโดยรวมทั่วๆ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

ปัญหาของหมู่บ้าน
ขาดแคลนน้ำดื่ม - น้ำใช้

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านน้ำฉา เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จังหวัดชุมพร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๙ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านน้ำฉา ทุ่งระยะ ช่องงาย ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒เปิด ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ๑ ราษฎรในพื้นที่
    ๒. อาคารเรียน ๒ สมาคมสตรีมหาพฤฒาราม
    ๓. โรงอาหาร ราษฎรในพื้นที่
    ๔. ห้องพยาบาล ราษฎรในพื้นที่
    ๕. บ่อน้ำบาดาล กรมทรัพยากรธรณี
    ๖. ถังเก็บน้ำฝน คณะมิตรประชาทหารอากาศ ๐๑
    ๗. สหกรณ์ร้านค้า ร้อย ตชด.๔๑๕ กก.ตชด.๔๑

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๖๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๔ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๖๘ คน เป็นชาย ๔๔ คน หญิง ๒๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑. ร.ต.ต.สันติภาพ ณ ลำพูน
    คบ.
    ครูใหญ่, โครงการฝึกอาชีพ
    ๒. จ.ส.ต.เสถียร ดีทอง
    คบ.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๓. จ.ส.ต.สอาด สังข์ทองจีน
    อ.ศศ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๔. ส.ต.อ.มีชัย ไวยกรณ์
    ม.ศ.๓
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    โครงการป่าชุมชน, โครงการหญ้าแฝก
    ๕. ส.ต.ท.วีระศักดิ์ แข็งแรง
    นบ.
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
    ๖. ส.ต.ท.ชัชพร ขวัญเดือน
    นบ.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๗. ส.ต.ท.กิจจา เหล่าเมฆ
    ม.๖
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน, โครงการห้องสมุด
    ๘. ส.ต.ต.วิลาศ กลัดบ้านห้วย
    ปวท.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๑
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๑
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    ๑๕
    รวม
    ๔๔
    ๒๔
    ๖๘

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.สอาด สังข์ทองจีน, ส.ต.ต.วิลาศ กลัดบ้านห้วย
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    เกษตรอำเภอสวี ประมงจังหวัดชุมพร
    แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร บ่อน้ำบาดาล
    แหล่งน้ำใช้สำหรับดื่ม บ่อน้ำบาดาล

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๙๖.๐๕ ๐.๐๐ ๓๓.๐๐ ๖๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐๖.๗๒
    ๐.๐๐
    ๓๖.๖๗
    ๗๒.๒๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๖๖.๘๑
    ๐.๐๐
    ๓๖.๖๗
    ๗๒.๒๒
      ประเมินผล ดีมาก
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ดี
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๕๑.๐๐
    ๒๓.๐๐
    ๑๔.๐๐
    ๒๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๘๓.๘๙
    ๑๒.๗๘
    ๗.๗๘
    ๑๑.๑๑
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๐๙.๗๒
    ๕๑.๑๑
    ๗.๗๘
    ๑๑.๑๑
      ประเมินผล ดีมาก
    ดี
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๕.๔๐
    ๑๒.๐๐
    ๑๕.๐๐
    ๒๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๔.๖๐
    ๖.๓๕
    ๗.๙๔
    ๑๐.๕๘
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๘๖.๕๑
    ๒๕.๔๐
    ๗.๙๔
    ๑๐.๕๘
     
    ประเมินผล ดีมาก
    พอใช้
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๓๗.๐๕
    ๒๕.๐๐
    ๒๐.๐๐
    ๒๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๙.๖๐
    ๑๓.๒๓
    ๑๐.๕๘
    ๑๐.๕๘
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๙.๐๑
    ๕๒.๙๑
    ๑๐.๕๘
    ๑๐.๕๘
      ประเมินผล พอใช้ ดี ปรับปรุง ปรับปรุง
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๓๓.๕๐ ๑๑.๐๐ ๑๕.๐๐ ๑๑.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๗.๗๒ ๕.๘๒ ๗.๙๔ ๕.๘๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๔.๓๑ ๒๓.๒๘ ๗.๙๔ ๕.๘๒
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรัปปรุง ปรับปรุง
    ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๓๕.๕๕ ๓.๐๐ ๒๕.๐๐ ๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔๓.๘๙ ๓.๗๐ ๓๐.๘๖ ๖.๑๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๐๙.๗๒ ๑๔.๘๑ ๓๐.๘๖ ๖.๑๗
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๙๔.๕๐ ๑๗.๐๐ ๑๗.๐๐ ๑๖.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๐.๐๐ ๘.๙๙ ๘.๙๙ ๘.๔๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๒๕.๐๐ ๓๕.๙๘ ๘.๙๙ ๘.๔๗
      ประเมินผล ดีมาก พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง
    ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๒๑.๒๐ ๐.๐๐ ๕.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๗๔.๘๑ ๐.๐๐ ๓.๐๙ ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๘๗.๐๔ ๐.๐๐ ๓.๐๙ ๐.๐๐
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๓๐.๒๐ ๘.๐๐ ๑๑.๐๐ ๖.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๖๕.๗๖ ๔.๐๔ ๔.๐๔ ๓.๐๓
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๖๔.๓๙ ๑๖.๑๖ ๕.๕๖ ๓.๐๓
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๑๑.๓๐ ๑๐.๐๐ ๑๕.๐๐ ๑๓.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๖๔.๕๐ ๕.๘๕ ๘.๗๗ ๗.๖๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๖๑.๒๖ ๒๓.๓๙ ๘.๗๗ ๗.๖๐
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๐๒.๐๐ ๐.๐๐ ๙.๐๐ ๑๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๓.๙๗ ๐.๐๐ ๔.๗๖ ๕.๒๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๓๔.๙๒ ๐.๐๐ ๔.๗๖ ๕.๒๙
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครองนักเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๐ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน รวมได้รับเงินค่าอาหารเดือนละ ๖,๘๐๐ บาท และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ดังนี้
    ๑. นมสด UHT จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑,๒๓๔ กล่อง
    ๒. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๐ กิโลกรัม
    ๓. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๔. นมสด UHT จาก สาธารณสุข จำนวน ๒๐๐ กล่อง

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่ม วันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมผง ให้นักเรียนดื่มทุกวันจันทร์ และพุธ
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และศุกร์

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -
    -

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๖.๖๖
    -
    ประถม ๒
    ๑๖.๖๖
    -
    ประถม ๓
    ๑๒
    ๑๒
    ๑๐
    ๑๖.๖๖
    -
    ประถม ๔
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๑
    ๑๕.๓๘
    -
    ประถม ๕
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๕
    ๖.๒๕
    -
    ประถม ๖
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๕
    ๒๐
    -
    รวม
    ๗๕
    ๗๕
    ๖๓
    ๑๒
    ๑๖
    -

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๒๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๒๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๔. นมถั่วเหลืองแลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๗๓ หีบ
    ๕. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๒๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๒๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๓๖)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒๖๒ ๒๕๔๐)