ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าลานทองระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าลานทอง

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าลานทอง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ บ้านท่าลานทอง ตำบลคุริง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าลานทอง เดิมชื่อโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านยิลาน จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๐ โดยคณะกรรมการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ได้จัดสร้างขึ้นเป็นอาคารเรียนชั่วคราว ๑ หลัง และทำหนังสือถึงกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ เพื่อขอจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๓๐
ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ คณะกรรมการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวรขึ้น ๑ หลัง ขนาด ๘ x ๒๘ เมตร แต่ยังไม่แล้วเสร็จถูกพายุใต้ฝุ่นพัดอาคารเสียหายหมด ประชาชนและกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จึงร่วมกันจัดสร้างขึ้นใหม่ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์บางส่วนที่ยังใช้การได้อยู่ ก่อสร้างอาคารขนาด ๗ x ๒๐ เมตร และโรงอาหาร ๑ หลัง ซึ่งได้งบประมาณจากกรมตำรวจบางส่วน และผู้บริจาคสมทบ
ปี พ.ศ.๒๕๓๓ บริษัทเชลล์ ร่วมกับพนักงาน บริจาคเงิน จำนวน ๒๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ ขนาด ๑๓ x ๑๔ เมตร โดยทำพิธีรับมอบเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ บริษัทได้บริจาคเงินให้โรงเรียนอีก ๑๓,๐๐๐ บาท เพื่อขุดบ่อปลาและทำฝายกั้นน้ำ หลังจากนั้นประชาชนได้ร่วมกันสร้างบ้านพักครูให้อีก ๑ หลัง
ปี พ.ศ.๒๕๓๕ โรงเรียนได้รับสนับสนุนพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากเกษตรอำเภอท่าแซะ เพื่อปลูกในพื้นที่โรงเรียน จำนวน ๑๐ ไร่ และประชาชนได้ร่วมกันขยายโรงเรียนขึ้นอีก ๓ ห้องเรียน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ โรงเรียนได้รับงบ กชช. เพื่อซ่อมแซมอาคารเรียน จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท และเปิดดำเนินการสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๔ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
สภาพหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบเชิงเขา เนื้อที่ ประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ เป็นเขต สปก. ๔ - ๐๑ (ปี พ.ศ.๒๕๓๓) ประชาชนมีเอกสารสิทธิ์ ครอบครัวละ ๒๕ ไร่ มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก รพช. ๑ แห่ง อ่างเก็บ สปก.๑ แห่ง มีสถานีอนามัย ๑ แห่ง โรงเรียนของ สปช. ที่อยู่ใกล้เคียง คือ โรงเรียนประชานิคม ๒ ระยะทาง ๘ กิโลเมตร และมีพื้นที่โครงการปลูกป่าของป่าไม้ ๒,๐๐๐ ไร่

การคมนาคม
จากชุมพร ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตร จากอำเภอท่าแซะถึงโรงเรียน ๒๐ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร ใช้ได้ในหน้าแล้ง แต่ในฤดูฝนจะถูกน้ำเซาะบางแห่ง การคมนาคมจึงไม่สะดวก

จำนวนประชากร
มีประชากร ๑๑๔ ครัวเรือน เป็นชาย ๒๒๘ คน หญิง ๒๖๗ คน รวม ๔๙๕ คน

การประกอบอาชีพ
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา สวนผลไม้ และกาแฟ คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ปลูกผักและพืชไร่ ร้อยละ ๑๕ ส่วนที่เหลือมีอาชีพรับจ้าง รายได้เฉลี่ย ๑๘,๐๐๐ - ๒๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
นายมานิตย์ ช่วยอนันต์ กำนัน
นางสำเนียง สมบุญ ผู้ใหญ่บ้าน

ปัญหาของหมู่บ้าน
- การจุดไฟเผาไร่ในช่วงฤดูแล้ง
- ขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภคในฤดูแล้ง
- เส้นทางคมนาคม ในฤดูฝนบางช่วงใช้การไม่ได้
- ไม่มีไฟฟ้าใช้

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่าลานทอง เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จังหวัดชุมพร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านทุ่งยอ บางฝนตก และบางมาศ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน กรมตำรวจ
    ๒. อาคารเอนกประสงค์ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย
    ๓. โรงอาหาร กก.ตชด.ที่ ๔๑
    ๔. อาคารเด็กเล็ก สส.จังหวัดชุมพร
    ๕. ห้องพยาบาล กก.ตชด.ที่ ๔๑
    ๖. ห้องน้ำ ห้องส้วม นางยุพา พานิชชีวะ

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๔๕ คน เป็นชาย ๘๐ คน หญิง ๖๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑. ร.ต.ต.เดชา ครุฑเผือก
    ม.ศ.๓
    ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.ท.ประยงค์ พานิชกุล
    ม.๖
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๓. ส.ต.ท.วิรัตน์ ทองเทพ
    คบ.
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๔. ส.ต.ต.สุริยชาติ บุญเมือง
    คบ.
    โครงการฝึกอาชีพ
    โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
    ๕. ส.ต.ต.บุญเยี่ยม มีลาโพ
    ปกศ.สูง
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๖. ส.ต.ต.ไพรัช แก้วเกล้า
    คบ.
    โครงการส่งเสริมการปลูกและขยายพันธุ์หญ้าแฝก
    ๗. ส.ต.ต.ไพทูรย์ ลือกลาง
    คบ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๘. นางสาวนิภา แดงสกล
    ม.๖
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๙
    ๒๓
    ๔๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๒
    ๑๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๑
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    ๑๙
    รวม
    ๘๐
    ๖๕
    ๑๔๕

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.ไพทูรย์ ลือกลาง
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    เกษตรอำเภอ เคหกิจเกษตร
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร บ่อปลา และแหล่งน้ำธรรมชาติ
    แหล่งน้ำใช้สำหรับดื่ม ถังน้ำฝน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๗๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๑.๔๗
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๒๘.๖๘
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
      ประเมินผล ดีมาก
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๕๔.๐๐
    ๐.๐๐
    ๘๗.๐๐
    ๙๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๙.๖๐
    ๐.๐๐
    ๓๓.๖๗
    ๓๔.๘๓
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๔๘.๙๙
    ๐.๐๐
    ๓๓.๖๗
    ๓๔.๘๓
      ประเมินผล ดีมาก
    ปรับปรุง
    พอใช้
    พอใช้
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๒๙.๐๐
    ๐.๐๐
    ๙๑.๐๐
    ๗๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔๕.๑๗
    ๐.๐๐
    ๓๑.๘๖
    ๒๔.๕๑
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๒๒.๙๒
    ๐.๐๐
    ๓๑.๘๖
    ๒๔.๕๑
     
    ประเมินผล ดีมาก
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๐๐.๗๕
    ๐.๐๐
    ๘๐.๐๐
    ๑๕๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๗๐.๒๙
    ๐.๐๐
    ๒๘.๐๑
    ๕๒.๕๒
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๗๕.๗๓
    ๐.๐๐
    ๒๘.๐๑
    ๕๒.๕๒
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ดี
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๗๒.๖๕ ๐.๐๐ ๖๖.๐๐ ๑๓๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๖๐.๔๕ ๐.๐๐ ๒๓.๑๑ ๔๕.๕๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๕๑.๑๓ ๐.๐๐ ๒๓.๑๑ ๔๕.๕๒
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรัปปรุง พอใช้
    ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๕๔.๒๕ ๐.๐๐ ๑๑๖.๐๐ ๑๕๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๔๑.๗๗ ๐.๐๐ ๑๐๖.๖๒ ๑๓๗.๘๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๕๔.๔๓ ๐.๐๐ ๑๐๖.๖๒ ๑๓๗.๘๗
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๑๘.๑๐ ๐.๐๐ ๑๒๐.๐๐ ๑๕๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๘๐.๑๘ ๐.๐๐ ๔๔.๑๒ ๕๕.๑๕
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๐๐.๔๖ ๐.๐๐ ๔๔.๑๒ ๕๕.๑๕
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ดี
    ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๕๘.๗๐ ๐.๐๐ ๗๙.๐๐ ๑๘๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐๕.๖๘ ๐.๐๐ ๓๒.๒๗ ๗๕.๕๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๖๔.๒๐ ๐.๐๐ ๓๒.๒๗ ๗๕.๕๗
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ดีมาก
    มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๖๙.๓๕ ๐.๐๐ ๑๐๑.๐๐ ๑๗๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๙๔.๓๑ ๐.๐๐ ๓๕.๓๖ ๖๑.๒๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๓๕.๗๘ ๐.๐๐ ๓๕.๓๖ ๖๑.๒๗
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ดี
    กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๓๕.๓๕ ๐.๐๐ ๗๕.๐๐ ๑๗๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๙๑.๐๘ ๐.๐๐ ๒๙.๐๒ ๖๕.๗๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๒๗.๗๐ ๐.๐๐ ๒๙.๐๒ ๖๕.๗๙
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ ดี
    มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๑๑.๖๐ ๐.๐๐ ๖๒.๐๐ ๒๒๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๗๔.๐๙ ๐.๐๐ ๒๑.๗๑ ๗๗.๐๓
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๘๕.๒๒ ๐.๐๐ ๒๑.๗๑ ๗๗.๐๓
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรับปรุง ดีมาก

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ นักเรียน ผู้ปกครอง
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๑ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน รวมได้รับเงินค่าอาหารเดือนละ ๑๔,๖๐๐ บาท และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมสด UHT จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๓,๑๐๐ กล่อง
    ๒. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๓๒๕ กิโลกรัม
    ๓. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๒๐๕ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่ม วันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมผง ให้นักเรียนดื่มทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๔๑
    ๔๑
    ๓๘
    -
    -
    ๗.๓
    -

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๓
    ๑๓.๓
    -
    ประถม ๒
    ๑๘
    ๑๘
    ๑๗
    ๕.๕
    -
    ประถม ๓
    ๑๙
    ๑๙
    ๑๗
    ๑๐.๕
    -
    ประถม ๔
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๕
    ๖.๒๕
    -
    ประถม ๕
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๖
    ๕.๘
    -
    ประถม ๖
    ๑๙
    ๑๙
    ๑๗
    ๑๐.๕
    -
    รวม
    ๑๐๔
    ๑๐๔
    ๙๕
    ๘.๖
    -

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๗๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๗๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๒๕๐ กิโลกรัม
    ๔. นมถั่วเหลืองแลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๑๐๐ หีบ
    ๕. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๓๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๓๖)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒๖๒ ๒๕๔๐)