ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมืองระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๐ บ้านห้วยเหมือง ตำบลนาขา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
เดิมเป็นที่ตั้งของบริษัทเหมืองแร่พรนาขา ต่อมาปี ๒๕๒๘ บริษัทได้เลิกกิจการ จึงมอบอาคารต่างๆ พร้อมที่ดินที่สัมปทานในการขุดแร่ให้ไว้กับราษฎรบ้านห้วยเหมืองช่วยกันดูแลรักษาเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ ต่อมา พ.ศ.๒๕๓๐ ราษฎรบ้านห้วยเหมือง ได้ประชุมลงมติใช้ที่ดินและอาคารดังกล่าวจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น เพราะในพื้นที่ยังไม่มีโรงเรียนที่จะให้เด็กได้รับการศึกษา ดังนั้นจึงได้เริ่มดำเนินการสำรวจเด็ก ว่าจะสามารถจัดตั้งได้หรือไม่ โดยการนำของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ปรากฎว่าเด็กมีมากพอ จึงได้ประสานไปยังอำเภอ และทางอำเภอก็ไม่ขัดข้อง แต่อำเภอไม่สามารถจัดตั้งได้ ราษฎรจึงได้ประสานไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ ได้จัดส่งครูตำรวจตระเวนชายแดน มาทำการสอน จำนวน ๓ นาย โดยเปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๒ วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๖ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สร้างอาคารเรียนให้ จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๘ x ๔๒ เมตร จำนวน ๗ ห้องเรียน โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๗๐ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
หมู่บ้านห่างจากจังหวัดชุมพร ประมาณ ๙๒ กิโลเมตร และห่างจากอำเภอหลังสวน ประมาณ ๓๙ กิโลเมตรเส้นทางในหมู่บ้านเป็นทางดิน ข้ามคลองน้ำ ๔ คลอง เนินเขาสูง จำนวน ๗ เนิน และยังเป็นเส้นทางคดเคี้ยวมาก
ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านอพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ ๓๐ ภาคกลาง ร้อยละ ๑๕ ภาคเหนือ ร้อยละ ๑๐ ส่วนที่เหลือเป็นราษฎรที่อยู่ในภาคใต้เอง ร้อยละ ๔๕

การคมนาคม
สภาพถนนเป็นดินข้ามเนินเขาสูงและข้ามคลองที่ยังไม่มีสะพานมักจะมีปัญหาในช่วงฤดูฝน

จำนวนประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น ๑,๒๘๐ คน เป็นชาย ๕๓๐ คน หญิง ๗๕๐ คน

การประกอบอาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนทุเรียน กาแฟ เงาะ ยางพารา มังคุด มีพื้นที่การเกษตร ๑๒,๐๐๐ ไร่ พื้นที่การเกษตรทั้งหมดเป็นเนินเขา มีรายได้เฉลี่ย ๓๐,๐๐๐ - ๖๐,๐๐๐ บาท/ปี/ครอบครัว

ผู้นำหมู่บ้าน
นายสานิตย์ พิณวานิช กำนัน
นายชวลิต บุญมี ผู้ใหญ่บ้าน

ปัญหาของหมู่บ้าน
เส้นทางคมนาคมลำบาก

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยเหมือง เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จังหวัดชุมพร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑โดยรับเด็กจากหมู่บ้านห้วยเหมือง ห้วยทรายขาว ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    ๒. อาคารพยาบาล สถานีอนามัยตำบลนาขา
    ๓. โรงอาหาร อาคารเดิมของบริษัทเหมืองแร่พรนาขา

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๗๘ คน เป็นชาย ๘๐ คน หญิง ๙๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑. ร.ต.ต.สวัสดิ์ ช้างนะ
    ม.๖
    ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.ท.จารึก กิ้มซิ้ว
    ม.๖
    โครงการส่งเสริมโภชนาการสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
    ๓. ส.ต.ท.ถาวร ช่อสม
    ปวช.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๔. ส.ต.ท.วิรัตน์ จินสกุล
    ปวส.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๕. ส.ต.ท.เดชา จำปาเทพ
    ปริญญาตรี
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอดีน
    โครงการหญ้าแฝก
    ๖. พลฯ บุญถิ่น ชาดา
    ม.๖
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    โครงการฝึกอาชีพ
    ๗. นางสาวจุรีรัตน์ ชูคำ
    ปวช.
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๙
    ๒๑
    ๔๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๒
    ๑๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๑
    ๑๖
    ๒๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๓
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๐
    ๒๒
    ๓๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๐
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    ๑๓
    ๒๓
    รวม
    ๘๐
    ๙๘
    ๑๗๘

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ท.ถาวร ช่อสม
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    เกษตรอำเภอหลังสวน เกษตรตำบลนาขา วิทยาลัยประมงเขตอุดมศักดิ์
    แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรจากน้ำธรรมชาติ
    แหล่งน้ำใช้สำหรับดื่มจากน้ำฝน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๙.๐๐ ๐.๐๐ ๗.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕.๕๖
    ๐.๐๐
    ๔.๓๒
    ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๓.๘๙
    ๐.๐๐
    ๔.๓๒
    ๐.๐๐
      ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๙.๔๕
    ๐.๐๐
    ๑๓.๐๐
    ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๖.๓๒
    ๐.๐๐
    ๔.๒๒
    ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๕.๘๐
    ๐.๐๐
    ๔.๒๒
    ๐.๐๐
      ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๑๕.๐๐
    ๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๔.๔๑
    ๐.๐๐
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๔.๔๑
    ๐.๐๐
     
    ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๔.๐๐
    ๐.๐๐
    ๒๓.๐๐
    ๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๒.๙๓
    ๐.๐๐
    ๖.๗๖
    ๐.๐๐
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๒.๓๓
    ๐.๐๐
    ๖.๗๖
    ๐.๐๐
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๙.๐๐ ๐.๐๐ ๓๑.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๘.๕๒ ๐.๐๐ ๙.๑๑ ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๑.๓๑ ๐.๐๐ ๙.๑๑ ๐.๐๐
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรัปปรุง ปรับปรุง
    พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕๒.๗๐ ๐.๐๐ ๑๗.๐๐ ๓๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๕.๔๙ ๐.๐๐ ๕.๐๐ ๘.๘๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๘.๗๓ ๐.๐๐ ๕.๐๐ ๘.๘๒
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๖.๐๕ ๐.๐๐ ๒๗.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๑.๔๖ ๐.๐๐ ๘.๗๗ ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๕๓.๖๕ ๐.๐๐ ๘.๗๗ ๐.๐๐
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕๔.๐๐ ๐.๐๐ ๗๕.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๕.๑๕ ๐.๐๐ ๒๑.๐๔ ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๓๗.๘๘ ๐.๐๐ ๒๑.๐๔ ๐.๐๐
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๙.๐๐ ๐.๐๐ ๕๗.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๖.๑๗ ๐.๐๐ ๑๘.๕๒ ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๕.๔๓ ๐.๐๐ ๑๘.๕๒ ๐.๐๐
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๓๙.๓๐ ๐.๐๐ ๓๗.๐๐ ๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๑.๕๕ ๐.๐๐ ๑๐.๘๘ ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๘.๘๘ ๐.๐๐ ๑๐.๘๘ ๐.๐๐
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครองนักเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๙ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน รวมได้รับเงินค่าอาหารเดือนละ ๑๖,๒๐๐ บาท และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมสด UHT จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๔,๑๓๖ กล่อง
    ๒. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๒๒๕ กิโลกรัม
    ๓. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๙๐ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่ม วันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมผง ให้นักเรียนดื่มทุกวันจันทร์ และพุธ
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และศุกร์

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๔๐
    ๔๐
    ๓๘
    -
    -
    -

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๘
    ๑๘
    ๑๖
    ๑๑.๑๑
    -
    ประถม ๒
    ๒๗
    ๒๗
    ๒๕
    ๗.๔๐
    -
    ประถม ๓
    ๒๑
    ๒๑
    ๒๐
    ๔.๗๖
    -
    ประถม ๔
    ๓๒
    ๓๒
    ๓๑
    ๓.๑๒
    -
    ประถม ๕
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๗
    -
    -
    -
    ประถม ๖
    ๒๓
    ๒๓
    ๒๒
    ๔.๓๔
    -
    รวม
    ๑๓๘
    ๑๓๘
    ๑๓๑
    ๕.๐๗
    -

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๔. นมถั่วเหลืองแลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๑๐๐ หีบ
    ๕. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๑๑๙ ชุด
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๔๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๔๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๓๖)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒๖๒ ๒๕๔๐)