ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนสามัคคีระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านควนสามัคคี

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวนสามัคคี ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๙ บ้านวนสามัคคี ตำบลรน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
จัดตั้งขึ้นเนื่องจากประชาชนมีความเดือดร้อนเรื่องสถานที่เรียนของบุตรหลานที่ครบเกณฑ์บังคับต้องเข้าเรียน ซึ่งโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ อยู่ห่างจากหมู่บ้าน ประมาณ ๕ กิโลเมตร ประกอบกับเส้นทางคมนาคมไม่สะดวกมีลำคลองตัดผ่านถนน ๓ จุด จึงมีผู้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียน จำนวน ๑๕ ไร่ ประชาชนในหมู่บ้านจึงได้ปรึกษาเจ้าคณะตำบลทุ่งตะโก ร่วมกันสร้างอาคารเรียนขึ้นมา ๑ หลัง ขนาด ๘ x ๒๑ เมตร จำนวน ๓ ห้องเรียน และทำหนังสือขอความช่วยเหลือไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ เพื่อขอเปิดเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการฯ จึงได้จัดส่งครูเข้าไปทำการสอน จำนวน ๓ นาย โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๖ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาเตี้ยๆ มีน้ำตกธารทิพย์ เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำลำคลอง ประชากรได้ใช้น้ำในการประกอบอาชีพ

การคมนาคม
หมู่บ้านตั้งอยู่ห่างจากอำเภอสวี ๒๖ กิโลเมตร เดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชุมพร ๖๐ กิโลเมตร ถนนเป็นดินลูกรัง

จำนวนประชากร
มีประชากรจำนวน ๑๔๘ ครัวเรือน จำนวน ๗๐๐ คน เป็นชาย ๓๓๗ คน เป็นหญิง ๓๖๓ คน

การประกอบอาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนกาแฟ และสวนผลไม้

ผู้นำหมู่บ้าน
นายสุนันท์ เมืองทวี กำนัน
นายอมร เกตุรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน

ข้อมูลหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านแพรกแห้ง มีประชากร ๙๐๐ คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ นับถือศาสนาพุทธ
การคมนาคม อยู่ห่างจากหมู่บ้านวนสามัคคี ๑๐ กิโลเมตร ถนนเป็นดินลูกรังบดอัด ใช้เวลาเดินทาง ๒๐ นาท ี

ปัญหาของหมู่บ้าน
เส้นทางจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวนสามัคคีเข้าไปในหมู่บ้านแพรกเนียง มีลำคลองตัดผ่านถนน ๓ จุด ในฤดูฝนประชาชนจะได้รับความเดือดร้อนในการสัญจร นักเรียนไม่สามารถเดินทางไปโรงเรียนได้ เนื่องจากระดับน้ำในลำคลองขึ้นสูงมาก

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวนสามัคคี เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๑ จังหวัดชุมพร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านวนสามัคคี ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด วันที่ ๑๖ พฤษภาคม
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด วันที่ ๑ พฤศจิกายน

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ประชาชนในพื้นที่
    ๒. ห้องเรียนชั่วคราว กก.ตชด.ที่ ๔๑
    ๓. โรงอาหาร กก.ตชด.ที่ ๔๑
    ๔. ห้องพยาบาล กก.ตชด.ที่ ๔๑

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๖๔ คน เป็นชาย ๓๕ คน หญิง ๒๙ คน คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑. ด.ต.กระจ่าง สีบุญเอียด
    ปกศ.
    ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.ท.พิชัย สุขศรี
    ม.๖
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๓. ส.ต.ต.ปรีชา สมน้อย
    ปกศ.สูง
    โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา, โครงการฝึกอาชีพ
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๔. ส.ต.ต.สุภักดิ์ อาวุธ
    ปวช.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๕. ส.ต.ต.บุญจริง บุญคุ้มครอง
    ปวช.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๖. ส.ต.ต.บัญชา บุตรสี
    ม.๖
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๗. นางสาวจีรวรรณ สมหวัง
    ม.๖
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๐
    ๑๐
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๓๕
    ๒๙
    ๖๔

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.สุภักดิ์ อาวุธ
    ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน

    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    เกษตรอำเภอสวี
    แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร คือ ลำคลอง
    แหล่งน้ำใช้สำหรับดื่ม คือ น้ำฝน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๓๒.๐๐ ๓๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๖๑.๕๔
    ๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๖๑.๕๔
    ๐.๐๐
      ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ดี
    ปรับปรุง
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕.๐๐
    ๐.๐๐
    ๑๐.๐๐
    ๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔.๘๑
    ๐.๐๐
    ๙.๖๒
    ๔.๘๑
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๒.๐๒
    ๐.๐๐
    ๙.๖๒
    ๔.๘๑
      ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕.๐๐
    ๐.๐๐
    ๑๐.๐๐
    ๕.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔.๕๘
    ๐.๐๐
    ๙.๑๖
    ๔.๕๘
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๑.๔๕
    ๐.๐๐
    ๙.๑๖
    ๔.๕๘
     
    ประเมินผล ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๑.๐๐
    ๑.๐๐
    ๙.๐๐
    ๑๓.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๐.๐๗
    ๐.๙๒
    ๘.๒๔
    ๑๑.๙๐
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๒๕.๑๘
    ๓.๖๖
    ๘.๒๔
    ๑๑.๙๐
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๓๗.๐๐ ๐.๐๐ ๑๐.๐๐ ๑๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๓.๘๘ ๐.๐๐ ๙.๑๖ ๑๓.๗๔
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๘๔.๗๑ ๐.๐๐ ๙.๑๖ ๑๓.๗๔
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖.๘๐ ๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๕๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๖.๓๕ ๐.๐๐ ๑๒๐.๑๙ ๑๒๐.๑๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๔๐.๘๗ ๐.๐๐ ๑๒๐.๑๙ ๑๒๐.๑๙
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๓๑.๕๐ ๐.๐๐ ๒.๐๐ ๖๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๐.๒๙ ๐.๐๐ ๑.๙๒ ๕๗.๖๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๗๕.๗๒ ๐.๐๐ ๑.๙๒ ๕๗.๖๙
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรับปรุง ดี
    ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๖.๐๐ ๐.๐๐ ๑๖.๐๐ ๔๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๖.๓๒ ๐.๐๐ ๑๖.๑๙ ๔๐.๔๙
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๖๕.๗๙ ๐.๐๐ ๑๖.๑๙ ๔๐.๔๙
      ประเมินผล ดี ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้
    มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๗.๕๐ ๐.๐๐ ๑๗.๐๐ ๔๑.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๕.๑๘ ๐.๐๐ ๑๕.๕๗ ๓๗.๕๕
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๖๒.๙๖ ๐.๐๐ ๑๕.๕๗ ๓๗.๕๕
      ประเมินผล ดี ปรับปรุง ปรับปรุง พอใช้
    กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๔๒.๕๐ ๐.๐๐ ๒๕.๐๐ ๓๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๔๓.๐๒ ๐.๐๐ ๒๕.๓๐ ๓๐.๓๖
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๑๐๗.๕๔ ๐.๐๐ ๒๕.๓๐ ๓๐.๓๖
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง พอใช้ พอใช้
    มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๒.๕๐ ๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๔๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๑.๖๓ ๐.๐๐ ๓๘.๔๖ ๔๓.๒๗
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ ๕๔.๐๙ ๐.๐๐ ๓๘.๔๖ ๔๓.๒๗
      ประเมินผล ดี ปรับปรุง พอใช้ พอใช้

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครองนักเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน รวมได้รับเงินค่าอาหารเดือนละ ๖,๙๐๐ บาท และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมสด UHT จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๘๘๔ กล่อง
    ๒. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๓. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๖๕ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่ม วันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมผง ให้นักเรียนดื่มทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี
    ๓. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๐
    ๒๐
    ๒๐
    -
    -
    -
    -
    -
    -

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    -
    -
    -

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๒
    -
    -
    -
    ประถม ๓
    -
    -
    -
    ประถม ๔
    -
    -
    -
    ประถม ๕
    -
    -
    -
    ประถม ๖
    -
    -
    -
    รวม
    ๔๔
    ๔๔
    ๔๔
    -
    -
    -

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๔. นมถั่วเหลืองแลคตาซอย ๑ งวด จำนวน ๓๔ หีบ
    ๕. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๑๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๑ งวด จำนวน ๑๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน ๒๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๓๖)
    (ใต้ ท๑ ส๖๕๒๖๒ ๒๕๔๐)