trad

sakraw

kanjanaburi

prachuap

surin
ubon
amnatcharoen
yaso
mukdahran
nakhonpranom

udon


phitsanulok
uttaradit
nan
chiangrai

chiangmai
maehongson
tak


surat

nakhonsri






srisagad
srisagad
nakornnayok
ความเป็นมา
จากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริ ให้ดำเนินโครงการเกษตร เพื่ออาหารกลางวันขึ้นในโรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดนซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดารตามแนวชาย แดนทั่วประเทศ เพื่อเป็นการช่วย แก้ไขปัญหาการขาดสารโปรตีน และพลังงานในวัยเด็กเรียนทาง หนึ่งนั้น ผล การดำเนินงานโครงการดังกล่าว สามารถช่วยลดอัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่า เกณฑ์เด็ก ของนักเรียนลงเหลือร้อยละ ๑๖.๘ ในช่วงต้นปี๒๕๓๙ เมื่อเทียบกับเป้าหมายของแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริพ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๘ (ร้อยละ๑๐)และแผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๗ (ร้อยละ ๗) จะเห็นได้ว่าปัญหาการขาดสารอาหารในเด็กเรียนในพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้ยังสูงอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงรากฐานของภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยของบุคคลในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่พอดี ทั้งนี้เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการ คมนาคม อีกทั้งบางพื้นที่ก็ยังไม่ปลอดภัย จึงทำให้บริการขั้นพื้นฐานต่าง ๆ รวมทั้งบริการสาธารณสุขเข้าไปไม่ถึง ในทางกลับกันประชาชนที่อาศัยอยู่ตาม พื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้มีโอกาสในการพัฒนาด้อยว่าที่อื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจึงมีพระราฃ ดำริให้ดำเนินโครง การส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดารขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๕๓๙ เพื่อช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการได้เต็มศักยภาพ เป็นคนที่มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีซึ่งจะเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประะเทศ ต่อไป ทั้งนี้เพราะการที่คนเรา จะมีภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยดีนั้น จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา นั่นคือแม่จะต้อง มีภาวะโภชนาการและ สุขภาพอนามัยดีด้วย ถ้าแม่ขาดสารอาหารก็จะส่งผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิด ออกมาทั้ง ด้านการเจริญเติบโต และพัฒนาการของร่างกายและสมองได้

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมให้ หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กทารกแรกเกิด จนถึงอายุ๓ ปีที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ได้รับบริการที่เหมาะสม และได้รับ ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ เพื่อช่วย ให้แม่มีภาวะโภชนาการและ สุขภาพอนามัยที่ดีเด็กเกิดรอด มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ได้เต็ม ศักยภาพ

เป้าหมาย

๑.ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เหลือไม่เกินร้อยละ ๑๐
๒.อัตราตายทารกแรกกำเนิด ๑ ไม่เกิน ๑๐ ต่อ ๑๐๐๐การเกิดทั้งหมด
๓.อัตราตายทารก ๒ ไม่เกิน ๒๑ ต่อ ๑๐๐๐ การเกิดมีอาชีพ
๔.ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัมไม่เกินร้อยละ ๗
๕.เด็ก๐-๓ปีมีอัตราการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานอายุน้ำหนักส่วนสูง น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
๖.เด็ก ๐-๓ ปีมีพัฒนาการตามวัยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐

กิจกรรมสำคัญ

๑.การให้บริการดูแลอนามัยแม่และเด็กขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวทางในการดำเนิน
กิจกรรมดังนี้
๑.๑แสวงหาคนในพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ เช่นครู อาสาสมัคร
ที่อ่านหนังสือและเขียนหนังสือได้เป็นอย่างดี เป็นต้น
๑.๒อบรมผู้ให้บริการ ทั้งด้านความรู้วิธีการและเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ให้บริการงานอนามัยแม่และเด็ก
๑.๓มีการประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการปฏิบัติงานและ
การส่งต่อ
๑.๔สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการให้บริการ
๑.๕อบรมผดุงครรภ์โบราณเพื่อให้สามารถทำคลอดได้อย่างถูกต้อง
๒.การให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
โดยมีแนวทางในการดำเนินกิจกรรมดังนี้
๒.๑อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องอนามัยแม่และเด็ก
๒.๒รณรงค์ให้ประชาชนร่วมดูแลแม่และเด็กทั้งในครอบครัวของตนเอง
และชุมชน
๓.การสนับสนุนอาหารเสริมและยาที่จำเป็นแก่แม่และเด็ก
๔.การศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีการในการบริการที่เหมาะสมต่อขนบธรรมเนียม
ประเพณีของกลุ่มชนในบางพื้นที่ได้แก่ชาวไทยภูเขาและชาวไทยมุสลิม

แหล่งอ้างอิง: สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒)