ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันจำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ หมู่ที่ ๘ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ราษฎรบ้านป่าไม้ และนายมเฑียน มะลิทอง หัวหน้าโครงการป่าไม้ ร่วมกับ พ.ต.ท.จรูญ น่วมโพธิ์ สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำหนังสือถึง นายสว่าง มุกสิสาร นายอำเภอบุณฑริก โดยนายสว่าง มุกสิสาร ได้ทำหนังสือถึงกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ เพื่อขอรับการจดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้น กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ ได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบุณฑริก, สำนักงานการประถมจังหวัดอุบลราชธานี ตามลำดับ
เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ ได้อนุมัติให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้น กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ ได้ร่วมกับราษฎรบ้านป่าไม้ ทำการก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง โดยได้รับการบริจาคค่าวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง จากหัวหน้าหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีครูตำรวจตระวนชายแดน จำนวน ๕ นาย
เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ผศ.สวันต์ พรมบุญ ได้นำคณะนักศึกษาจากสถาบันราชภัฎจันทร์เกษม จำนวน ๓๘ คน ออกค่ายอาสาพัฒนา ทำการก่อสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด ๖x๖ เมตร จำนวน ๗ ห้องเรียน ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ และวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้ทำพิธีรับมอบอาคารเรียยนให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ โดยใช้ชื่ออาคารว่า "อาคารยอดโพธิ์ทอง ๒" โดยมี พ.ต.อ.สุทิน เขียวรัตน์ รองผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค ๒ เป็นประธานในพิธี

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จังหวัดอุบลราชธานี เปิดทำการสอนตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านป่าไม้ บ้านหนองเรือ และบ้านป่าแขม ดำเนินการสอนเป็น ๓ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๒ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ สิงหาคม ๒๕๓๗ ถึง ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๓ เปิด ๑ ธันวาคม ถึง ๒๕ มีนาคม ๒๕๓๘

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๘๖ คน และครูตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นาย ในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๙๑ คน เป็นชาย ๕๗ คน หญิง ๓๔ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ ทำหน้าที่
    ๑) จ.ส.ต.วราวุธ พรมทอง คบ. ครูใหญ่
    ๒) ส.ต.ท.ไพทูรย์ คำงูเหลือม อคว. โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๓) ส.ต.ต.อเนก คำภิมูล น.บ. โครงการนักเรียนในพระราชนุเคราะห์
    ๔) ส.ต.ท.ทัศนัย นามเรืองศรี ปวช. โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๕) ส.ต.ต.ทองจุน สังแก้ว ม.๖ โครงการฝึกอาชีพ
    ๖) ส.ต.ต.ธีระชัย กลิ่นโกสุม ม.๖ โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๗) พลฯ สุวิทย์ เภาว์ทุมมา ว.ทบ. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ๘) พลฯ อมรชัย ธรรมศิลา ว.ทบ. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๔
    ๑๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    ๑๕
    รวม
    ๕๗
    ๓๔
    ๙๑

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริฯ ขึ้นในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๓๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้ ี

    งานด้านอาหารและโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ พลฯ อมรชัย ธรรมศิลา
    ผู้ดำเนินการโครงการ คือ เกษตรอำเภอบุณฑริก, เกษตรจังหวัด และวิทยาลัยเกษตรกรรมอุบลราชธานี

    ผลของการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน มีดังนี้
    กิจกรรม
    ผลการดำเนินงาน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ๑. การปลูกพืชผัก ผักบุ้งจีน, มะเขือเปราะ, ถั่วฝักยาว
    ผักชีหอม, ข่า ตะไคร้, ตำลึง,
    หอม, คะน้า, ผักกาด, เห็ดนางฟ้า
    -เกษตรอำเภอบุณฑริก,
    -วิทยาลัยเกษตรกรรมอุบลราช
    ธานี
    ๒. การปลูกไม้ผล มะม่วง, มะขามหวาน, ขนุน,
    ฝรั่ง
    -เกษตรอำเภอบุณฑริก,
    จังหวัด
    -วิทยาลัยเกษตรกรรมอุบลราชธานี
    ๓. การเลี้ยงสัตว์ ไก่พันธุ์ไข่, ไก้พันธุ์เนื้อ, ไก่
    พันธุ์พื้นเมือง, ปลาดุก, ปลานิล
    ผึ้ง, แพะ
    -วิทยาลัยเกษตรกรรมอุบลราช
    ธานี - ประมง

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๐)
    (อีสาน ท๑ ส๖๕๒๔ ๒๕๓๗)