ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้

เดิมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ ตั้งอยู่ที่บ้านป่าไม้ หมู่ที่ ๘ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี โดยหมู่บ้านป่าไม้ ตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๔ ตามโครงการพัฒนาป่าบุณฑริก ในรูปหมู่บ้านป่าไม้ จัดระบบหมู่บ้านออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีหัวหน้าเป็นผู้รับผิดชอบ มีราษฎรจำนวน ๒๒๐ ครอบครัว ขณะนั้นหมู่บ้านไม่มีโรงเรียนให้บุตรหลานได้เรียนหนังสือ
ดังนั้นในปี ๒๕๓๕ คณะกรรมการหมู่บ้านร่วมกับ นายมณเฑียร มะลิทอง หัวหน้าโครงการพัฒนาป่าบุณฑริก, พันตำรวจโทจรูญ น่วมโพธิ์ สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรอำเภอบุณฑริก และนายสว่าง มุสิกะสาร นายอำเภอบุณฑริก (ในขณะนั้น) ได้ทำหนังสือถึงกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอให้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นที่บ้านป่าไม้ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จึงได้เสนอขออนุมัติไปยังหน่วยเหนือ
วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ อนุมัติให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ ตามหนังสือสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่ ศธ ๑๔๐๔ / ๒๒๗๕๕ ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ราษฎรบ้านป่าไม้ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๓ ห้องเรียน ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีพื้นที่ ๕๖ ไร่ ๒ งาน ๗๑ ตารางวา เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๖ นายสว่าง มุสิกะสาร นายอำเภอบุณฑริก เป็นประธานในพิธีเปิด ทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๑๐๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดนทำการสอน จำนวน ๕ นาย
วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๖ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วสันต์ พรหมบุญ จากวิทยาลัยครูจันทรเกษมกรุงเทพมหานคร ได้นำนักศึกษาจำนวน ๓๘ คน ออกค่ายอาสาพัฒนาและทำการก่อสร้างอาคารเรียนถาวร จำนวน ๑ หลัง ๗ ห้องเรียน โดยมีนายสุชัย – นางกุหลาบ ยอดโพธิ์ทอง เป็นผู้มอบและพันตำรวจเอกสุทิน เขียวรัตน์ รองผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๒ รักษาการในตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ เป็นผู้รับมอบ และขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุประเภทสิ่งก่อสร้างของรัฐที่อาศัยปลูกอยู่บนที่ดินที่มิใช่ที่ราชพัสดุ เป็นลำดับที่ อบ.๑๑๔๗
เดือนกันยายน ๒๕๓๗ คณะกรรมการโรงเรียน, ผู้ปกครอง, คณะครู และชุดช่าง จากกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒๕ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ได้ร่วมกันก่อสร้างโรงอาหาร จำนวน ๑ หลัง และอาคารร้านสหกรณ์ จำนวน ๑ หลัง โดยใช้วัสดุที่รื้อจากอาคารเรียนชั่วคราว โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์บางส่วน
วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๓๗ นายวรินทร์ ยอดโพธิ์ทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยกาญจนาภิเษก, นายวิสูตร พึ่งบุญ และนายสรณะ กองกุลศิริ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี นำนักศึกษาจำนวน ๔๙ คน ออกค่ายอาสาพัฒนาและก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง, เสาธงชาติและสนามเด็กเล่น ๑ แห่ง โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้าง และทำพิธีมอบอาคาร เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๓๗
ต่อมาได้ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ ประเภทสิ่งปลูกสร้างของรัฐที่อาศัยอยู่บนที่ดิน ที่มิใช่ที่ราชพัสดุ
วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียน และทอดพระเนตรผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ
วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๓ จังหวัดอุบลราชธานี ประกาศเรื่องการจัดตั้งหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ จึงขึ้นอยู่ในเขตท้องที่ บ้านเจริญชัย หมู่ที่ ๑๔ ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๕๖ ไร่ ๒ งาน ๗๑ ตารางวา

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าไม้ สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จังหวัดอุบลราชธานี
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็ก ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านเจริญชัย ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๑๐๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นาย
    ปัจจุบันปีการศึกษา ๒๕๔๓ มีนักเรียน ๑๑๙ คน เป็นชาย ๖๖ คน หญิง ๕๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๐ นาย

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๔
    ๑๐
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๓
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    ๑๓
    รวม
    ๖๖
    ๕๓
    ๑๑๙

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ท.สุวิทย์ เถาว์ทุมมา
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมปศุสัตว์, กรมประมง และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร บ่อน้ำโรงเรียน
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง / สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครู, นักเรียน และผู้ปกครอง
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๕๗ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และปีการศึกษา ๒๕๔๓ ได้รับนมผงเป็นอาหารเสริมจากสำนักพระราชวัง
    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ คือ ชงนมผงให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันเปิดเรียน

    ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๒
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๑
    ๒๑
    ๑๘
    ๑๔.๒๙
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๔
    ๑๔
    ๑๓
    ๗.๑๔
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๑
    ๓๑.๒๕
    ปรับปรุง
    ประถม ๔
    ๒๑
    ๒๑
    ๑๘
    ๑๔.๒๙
    ดี
    ประถม ๕
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๗
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๙๔
    ๙๔
    ๘๕
    ๙.๕๗
    ดีมาก

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๐)