|
ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลา
หมู่ที่ ๕ บ้านปากลา ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
เดิมบ้านปากลาไม่มีโรงเรียนให้บุตรหลานได้เรียนหนังสือ เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนซึ่งห่างไกลคมนาคมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงซึ่งกั้นระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไม่มีถนนเข้าหมู่บ้าน ต้องใช้การสัญจรทางเรือตามลำแม่น้ำโขงเท่านั้น ราษฎรบ้านปากลาได้ร่วมกันทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปยัง กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๓ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบัน คือกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ) เพื่อให้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ต่อมากรมตำรวจได้อนุมัติให้จัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลา เมื่อ วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕ ราษฎรบ้านปากลาและกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๓ ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น จำนวน ๑ หลัง โดยได้รับบริจาคที่ดินจากราษฎร จำนวนทั้งสิ้น ๖ ไร่
ปี พ.ศ.๒๕๓๔ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ ร่วมกับภาคเอกชน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สร้างอาคารประกอบให้กับโรงเรียน จำนวน ๗ หลัง ได้แก่อาคารโรงอาหาร, บ้านพักครู, อาคารร้านสหกรณ์, ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน, ห้องน้ำห้องส้วม, ห้องสมุด และอาคารเรียน
ปี พ.ศ.๒๕๓๘ พีระยานุเคราะห์มูลนิธิ บริจาคเงินสร้างบ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง มูลค่า ๓๓๐,๐๐๐.-บาท ( สามแสนสามหมื่นบ้านถ้วน )
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียน และทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ จำนวน ๔ ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๓๕
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๖
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
ครั้งที่ ๔ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
พ.ศ.๒๕๔๒ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ ก่อสร้างอาคารห้องพักครู จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาท ( แปดหมื่นบาทถ้วน )
วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ บริษัทโตโยต้าอุบลราชธานี จำกัด และสโมสรไลออนส์ราชธานีศรีวนาลัย ร่วมกันบริจาคเงิน และวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง และอาคารศูนย์พัฒนาเด็กวัยเตาะแตะ จำนวน ๑ หลัง พร้อมทั้งย้ายห้องน้ำห้องส้วมจากเดิมไปสร้างใหม่เพิ่มเป็น ๔ ห้อง
วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ชมรมแสงส่องหล้า และ บริษัทคาลิปโซ่เอนเตอร์เทน-เมนต์ จำกัด ได้บริจาคเงินก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน ๑ หลัง และอาคารโรงอาหาร จำนวน ๑ หลัง รวมมูลค่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท ( สองแสนบาทถ้วน )
เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๓ ชมรมแสงส่องหล้า และ บริษัท คาลิปโซ่เอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ทำพิธีอัญเชิญตราสัญลักษณ์พระนามาภิไธยย่อ "สธ" มาประดิษฐานบนอาคารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนแสงส่องหล้า ๗ และอาคารแสงส่องหล้า ทำการส่งมอบอาคารทั้ง ๒ หลัง โดยมี ฯพณฯ หม่อมราชวงศ์ อดุลกิติ์ กิติยากร องคมนตรี เป็นประธานในพิธีอัญเชิญตราสัญลักษณ์ และเปิดอาคาร พันตำรวจเอก ไพบูลย์ สอางชัย ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ เป็นผู้รับมอบอาคาร
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๖ ไร่
|
ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปากลา สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จังหวัดอุบลราชธานี
โรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี ๒๕๐๕ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านปากลา ปัจจุบันดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิดเรียน ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
ภาคเรียนที่ ๒ เปิดเรียน ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๔
|
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
ปัจจุบันปีการศึกษา ๒๕๔๓ มีนักเรียน ๖๒ คน เป็นชาย ๒๘ คน หญิง ๓๔ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๐ นาย
|
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓
ชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
| ๕
| ๙
| ๑๔ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๔
| ๒
| ๖ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| ๔
| ๖
| ๑๐ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๓
| ๕
| ๘ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| ๓
| ๔
| ๗ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๓
| ๔
| ๗ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| ๖
| ๔
| ๑๐ |
รวม
| ๒๘
| ๓๔
| ๖๒ |
การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒)
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๖ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๑๙ คน
|
การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ด.ต. เกียรติสมิง ชาญจิตร
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ กรมส่งเสริมการเกษตร, กรมปศุสัตว์, กรมประมง และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี
แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร บ่อน้ำบาดาลของกรมทรัพยากรธรณี
แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง / สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครู, นักเรียน และผู้ปกครอง
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๕๘
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน
การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
- นมผงชงให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันเปิดเรียน ช่วงเช้า และเย็น
- นมสด UHT แจกให้เด็กนำไปดื่มที่บ้านในช่วงปิดภาคเรียน
- นมผงให้เด็กนักเรียนที่ขาดสารอาหารไปดื่มในวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์
|
ผลการดำเนินโครงการ
อัตราการขาดสารอาหารของเด็กนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๒
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| ระดับ๑
| ระดับ๒
| ระดับ๓
| รวม
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
เด็กเล็ก
| ๑๔
| ๑๔
| ๑๓
| ๐
| ๑
| ๐
| ๑
| ๗.๑๔
| ดีมาก |
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
ประถม ๑
| ๖
| ๖
| ๕
| ๑
| ๑๖.๖๗
| ดี |
ประถม ๒
| ๑๐
| ๑๐
| ๘
| ๒
| ๒๐.๐๐
| พอใช้ |
ประถม ๓
| ๘
| ๘
| ๗
| ๑
| ๑๒.๕๐
| ดี |
ประถม ๔
| ๗
| ๗
| ๖
| ๑
| ๑๔.๒๙
| ดี |
ประถม ๕
| ๗
| ๗
| ๖
| ๑
| ๑๔.๒๙
| ดี |
ประถม ๖
| ๑๐
| ๑๐
| ๙
| ๑
| ๑๐.๐๐
| ดี |
รวม
| ๔๘
| ๔๘
| ๔๑
| ๗
| ๑๔.๕๘
| ดี |
|