ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่าแสนคูณระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่าแสนคูณ

ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๕ โดยนายยุ้ย คันที และนางแหล้ ยานัง บริจาคที่ดิน ๖ ไร่ ๓ งาน และปี พ.ศ. ๒๕๓๔ พ.ต.ต.วิบูลย์ มุขพรหม ผู้บังคับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒๕ ซื้อที่ดินบริจาคเพิ่มอีก ๕ ไร่ การก่อสร้างอาคารเรียนได้รับบริจาคทุนทรัพย์ค่าวัสดุก่อสร้างจากบริษัทเฮงเค็ลไทย จำนวน จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท และธนาคารแห่งประเทศไทยบริจาคทุนทรัพย์ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก ๓ ห้องเรียน เป็นเงิน ๑๓,๐๐๐ บาท จึงได้อาคารเรียนจำนวน ๑ หลัง ขนาด ๘ x ๓๖ เมตร
เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตรนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโครงการตามพระราชดำริ และทอดพระเนตรกิจกรรมของโรงเรียน
วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๓๗ สโมสรไลอ้อนส์มหาจักร กรุเทพฯ ๑๑ ได้บริจาคทุนทรัพย์ให้กับชมรมอาสาพัฒนาชนบท สถาบันราชภัฏจันทรเกษม เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียน โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วสันต์ พรหมบุญ ได้นำนักศึกษาชมรมอาสาพัฒนาชนบท ไปทำการก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม ๑ หลัง ขนาด ๘ x ๒๖ เมตร ๖ ห้องเรียน
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๑ ไร่ ๓ งาน

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เดิมมีราษฎรจากหมู่บ้านหนองโพน ตำบลโอมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จำนวน ๒ ครอบครัว อพยพเข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมฝั่งลำโดมใหญ่ สาเหตุเนื่องจากหนีโรคระบาดที่เกิดจากหมู่บ้านหนองโพน และต่อมาได้มีญาติ ๆ ของผู้อพยพมาก่อนจากหมู่บ้านเดิมอพยพไปอยู่เพิ่มอีก ๔๒ หลังคาเรือน และได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านท่าแสนคูณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓
หมู่บ้านท่าแสนคูณเป็นพื้นที่ราบลุ่ม – ดอน ประชาชนมีเชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ ขนบธรรมเนียมประเพณี ไทยอีสานท้องถิ่น สาธารณูปโภคมีแต่ไฟฟ้า

การคมนาคม
รถยนต์สามารถเข้า – ออกได้ตลอดปี เป็นถนนลูกรัง

จำนวนประชากร
ประชากรจำนวน ๒๗๐ คน เป็นชาย ๑๐๐ คน หญิง ๑๗๐ คน แยกเป็น ๕๕ หลังคาเรือน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา มีรายได้เฉลี่ยประมาณปีละ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ บาท/คน

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายสัญญา ศรดำ
ผู้ใหญ่บ้าน นายเทีย กัดทัง

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านเปือย ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน มีประชากร ๕๘๐ คน เป็นชาย ๒๙๖ คน หญิง ๒๕๔ คน ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายลี พิมพ์เสน
บ้านกุดเชียงมุน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน มรประชากร ๑,๑๕๐ คน เป็นชาย ๕๘๐ คน หญิง ๕๗๐ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายผสม ติวงษ์
บ้านหนองโพน ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน มีประชากร ๑,๑๒๕ คน เป็นชาย ๕๘๔ คน หญิง ๕๔๑ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายผุ ยานัง
บ้านโนเจริญ ตำบลตูม อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี มีประชากร ๗๘๘ คน เป็นชาย ๔๓๑ คน หญิง ๓๕๗ คน ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายสงัด มะศรี

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
ขาดแคลนน้ำบริโภคและน้ำใช้ในการเกษตรในหน้าแล้ง ต้องการอาชีพเสริมที่มั่นคง

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านท่าแสนคูณ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จังหวัดอุบลราชธานี
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านท่าแสนคูณ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๒

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่ ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน หลังที่ ๑ บริษัทเฮงเค็ลไทย จำกัด
    ๒. อาคารเรียน หลังที่ ๒ สโมสรไลอ้อนส์มหาจักร กรุงเทพมหานคร ๑๑
    ๓. อาคารเอนกประสงค์ โรงอาหาร กก.ตชด.๒๒
    ๔. ห้องน้ำ – ห้องส้วม สมาคมนักแสวงบุญนครสวรรค์
    ๕. ร้านค้าสหกรณ์ ชาวบ้าน และ กก.ตชด.๒๒

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๔ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๖๙ คน เป็นชาย ๓๗ คน หญิง ๓๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย ครูช่วยสอน ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑) จ.ส.ต.ศรชัย แจ่มพันธ์ ค.บ. ครูใหญ่
    ๒) จ.ส.ต.ประจักษ์ จำนงค์สัตย์ ม.ศ.๕ โครงการส่งเสริมโภชนาการและ
    สุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่น
    ทุรกันดาร
    ๓) จ.ส.ต.สมบูรณ์ กองเงิน อ.ว.ท. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๔) จ.ส.ต.พูลทวี วงษ์ขันธ์ ปวช. โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๕) จ.ส.ต. สันติ ไชยรัตน์ ค.บ. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อม
    ๖) จ.ส.ต.นพรัตน์ คำเหลา น.บ. โครงการนักเรียนในพระราชา
    นุเคราะห์
    ๗) จ.ส.ต.เชี่ยวชาญ เชื้อแก้ว ม.ศ.๕ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๘) จ.ส.ต.ปรีชา เขียนออก ม.ศ.๕ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๙) ส.ต.ท.สมบัติ สุทโธ ค.บ. โครงการฝึกอาชีพ
    ๑๐) น.ส.พัชรภา โสติ อ.ศศ. สอนชั้นอนุบาล

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๓๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    รวม
    ๓๗
    ๓๒
    ๖๙

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๔๐)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๑๙ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๑๖ คน

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตารมพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.ปรีชา เขียนนอก
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานเกษตรอำเภอน้ำยืน สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีอุบลราชธานี และศูนย์ประมงน้ำจืดจังหวัดอุบลราชธานี
    แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร สระน้ำโรงเรียน และสระน้ำ
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม คือ ถังเก็บน้ำฝน และสระน้ำ
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๒๒%
    โรงเรียนที่รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๑ ดังนี้
    ๑. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
    ๓. นมสด UHT จาก กก.ตชด.๒๒ จำนวน ๑.๓๐๐ กล่อง

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
    ๒. แป้งถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์
    ๓. นมสด UHT ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่มวันละ ๑ กล่อง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๓
    -
    -
    ๑๓.๓๓
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๒
    ๒๐
    พอใช้
    ประถม ๒
    ๕๐
    ปรับปรุง
    ประถม ๓
    ๑๒.๕
    ดี
    ประถม ๔
    ๔๒.๘๖
    ปรับปรุง
    ประถม ๕
    ๑๔.๒๕
    ดี
    ประถม ๖
    ๑๑
    ๑๑
    ๑๑
    ๙.๐๙
    ดีมาก
    รวม
    ๕๔
    ๕๔
    ๔๒
    ๑๒
    ๒๒.๒๒
    พอใช้

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๔๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๗๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๘๒)
    (อีสาน. ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๔๑)