|
ประวัติโรงเรียนบ้านโหง่นขาม
โรงเรียนบ้านโหง่นขาม ตั้งอยู่
หมู่ที่ ๔ บ้านโหง่นขาม ตำบลหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่
จังหวัดอุบลราชธานี
หมู่บ้านนี้ตั้งมานานประมาณ ๙๐ ปี ไม่เคยมีโรงเรียน ประชาชนในหมู่บ้านอ่านเขียนหนังสือไม่ได้
เมื่อปีการศึกษา ๒๕๑๔ ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในหมู่บ้านได้ยื่นคำร้องขอต่อนายธงชัย
กองเจริญ นายอำเภอศรีเมืองใหม่ ชาวบ้านจึงช่วยกันหาไม้มาก่อสร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราว
ขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ทางโรงเรียนจัดหาสังกะสีให้จำนวน๔๐๐
แผ่น
เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๕ โดยสอนตามร่มไม้และศาลากลางบ้าน
เนื่องจากอาคารยังสร้างไม่เสร็จ
อนึ่งการรับเด็กเข้าเรียนแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ เด็กในเกณฑ์และเด็กนอกเกณฑ์
มีจำนวน ๒๕ คน เป็นชาย ๑๔ คน หญิง ๑๐ คน เด็กนอกเกณฑ์
ชาย ๔ คน หญิง ๘ คน มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป ในปี
พ.ศ. ๑๕๑๗ ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ ขนาด ๒
ห้องเรียน ในปี พ.ศ. ๑๕๒๖ ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครูหลังที่
๑ แบบจังหวัด ในปีงบประมาณ ๒๕๒๒ ได้รับงบประมาณจัดสร้างบ้านพักครูหลังที่สอง
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
ได้จัดประกวดโรงเรียนกันดาร ปรากฏว่าโรงเรียนบ้านโหง่นขามเป็นโรงเรียนกันดารที่สุด
ของจังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่ทั้งหมด ๕๒ ไร่
|
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
บ้านโหง่นขามตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีเมืองใหม่
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๕๐ กิโลเมตร สูงกว่าระดับน้ำทะเล
๒๐๐ ฟุต
|
อาณาเขต
ทิศเหนือ | ติดต่อ | เขตตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร
|
ทิศใต้ | ติดต่อ | บ้านหนามแท่ง อำเภอศรีเมืองใหม่
|
ทิศตะวันออก | ติดต่อ | บ้านทุ่งหลวง อำเภอศรีเมืองใหม่
|
ทิศตะวันตก | ติดต่อ | บ้านดงนา อำเภอศรีเมืองใหม่ |
|
การคมนาคม
บ้านโหง่นขามไม่มีถนนถาวรที่รถยนต์สามารถเดินทางได้สะดวก
ส่วนมากใช้เส้นทางเดินเท้าและจักรยานยนต์ไปตามไหล่เขา
ระยะทางประมาณ ๘ กิโลเมตร และทางเรือจากบ้านสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร
ไปตามลำน้ำโขงถึงบ้านดงนาระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร เดินต่อจากบ้านดงนาถึงบ้านโหง่นขาม
ประมาณ ๖ กิโลเมตร
|
จำนวนประชากร
มีราษฎรทั้งสิ้น ๓๔๐ คน เป็นชายจำนวน ๑๗๔ คน หญิงจำนวน ๑๖๖ คน
|
การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร (ทำนา) มีรายได้เฉลี่ย ๕,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี
|
ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายแถม สีหาเวช
ผู้ใหญ่บ้าน นายชื่น ขันธิวัตร
|
ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. น้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค
๒. ต้องการพื้นที่ทำกิน
๓. เส้นทางคมนาคม และสาธารณูปโภค ไฟฟ้า
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านโหง่นขาม เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕
โดยรับเด็กจากหมู่บ้านโหง่นขาม ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน
ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๐
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ถึง ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๑
|
อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทาโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้
|
อาคารสถานที่
| ผู้ให้การสนับสนุน |
๑) อาคารเรียน
| องค์การบริการส่วนจังหวัด |
๒) อาคารแบบ ๑๐๒/๒๖
| สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ |
๓) โรงอาหาร
| ค่ายอาสาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ |
๔) บ้านพักครู ๒ หลัง
| สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ |
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๖ คน
ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๘๐ คน เป็นชาย ๔๘ คน หญิง ๓๒ คน มีครู ๔ คน นักการภารโรง ๑ คน
|
ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ - ชื่อ - นามสกุล
| คุณวุฒิ
| รับผิดชอบโครงการฯ |
๑) นายรังสรรค์ เสนาพรหม
| ศษ.บ.
| ครูใหญ่ |
๒) นายแสงอาทิตย์ ศุภษร
| ศศ.บ.
| โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โครงการฝึกอาชีพ |
๓) นายประจักษ์ รุ่งแสง
| ค.บ.
| โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ |
๔) นายอุทัย พละศักดิ์
| วทบ.
| โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
ชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
| ๑๔
| ๙
| ๒๓ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๑๐
| ๑๒
| ๒๒ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| -
| -
| - |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๑๑
| ๓
| ๑๔ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| -
| -
| - |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๑๓
| ๘
| ๒๑ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| -
| -
| - |
รวม
| ๔๘
| ๓๒
| ๘๐ |
การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๙)
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ศึกษาต่อ
จำนวน ๒๒ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๓ คน ดังนี้
- ปีการศึกษา ๒๕๓๗ ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์อำนาจเจริญ
จำนวน ๑๑ คน
- ปีการศึกษา ๒๕๓๙ ศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์อำนาจเจริญ
จำนวน ๘ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๓ คน
หมายเหตุ เนื่องจากโรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบ
๒ กลุ่มอายุใน ๑ ชั้นเรียน ทำให้มีนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ ปีเว้นปี
|
โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
และโรงเรียนที่อยู่ในโครงการตามพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
(๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้
|
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายแสงอาทิตย์ ศุภษร
หน่วยงานที่สนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอศรีเชียงใหม่
แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร จากบ่อบาดาล
แหล่งน้ำสำหรับดื่ม จากบ่อบาดาล
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูเวร และนักเรียน
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๕๐
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ ดังนี้
๑. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๓๕ กิโลกรัม
๒. นมสดUHT จาก เงินอุดหนุน จำนวน ๘,๐๐๐ กล่อง
|
การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
๑. แป้งถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันอังคาร วันพฤหัสบดี
๒. นมสด UHT ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวัน
|
อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๑)
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| ระดับ๑
| ระดับ๒
| ระดับ ๓
| รวม
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
เด็กเล็ก
| ๒๓
| ๒๓
| ๒๑
| ๒
| ๐
| ๐
| ๒
| ๘.๖๙
| ดีมาก |
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
ประถม ๑
| ๒๒
| ๒๒
| ๑๙
| ๓
| ๑๓.๖๓
| ดี |
ประถม ๒
| -
| -
| -
| -
| -
| - |
ประถม ๓
| ๑๔
| ๑๔
| ๑๓
| ๑
| ๗.๑
| ดีมาก |
ประถม ๔
| -
| -
| -
| -
| -
| - |
ประถม ๕
| ๒๑
| ๒๑
| ๑๙
| ๒
| ๙.๕๒
| ดีมาก |
ประถม ๖
| -
| -
| -
| -
| -
| - |
รวม
| ๕๗
| ๕๗
| ๕๑
| ๖
| ๑๐.๕๒
| ดี |
รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๙
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๔๐
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๖ กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
|
|