|
ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร ก่อตั้งเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยความร่วมมือจากราษฎร ในหมู่บ้านที่มองเห็นความสำคัญของการศึกษาของลูกหลานให้มีความรู้ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้
แต่เดิมนักเรียนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปเรียนหนังสือที่หมู่บ้านอื่น
ใช้ระยะทางในการเดินทางไปเรียนหนังสือถึง ๗ กิโลเมตร
ซึ่งเป็นการลำบากในการเดินทาง คณกรรมการหมู่บ้านได้เดินทางไปติดต่อขอรับความช่วยเหลือและได้พบ
พ.ต.ท.สิทธิพล พื้นแสน ผบ.ร้อย ตชด. ๒๒๖ ได้ดำเนินการประสานกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
เขต ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ กรมตำรวจได้มีคำสั่งให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
เขต ๓ ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร
โดยได้รับบริจาคที่ดินจากหัวหน้าสวนป่าอำเภอพิบูลมังสาหาร
ในพื้นที่ ๒๕ ไร่ ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต
๓ ได้ส่งข้าราชการตำรวจตระเวนชายแดนเข้ามาปฏิบัติ หน้าที่เป็นครูสอน
จำนวน ๖ นาย คือ
๑. จ.ส.ต.สังกา บุญครอง ครูใหญ่
๒. จ.ส.ต.วิทยา พันธ์เสา ครูผู้ช่วย
๓. จ.ส.ต.สมใจ ศรีสง่า ครูผู้ช่วย
๔. ส.ต.อ.รามสูร นาภักดี ครูผู้ช่วย
๕. ส.ต.อ.วราวุธ พรหมกอง ครูผู้ช่วย
๖. ส.ต.ต.เชี่ยวชาญ เชื้อแก้ว ครูผู้ช่วย
เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๙ มีนักเรียนทั้งหมด
๙๗ คน เปิดทำการสอนครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.๑ ป.๖
|
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
จัดตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ราษฎรส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอพิบูลมังสาหาร
อำเภอน้ำยืน อำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี
และบางส่วนอพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ
พื้นที่เป็นที่ราบสูง
|
การคมนาคม
หมู่บ้านห่างจากอำเภอสิรินธรประมาณ ๓๕ กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี
ประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร ถนนลาดยางใช้การได้ตลอดปี
|
จำนวนประชากร
บ้านแก่งศรีโคตร มีประชากรจำนวน ๑,๒๐๐ คน เป็นชายจำนวน ๕๙๐ คน หญิง ๖๑๐ คน จำนวน ๒๐๗ ครัวเรือน
|
ข้อมูลด้านการเกษตรของโรงเรียน
พื้นที่โรงเรียนทั้งหมด ๒๕ ไร่
พื้นที่ใช้ในการเกษตร
สภาพดินร่วนปนทราย
แหล่งน้ำบริโภค ได้แก่ น้ำฝน
แหล่งน้ำที่ใช้ในด้านการเกษตรของโรงเรียน ได้แก่ สระน้ำ
มีการประกอบอาหาร ๕ ครั้ง/สัปดาห์
มีการประกอบน้ำนมถั่วเหลืองจากแป้งถั่วเหลือง ๓ วัน/สัปดาห์
พื้นที่ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒,๒๐๐ ไร่ ทำการเกษตร ๑,๘๐๐ ไร่
|
อาณาเขต
ทิศเหนือ จด บ้านห้วยเดื่อ
ทิศใต้ จด บ้านพลาญชัย
ทิศตะวันออก จด ประเทศลาว
ทิศตะวันตก จด เขื่อนสิรินธร
|
จำนวนครัวเรือน
มี ๑๔๕ ครัวเรือน มีจำนวนประชากร ๘๐๘ คน ชาย ๓๙๗ คน หญิง ๔๑๑ คน การใช้ส้วม ๒๙ ครัวเรือน
โรงเรียนประถม ๑ โรง วัด ๑ วัด สถานีอนามัย ๑ แห่ง ศพต. ๑ แห่งองค์กร
ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายฉลาด จินดาศรี
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายคำพูล บุตรดาพงษ์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายอุดร ทรุรมย์
|
การประกอบอาชีพ
ราษฏรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ ทำไร่ รับจ้าง และใช้แรงงานต่างจังหวัดบางฤดูกาล
|
ผู้นำหมู่บ้าน
กำนันชื่อ นาง บุญแต่ง บริบูรณ์
ผู้ใหญ่บ้าน นาย จำลอง กกนอก
|
ข้อมูลหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ ๗ มีประชากร จำนวน ๖๓๐ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นาย ถม ยวนไธสงค์
บ้านภูไทยพัฒนา หมู่ที่ ๙ มีประชากร จำนวน ๑,๒๔๖ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นาย พงษ์ แพงทรัพย์
|
ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
ปัญหาความยากจน สภาพความแห้งแล้ง การฝึกอาชีพเพื่อเป็นรายได้เสริม และแหล่งน้ำเพื่อทำการเกษตร
|
ระบบการศึกษา
จำนวนนักเรียน
ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่
๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีเด็กก่อนวัยเรียนรวมอยู่ด้วย
ปัจจุบันมีนักเรียน ๒๔๐ คน เป็น นักเรียนชาย ๑๐๙ คน นักเรียนหญิง
๑๓๑ คน
|
ชั้น
| นักเรียนชาย
| นักเรียนหญิง
| รวม |
เด็กเล็ก
| -
| -
| - |
ประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๒๑
| ๒๙
| ๕๐ |
ประถมศึกษาปีที่ ๒
| ๑๓
| ๑๕
| ๒๘ |
ประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๒๓
| ๒๗
| ๕๐ |
ประถมศึกษาปีที่ ๔
| ๑๖
| ๑๘
| ๓๔ |
ประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๑๕
| ๑๕
| ๓๐ |
ประถมศึกษาปีที่ ๖
| ๒๑
| ๒๗
| ๔๘ |
รวม
| ๑๐๙
| ๑๓๑
| ๒๔๐ |
จำนวนครู
ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมีครู ตชด. ทำการสอน ๗ นาย และครูช่วยสอน ๑ คน คือ
๑. จ.ส.ต.สมใจ ศรีสง่า ครูใหญ่
๒. ส.ต.อ.แสงทอง คำน้อย ครูผู้ช่วย
๓. ส.ต.ท.เชี่ยวชาญ เชื้อแก้ว ครูผู้ช่วย
๔. พลฯ ฉลอง บัวหาญ ครูผู้ช่วย
๕. พลฯ ปัญญา เสนาโนฤทธิ์ ครูผู้ช่วย
๖. พลฯ อเนก คำภิมูล ครูผู้ช่วย
๗. พลฯ อรรถพล สมบุตร ครูผู้ช่วย
๘. นางสาวปิยะนันท์ บุญล้า ครูช่วยสอน
|
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแก่งศรีโคตร สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๒๒ จังหวัดอุบลราชธานี
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับเด็กจากหมู่บ้านแก่งศรีโคตร
ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๒
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๓
|
อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารเรียนและสิ่งอำนวยความความสะดวก
|
อาคารสถานที่
| ผู้ให้การสนับสนุน |
๑. อาคารเรียนถาวร
| คณะนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง |
๒. อาคารเรียนถาวร
| ชาวบ้านแก่งศรีโคตรร่วมกับครู ตชด. |
๓. อาคารอเนกประสงค์
| กก.ตชด. ๒๒ |
๔. ห้องน้ำ - ห้องส้วม
| กก.ตชด. ๒๒ |
๕. โรงครัว
| ชาวบ้านแก่งศรีโคตรกับครู ตชด. |
๖. บ้านพักครู
| ร้อย ตชด. ๒๒๖ |
จำนวนครู และนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๙๗ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน
๖ นายปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๒) มีนักเรียน๒๓๗ คน ชาย
๑๒๘ คนหญิง ๑๐๙ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน ๑๒ นาย
|
ตารางแสดงจำนวนครู และคุณวุฒิ
ยศ ชื่อ สกุล
| คุณวุฒิ
| รับผิดชอบโครงการฯ |
๑. ด.ต.สุนทร สุภสร
| พ.ม.
| ครูใหญ่ |
๒. ด.ต.ไพศาล ยินดี
| ร.บ.
| โครงการส่งเสริมสหกรณ์ |
๓. จ.ส.ต.บัณฑิต เวฬุวรรณ
| อ.วท.
| โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน |
๔. ส.ต.อ.ถนอม แสนราช
| น.บ.
| โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน |
๕. จ.ส.ต.เชี่ยวชาญ เชื่อแก้ว
| มศ.๕
| โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
โครงการส่งเสริมโภชนาการอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร |
๖. ส.ต.อ.รื่น ชุมจันทร์
| ร.บ.
| โครงการฝึกอาชีพ |
๗. ส.ต.อ.อัมพร พวงศร
| คบ.
| โครงการส่งเสริมคุณภาพทางการศึกษา |
๘. ส.ต.อ.ยุทธนา อ่อนคำผาง
| ม.๓.
| โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ |
๙. ส.ต.ท.ปัญญา เสนาโนฤทธิ์
| ปวช.
| โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา |
๑๐. ส.ต.ท.เสน่ห์ น้ำใจ
| อ.วท.
| โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
๑๑. ส.ต.ท.ประเสริฐ บุญศรี
| ม.๖
| โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน |
๑๒. จ.ส.ต.ศรชัย แจ่มพันธ์
| คบ.
| โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒ ภาคเรียนที่ ๒
ชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
| ๑๙
| ๑๕
| ๓๔ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๒๓
| ๑๐
| ๓๓ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| ๑๖
| ๑๕
| ๓๑ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๑๙
| ๑๔
| ๓ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| ๒๓
| ๒๔
| ๔๗ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| ๑๑
| ๑๔
| ๒๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| ๑๖
| ๑๕
| ๓๑ |
รวม
| ๑๒๖
| ๑๐๘
| ๒๓๔ |
การศึกษาต่อขอนักเรียน และการประกอบอาชีพ (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ - ๒๕๔๐)
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อจำนวน ๓๔ คน ประกอบอาชีพ ๗๑ คน
|
โครงการตามพระราชดำริ ที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔)
ดังต่อไปนี้
|
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๑. พืชผักที่ปลูก ได้แก่ พริก ผักบุ้ง ตำลึง บวบ ถั่วฝักยาว แตงกวา ถั่วลิสง ข้าวโพด
๒. ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ได้แก่ มะม่วงหิมพานต์ ขนุน ไผ่
๓. การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ไก่พื้นเมือง
๔. การเลี้ยงปลา ได้ดำเนินการเลี้ยงปลาในบ่อ ได้แก่ ปลานวลจันทร์ ปลาจีน ปลาตะเพียน จำนวน ๒๐,๐๐๐ ตัว
๕. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สหกรณ์จังหวัดอุบลราชธานีประมง จ.อุบล หน่วยงานของการส่งเสริมการเกษตร จ.อุบล วิทยาลัยเกษตรกรรม จ.อุบล
|
ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.บัณฑิต เวฬุวรรณ, ส.ต.ท.ประเสริฐ บุญศรี, ส.ต.อ.ถนอม แสนราช
หน่วยที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี, สำนักงานเกษตรอำเภอสิรินธร, สำนักงานประมงอำเภอสิรินธร, ศูนย์ประมงน้ำจืดจังหวัดอุบลราชธานี, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุบลราชธานี
แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร สระน้ำ และบ่อน้ำตื้น
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง / สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน
การเฝ้าระวังมีเด็กนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน ๑๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๖๔%
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๒ ดังนี้
นมผง จาก บช.ตชด. จำนวน ๒,๑๐๐ กิโลกรัม
นมสด UHT จาก บช.ตชด. และการรับบริจาคจาก สนง.อ.ส.ค.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๖,๐๘๔ กล่อง
การให้อาหารเสริมมีการดำเนินการดังนี้
๑. นมผงให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันทำการ
๒. นมสด UHT ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานและปกติดื่มวันละ ๑ กล่อง จำนวน
๒๕ วัน (ช่วงเวลา ๗ ตุลาคม - ๑ ธันวาคม ๒๕๔๒)
|
อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๒ ครั้งที่ ๑)
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| ระดับ๑
| ระดับ๒
| ระดับ๓
| รวม
| % ต่ำหว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
เด็กเล็ก
| ๓๓
| ๓๓
| ๓๓
| -
| -
| -
| -
| -
| ดีมาก |
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
| % ต่ำหว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
ประถม ๑
| ๓๔
| ๓๔
| ๒๗
| ๗
| ๒๐.๕๗
| พอใช้ |
ประถม ๒
| ๓๑
| ๓๑
| ๒๘
| ๓
| ๙.๖๘
| ดีมาก |
ประถม ๓
| ๓๒
| ๓๒
| ๒๘
| ๔
| ๑๒.๕๐
| ดี |
ประถม ๔
| ๔๖
| ๔๖
| ๔๓
| ๓
| ๖.๕๒
| ดีมาก |
ประถม ๕
| ๒๓
| ๒๓
| ๒๓
| -
| -
| ดีมาก |
ประถม ๖
| ๓๑
| ๓๑
| ๒๙
| ๒
| ๖.๔๕
| ดีมาก |
รวม
| ๑๙๗
| ๑๙๗
| ๑๗๘
| ๑๙
| ๙.๖๔
| ดีมาก |
รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๒
๑. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๒ งวด ๆ ละ ๑,๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๓,๒๐๐ บาท
๒. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๓๓
๑. เงินพระราชทานค่าเครื่องปรุง ๑ งวด เป็นเงิน ๖,๔๕๐ บาท
๒. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๓๔
๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
๒. ไก่พันธุ์เนื้อเมืองพระราชทาน ๑๐๐ ตัว
๓. เงินพระราชทานค่าอาหารไก่ระยะแรก ๑,๐๐๐ บาท
๔. ค่าวัสดุโรงเรือนเลี้ยงไก่ ๑,๑๐๐ บาท
ปีการศึกษา ๒๕๓๕
๑. เมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน ๒ ชุด
๒. แป้งถั่วเหลือเหลืองพระราชทาน ๒๖ กระสอบ
๓. น้ำตาลทรายพระราชทาน ๕๒๐ กิโลกรัม
๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง
|
แหล่งอ้างอิง : |
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี.(๙๘)
(อีสาน ท๑ ส๖๕๒๖ ๒๕๓๕)
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี.(๒๐๕)
(อีสาน ท๑ ส๖๕๒๘ ๒๕๔๒)
|
|