ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็มระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันการให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม

ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๒ ตำบลตาเกา กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๓ โดยคณะครูและราษฎรในหมู่บ้านร่วมกันก่อสร้างอาคารเรียน จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๔ ห้องเรียน ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๓ (เดิม) ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ธนาคารทหารไทย ได้ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก ๑ หลัง ขนาด ๓ ห้องเรียน
เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จฯ เยี่ยมโครงการตามพระราชดำริ และเทอดพระเนตรกิจกรรมของโรงเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ คุณสุชัย – กุหลาบ ยอดโพธิ์ทอง ได้บริจาคทุนทรัพย์ให้กับชมรมอาสาพัฒนาชนบท สถาบันราชภัฎจันทรเกษม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วสันต์ พรหมบุญ ได้นำนักศึกษาชมรมอาสาพัฒนาชนบท มาทำการก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก ๑ หลัง ขนาด ๘ x ๔๒ เมตร จำนวน ๗ ห้องเรียน เพื่อทดแทนอาคารเรียนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๑ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เดิมมีราษฎรจากหมู่บ้านสระบาก ตำบลน้ำเขียว อำเภอรัตบุรี จำนวน ๕ ครอบครัว อพยพเข้าไปจัดตั้งหมู่บ้าน มีนายหมุน ปัตถา เป็นผู้นำ ต่อมามีราษฎรจากหมู่บ้านดอนแรด ตำบลดอนแรด อำเภอรัตบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๒๕ ครอบครัว อพยพเจ้าไปเพิ่มอีก รวมเป็น๓๐ ครอบครัว
ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับจากจัดตั้งเป็นหมู่บ้านตาเอ็ม หมู่ ๙ ตำบลตาเกา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้เปลี่ยนจากหมู่ที่ ๙ เป็นหมู่ที่ ๒
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกิ่งอำเภอน้ำขุ่น บ้านตาเอ็มจึงเปลี่ยนการปกครองจากอำเภอน้ำยืน มาขึ้นกับกิ่งอำเภอน้ำขุ่น
หมู่บ้านตาเอ็มเป็นพื้นที่ราบ ประชาชนมีเชื้อชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ – ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอีกสานท้องถิ่น สาธารณูปโภคมีแต่ไฟฟ้า

การคมนาคม
เส้นทางคมนาคมเป็นถนนกินลูกรัง ไป – มาสะดวกทุกฤดูกาล ห่างจากกิ่งอำเภอน้ำขุ่น ๗ กิโลเมตร และถนนลาดยางจากกิ่งอำเภอน้ำขุ่น ถึงจังหวัดอุบลราชธานี ๑๐๓ กิโลเมตร รวมระยะทางจากบ้านตาเกาถึงจังหวัดอุบลราชธานี ๑๑๐ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
ประชากรจำนวน ๗๙๒ คน เป็นชาย ๓๘๖ คน หญิง ๕๐๖ คน แยกเป็น ๑๗๘ ครอบครัว

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยทำนาเป็นหลัก มีพื้นที่ทำกิน ๓,๒๑๑ ไร่ รายได้เฉลี่ยประมาณปีละ ๖,๐๐๐ บาท/คน

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายณรงค์ศักดิ์ โลเตียะนันท์
ผู้ใหญ่บ้าน นายเขียน ผาโท

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านแสนถาวร ตำบลไพบูลย์ กิ่งอำเภอน้ำขุ่น มีประชากร ๔๖๑ คน เป็นชาย ๒๒๑ คน หญิง ๒๔๐ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายดำมี ดวงแก้ว
บ้ายโคกสะอาด ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น มีประชากร ๑,๙๘๔ คน เป็นชาย ๙๗๑ คน หญิง ๑,๐๑๓ คน กำนันชื่อ นายสุนทร บุญอุดม
บ้านตาเกา ตำบลตาเกา กิ่งอำเภอน้ำขุ่น มีประชากร ๖๗๙ คน เป็นชาย ๓๓๖ คน หญิง ๓๔๓ คน ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายพั่ว ระนะสวาย
บ้านห้วยยาง ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น มีประชากร ๕๑๔ คน เป็นชาย ๒๖๐ หญิง ๒๕๔ คน ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายถาวร บุญอุดม

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
ขาดฝายน้ำล้น
ขาดประปาหมู่บ้าน
ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านทุกสาย

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตาเอ็ม สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติพื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ จังหวัดอุบลราชธานี
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านตาเอ็ม ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่ ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน หลังที่ ๑ ธนาคารทหารไทย จำกัด
    ๒. อาคารเรียน หลังที่ ๒ นายสุชัย – กุหลาบ ยอดโพธิ์ทอง
    ๓. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ราษฎรในหมู่บ้าน
    ๔. โรงอาหาร ราษฎรในหมู่บ้าน
    ๕. ห้องน้ำ – ห้องส้วม ธนาคารทหารไทย จำกัด
    ๖. ศูนย์ผลิตพันธุ์ปลา กรมประมง

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๑๓๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑) มีนักเรียน ๑๔๐ คน เป็นชาย ๖๙ คน หญิง ๗๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล คุณวุฒิ รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑) ด.ต.ไพฑูรย์ เกษมสำราญ ค.บ. ครูใหญ่
    ๒) ด.ต.ปราโมทย์ บุญญรัตน์ พ.ม. โครงการฝึกอาชีพ
    ๓) จ.ส.ต.ปรีชา อุลิตา ค.บ. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๔) ส.ต.อ.คารมณ์ อาจันทร์ ม.ศ.๕ โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๕) ส.ต.ท.ดุสิต เชศฐ์สิงห์ ว.ท.บ. โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    โครงการส่งเสริมโภชนาการ
    และสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
    ในถิ่นทุรกันดาร
    ๖) ส.ต.ท.สมอน วิชัยโย ม.๖ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากร
    ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๗) ส.ต.ต.สาคร ชนะพันธ์ ค.บ. โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๘) ส.ต.ต.สมศักดิ์ มรรคสันต์ สส.บ. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๔
    ๑๖
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๑
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๐
    ๑๑
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๐
    ๑๓
    ๒๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๕
    รวม
    ๖๙
    ๗๑
    ๑๔๐

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๔๐)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๓๑ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๑๑ คน

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตารมพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.สมศักดิ์ มรรคสันต์
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรกิ่งอำเภอน้ำขุ่น สำนักงานปศุสัตว์กิ่งอำเภอน้ำขุ่น สำนักงานเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ประมงน้ำจืดจังหวัดอุบลราชธานีวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีอุบลราชธานี และสำนักงานป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานี
    แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร ลำห้วย
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม บ่อน้ำตื้น
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๐๙
    โรงเรียนที่รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๔๑ ดังนี้
    ๑. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๗๕ กิโลกรัม
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๓. นมสด UHT จาก กก.ตชด.๒๒ จำนวน ๙๖๒ กล่อง

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันอังคาร และวันพฤหัสบดี
    ๒. แป้งถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์
    ๓. นมสด UHT ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่มวันละ ๑ กล่อง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๓๐
    ๓๐
    ๒๕
    -
    -
    ๑๖.๖๖
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๖
    ๒๐
    พอใช้
    ประถม ๒
    ๒๑
    ๒๑
    ๒๐
    ๔.๗๖
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๓
    ๒๓
    ๒๑
    ๘.๖๙
    ดี
    ประถม ๔
    ๑๔
    ๑๔
    ๑๒
    ๑๔.๒๘
    ดี
    ประถม ๕
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๗
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๔
    ๖.๖๖
    ดีมาก
    รวม
    ๑๑๐
    ๑๑๐
    ๑๐๐
    ๑๐
    ๙.๐๙
    ดีมาก

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๕๐ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน ๑๗๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๘๒)
    (อีสาน. ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๔๑)