|
ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ บ้านขุนห้วยแม่สอด ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ก่อตั้งเมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๙ โดยก่อตั้งครั้งแรกเป็นโรงเรียนปฏิบัติการทางจิตวิทยาตำรวจตระวเนชายแดนมีตำรวจตระเวนชายแดนจากหมวดมวลชนสัมพันธ์ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔๖ จำนวน ๓ นาย ทำหน้าที่ครูสอน เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาล ชั้น ป.๓ มีนักเรียน ๖๑ คน ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ได้ก่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง (๔ ห้องเรียน ๑ ห้องสมุด) โรงอาหาร ๑ หลัง ห้องน้ำ ห้องส้วม ๓ ที่นั่ง ๑ หลัง โดยได้รับงบบริจาค
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๑ กรมตำรวจได้อนุมัติให้โรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามพระกระแส สมเด็จพระเทพฯรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร (พระอภิบาล) ซึ่งเสียชีวิตเนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ในขบวนพระที่นั่งตก เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๐ ที่จังหวัดนราธิวาสทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร และทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบการดังนี้
อาคารเรียนขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๔๐.๕๐ เมตร จำนวน ๔ ห้องเรียน ๑ ห้องพักครู ได้รับงบประมาณพระราชทาน ๙๕๐,๐๐๐ บาท ก่อสร้างโดยชมรมค่ายอาสาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตาก, ตชด.จากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๑, ๓๔ และประชาชนในหมู่บ้าน
อาคารบ้านพักครู ขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๘ เมตร จำนวน ๘ ห้อง ๑ หลัง ได้รับงบพระราชทาน ๔๓๕,๐๐๐ บาท ก่อสร้างโดยผู้รับเหมา
อาคารอเนกประสงค์สำหรับจัดนิทรรศการ (พิพิธภัณฑ์ท่านผู้หญิง) และศูนย์วัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร งบประมาณ ๒๐๑,๔๒๗ บาท ก่อสร้างโดย มง.มชส.ร้อย ตชด.๓๔๖, กก.ตชด.๓๓,และประชาชน
ห้องน้ำ ห้องส้วม ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๗.๒๐ เมตร จำนวน จำนวน ๖ ห้อง ๑ หลัง งบประราชทาน ๑๑๙,๔๖๗ บาท ก่อสร้างโดย ร้อย ตชด.๓๔๒ และประชาชน
ซุ้มป้ายชื่อ ร.ร.ตชด.ท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร ได้รับเงินบริจาค "สมาคมชาวตาก" จำนวน ๔๐,๐๐๐บาท ก่อสร้างโดยร้อย ตชด.๓๔๒, กก.ตชด.๓๑ และประชาชนในหมู่บ้านปรับพื้นที่การก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบต่างๆ ได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๓ กองบัญชาการทหารสูงสุด
เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร (เสด็จครั้งที่ ๒) เพื่อทรงติดตามงานโครงการตามพระราชดำริฯ, โครงการพัฒนา ๓หมู่บ้าน และทรงปิดป้าย ร.ร.ตชด.ท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร
ในช่วงเดือนสิงหาคม กันยายน ๒๕๔๒ ได้เกิดฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้อาคารเรียนเกิดการทรุดตัว ห้องเรียนเกิดรอยแตกร้าวเสียหาย จำนวน๑ ห้อง ต่อมาวันที่ ๙ - ๒๒ ตุลาคม ชมรมค่ายอาสาสถาบันราชมงคลวิทยาเขตตาก โดยได้รับงบประมาณในการซ่อมแซมจาก กก.ตชด.๓๔ และสถาบันราชมงคลวิทยาเขตตาก
มว.มชส.ร้อย ตชด.๓๔๖ ร่วมกับ อบต.พระธาตุผาแดง จัดสร้างถังเก็บน้ำประปาภูเขา จำนวน ๖ ถุง โดยได้รับงบประมาณพระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๕๙,๐๙๘ บาท
วิทยาลัยอาชีวนครสวรรค์ และคณะร้านวิทยาคมแม่สอด ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน บริเวณบ้านพักครู และอาคารเรียนพระราชทาน จำนวน ๙ ถัง
วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์ ได้ดำเนินการสร้างรางระบายน้ำด้านหลังคาเรียนตลอกแนว จนถึงบ่อปลา
วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎร ที่ ร.ร.ปจว.ตชด.บ้านขุนห้วยแม่สอด
วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๑ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรบ้านขุนห้วยแม่สอด และทรงเปิดป้ายโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร
วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และทรงติดตามงานโครงการตามพระราชดำริ
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน ๒๔ ไร่
|
ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ จังหวัดตาก
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๔
|
จำนวนครูและนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด ๙๕ คน เป็นชาย ๔๖ คน หญิง ๔๙ คน ครูตชด. ๕ นาย ครูพลเรือน ๑ คน ครูอาสาจ้างสอน ๑ คน ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน
|
|
ปีการศึกษา |
ชั้นเรียน |
๒๕๔๐ |
๒๕๔๑ |
๒๕๔๒ |
๒๕๔๓ |
|
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
อนุบาล |
๒๐ |
๙ |
๒๙ |
๑๙ |
๑๐ |
๒๙ |
๒๐ |
๒๐ |
๔๐ |
๑๗ |
๒๓ |
๔๐ |
ประถมศึกษาปีที่ ๑ |
๓ |
๙ |
๑๒ |
๗ |
๒ |
๙ |
๗ |
๓ |
๑๐ |
๕ |
๔ |
๙ |
ประถมศึกษาปีที่ ๒ |
๑ |
๘ |
๙ |
๓ |
๙ |
๑๒ |
๖ |
๒ |
๘ |
๖ |
๓ |
๙ |
ประถมศึกษาปีที่ ๓ |
๘ |
๓ |
๑๑ |
๒ |
๘ |
๑๐ |
๓ |
๙ |
๑๒ |
๖ |
๑ |
๗ |
ประถมศึกษาปีที่ ๔ |
- |
- |
- |
๘ |
๓ |
๑๑ |
๒ |
๘ |
๑๐ |
๓ |
๗ |
๑๐ |
ประถมศึกษาปีที่ ๕ |
- |
- |
- |
๑ |
ถ |
๕ |
๙ |
๓ |
๑๒ |
๑ |
๘ |
๙ |
ประถมศึกษาปีที่ ๖ |
- |
- |
- |
ภ |
๖ |
๙ |
๓ |
๕ |
๘ |
๘ |
๓ |
๑๑ |
รวม |
๓๒ |
๒๙ |
๖๑ |
๔๓ |
๔๒ |
๘๕ |
๔๘ |
๔๙ |
๙๗ |
๔๖ |
๔๙ |
๙๕ |
การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.วินาน ปิมลื้อ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอแม่สอด, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่สอด และวิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์
แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร คือ ห้วยชุลีโกร
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครองจัดเวรกันมาวันละ ๓ - ๕ คน แต่ไม่สามารถมาได้ทุกวัน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยว
|
ผลการดำเนินโครงการ
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒ คน แยกเป็นระดับก่อนวัยเรียน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๖๓ และระดับประถมศึกษา ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๖๗
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และให้อาหารเสริม ไข่ และนม ให้เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์รับประทานวัน ทั้งเสาร์และอาทิตย์
อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๑
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| ระดับ๑
| ระดับ๒
| ระดับ๓
| รวม
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
เด็กเล็ก
| ๓๘
| ๓๘
| ๓๗
| ๑
| ๐
| ๐
| ๑
| ๒.๖๓
| ดีมาก |
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
ประถม ๑
| ๑๐
| ๑๐
| ๑๐
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก |
ประถม ๒
| ๙
| ๙
| ๙
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก้ |
ประถม ๓
| ๘
| ๘
| ๘
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก |
ประถม ๔
| ๑๒
| ๑๒
| ๑๑
| ๑
| ๘.๓๓
| ดีมาก |
ประถม ๕
| ๙
| ๙
| ๙
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก |
ประถม ๖
| ๑๒
| ๑๒
| ๑๒
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก |
รวม
| ๖๐
| ๖๐
| ๔๙
| ๑
| ๑.๖๗
| ดีมาก |
|
แหล่งอ้างอิง : |
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี.(๒๑๒)
|
|