ประวัติโรงเรียนบ้านแม่จันทะ
(สาขารร.ตชด.แม่กลองคี)
ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนบ้านแม่จันทะ(สาขา รร.ตชด.แม่กลองคี)

หมู่ที่ ๘ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ได้เกิดเหตุการณ์กองกำลังไม่ทราบฝ่ายได้บุกขึ้นไปโจมตีฐานปฏิบัติการบ้านแม่จันทะ เป็นเหตุให้ตำรวจเสียชีวิตจำนวน ๕ นาย และสูญหายจำนวน ๑ นาย หลังเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านพ้นไป ทางกองร้อย ตชด.๓๔๗ จึงดำเนินการให้จัดตั้ง ร.ร.ปจว. ขึ้นเพื่อเป็นการผูกมิตรและเข้าถึงประชาชน แสวงหาความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความมั่นคงตามแนวชายแดน อีกทั้งภาระกิจอื่นๆ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น และเพื่อขจัดการที่ไม่รู้หนังสือของประชาชนให้หมดไปตามนโยบายของรัฐบาล โรงเรียนบ้านแม่จันทะ เริ่มจัดตั้งและเปิดทำการเรียนการสอนเมื่อ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๖
โรงเรียนบ้านแม่จันทะ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่ สภาพอาคารเรียนเป็นอาคารเรียนแบบกึ่งถาวร กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง
โรงเรียนบ้านแม่จันทะ ได้รับอนุมัติขึ้นเป็นเป็นสาขากับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่กลองคี เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมโรงเรียน และทรงติดตามผลการดำเนินโครงการตามพระราชดำริ

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านแม่จันทะ (สาขาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่กลองคี) สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ จังหวัดตาก โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๖ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๕ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๔

  • จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด ๑๐๖ คน เป็นชาย ๔๕ คน หญิง ๖๑ คน ครู ตชด. ๔ นาย ครูผู้ช่วย (ตชด.) ๒ นาย และครูผู้ช่วย (ศิษย์เก่า) ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓
    ชั้น
    รวม
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๔๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    รวม
    ๑๐๖


    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครู และ ผู้ปกครองจัดเวรกันมาวันละ ๓ คน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๒๐
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน

    ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๔๖
    ๔๒
    ๓๘
    ๙.๕
    รุนแรงน้อย
    ประถม ๒
    ๒๐
    ๑๘
    ๑๖
    ๑๑.๐๐
    รุนแรงปานกลาง
    ประถม ๓
    ๑๕
    ๑๕
    ๑๔
    ๖.๖๗
    รุนแรงน้อย
    ประถม ๔
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๑
    ๑๕.๔๐
    รุนแรงปานกลาง
    ประถม ๕
    ๑๒
    ๑๐
    ๑๐
    ๐.๐๐
    -
    รวม
    ๑๐๖
    ๙๘
    ๘๙
    ๙.๒๐
    รุนแรงน้อย

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.(๒๑๒)