|
ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านกามาผาโด้
หมู่ที่ ๕ บ้านกามาผาโด้ ตำบลแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๔ นายบิวา ผู้ใหญ่บ้านกามาผาโด้ ในขณะนั้น พร้อมด้วย นายจีอกถึง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และราษฏรในหมู่บ้านได้เดินทางไปร้องเรียนกับทาง กก.ตชด.๓๔ (กก.ตชด.เขต ๖ เดิม) ว่าในหมู่บ้านกามาผาโด้มีเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนเป็นจำนวนมากไม่มีสถานศึกษา และมีความต้องการให้ลูกหลานได้เรียนรู้หนังสือ อ่านและเขียนภาษาไทยได้ ขอให้ทาง กก.ตชด.๓๔ ไปจัดตั้ง ร.ร.ตชด. และขอให้ จัดส่งครูเข้าไปทำการสอน ด้วย
ต่อมา กก.ตชด.๓๔ ได้ร่วมกับราษฏรในหมู่บ้านได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบกึ่งถาวร ขนาด ๔ ห้องเรียน และเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฏาคม ๒๕๒๖ เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า ร.ร.ตชด.บ้านกามาผาโด้
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ กก.ตชด.๓๔ ได้ร่วมกับราษฏรทำการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนแบบถาวร โดยใช้งบประมาณจำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท ก่อสร้างอาคารเรียน ขนาด ๓ x ๑๒ เมตร จำนวน ๓ ห้องเรียน
วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ ทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวรขนาด ๓ x ๒๐ เมตร จำนวน ๔ ห้องเรียน โดยใช้งบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท
วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมโครงการพระราชดำริ ในโรงเรียน
โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
|
ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านกามาผาโด้ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ จังหวัดตาก
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔
|
จำนวนครูและนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๒๕ คน เป็นชาย ๗๐ คน หญิง ๕๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ นาย
|
|
ปีการศึกษา |
ชั้นเรียน |
๒๕๔๐ |
๒๕๔๑ |
๒๕๔๒ |
๒๕๔๓ |
|
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
อนุบาล |
๑๒ |
๑๖ |
๒๘ |
๑๒ |
๑๘ |
๓๐ |
๑๓ |
๑๓ |
๒๖ |
๒๐ |
๑๘ |
๓๘ |
ชั้น ป.๑ |
๒๒ |
๑๓ |
๓๕ |
๑๑ |
๗ |
๑๘ |
๑๐ |
๙ |
๑๙ |
๑๓ |
๙ |
๒๒ |
ชั้น ป.๒ |
๑๕ |
๑๔ |
๒๙ |
๙ |
๘ |
๗ |
๕ |
๗ |
๑๒ |
๑๐ |
๕ |
๑๕ |
ชั้น ป.๓ |
๑๑ |
๓ |
๑๔ |
๙ |
๘ |
๗ |
๗ |
๗ |
๑๔ |
๔ |
๘ |
๑๒ |
ชั้น ป.๔ |
๗ |
๔ |
๑๑ |
๘ |
๓ |
๑๑ |
๙ |
๘ |
๑๗ |
๗ |
๖ |
๑๓ |
ชั้น ป.๕ |
๕ |
๘ |
๑๓ |
๔ |
๕ |
๙ |
๘ |
๓ |
๑๑ |
๙ |
๖ |
๑๕ |
ชั้น ป.๖ |
๕ |
๕ |
๑๐ |
๑ |
๗ |
๘ |
๔ |
๕ |
๙ |
๗ |
๓ |
๑๐ |
รวม |
๗๗ |
๖๓ |
๑๔๐ |
๕๔ |
๕๖ |
๑๑๐ |
๕๖ |
๕๒ |
๑๐๘ |
๗๐ |
๕๕ |
๑๒๕ |
การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.สมศักดิ์ เปรมกระโทก
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนคือ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย, สำนักงานเกษตรอำเภอท่าสองยาง
และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอท่าสองยาง
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครองจัดเวรกันมา
|
ผลการดำเนินโครงการ
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๒๔
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน
และให้อาหารเสริม ได้แก่ นม ทุกวันๆ ละ ๔๐๐ ซี.ซี., วิตามิน และเสริมธาตุเหล็ก
อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๑
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| ระดับ๑
| ระดับ๒
| ระดับ๓
| รวม
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
เด็กเล็ก
| ๓๘
| ๓๘
| ๒๕
| ๑๓
| ๐
| ๐
| ๑๓
| ๓๔.๒๑
| ปรับปรุง |
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
ประถม ๑
| ๒๒
| ๒๒
| ๑๓
| ๙
| ๔๐.๙๑
| ปรับปรุง |
ประถม ๒
| ๑๕
| ๑๕
| ๑๒
| ๓
| ๒๐.๐๐
| พอใช้ |
ประถม ๓
| ๑๒
| ๑๒
| ๑๑
| ๑
| ๘.๓๓
| ดีมาก |
ประถม ๔
| ๑๓
| ๑๓
| ๑๒
| ๑
| ๗.๖๙
| ดีมาก |
ประถม ๕
| ๑๕
| ๑๕
| ๑๔
| ๑
| ๖.๖๗
| ดีมาก |
ประถม ๖
| ๑๐
| ๑๐
| ๑๐
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก |
รวม
| ๘๗
| ๘๗
| ๗๒
| ๑๕
| ๑๗.๒๔
| ดี |
|
แหล่งอ้างอิง : |
สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี.(๒๑๒)
|
|