ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตรสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ บ้านขุนห้วยแม่สอด ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๙ โดยก่อตั้งครั้งแรกเป็นโรงเรียนปฏิบัติการทางจิตวิทยาตำรวจตระเวนชายแดน มีตำรวจตระเวนชายแดนจากหมวดมวลชนสัมพันธ์ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔๖ จำนวน ๓ นาย ทำหน้าที่ครูสอน เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล - ชั้นป.๓ มีนักเรียน ๖๑ คน ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ได้ก่อสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง (๔ ห้องเรียน ๑ ห้องสมุด) โรงอาหาร ๑ หลัง ห้องน้ำห้องส้วม ๓ ที่นั่ง ๑ หลัง โดยรับงบบริจาคจากผู้มีจิตเมตตาบริจาค เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๐ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้
ต่อมาวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๑ กรมตำรวจได้อนุมัติให้เป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามพระราชกระแส สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร (พระอภิบาล) ซึ่งได้เสียชีวิตเนื่องจากเฮลิคอปเตอร์ในขบวนพระที่นั่งตก เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๐ ที่จังหวัดราธิวาส ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร" และทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบการดังนี้
๑. อาคารเรียน ขนาด ๙ x ๔๐.๕๐ เมตร จำนวน ๔ ห้องเรียน ๑ ห้องพักครู งบพระราชทาน ๙๕๐,๐๐๐ บาท ก่อสร้างโดย ชมรมค่ายอาสาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตตาก, ตำรวจตระเวนชายแดนจาก กก.ตชด.๓๑, ๓๒, ประชาชนในหมู่บ้าน
๒. อาคารบ้านพักครู ขนาด ๑๐ x ๒๘ เมตร จำนวน ๘ ห้อง ๑ หลัง งบพระราชทาน ๔๓๕,๐๐๐ บาท ก่อสร้างโดยผู้รับเหมา
๓. อาคารเอนกประสงค์ สำหรับจัดนิทรรศการ (พิพิธภัณฑ์ท่านผู้หญิง) และศูนย์วัฒนธรรมชาวกะเหรี่ยง ขนาด ๘ x ๑๔ เมตร งบประมาณ ๒๐๑,๔๒๗ บาท ก่อสร้างโดย มว.มชส.ร้อย ตชด.๓๔๖ , กก.ตชด.๓๓, ประชาชน
๔. ห้องน้ำห้องส้วม ขนาด ๕ x ๗.๒๐ เมตร จำนวน ๖ ห้อง ๑ หลัง งบพระราชทาน ๑๑๙,๔๖๗ บาท ก่อสร้างโดย ร้อย ตชด.๓๔๒, ประชาชน
๕. ซุ้มป้ายชื่อโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนท่านผู้หญิงทวี มณีนุตร ได้รับงบบริจาคจาค "สมาคมชาวตาก" จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท ก่อสร้างโดย ร้อย ตชด.๓๔๒, กก.ตชด.๓๑, ประชาชนในหมู่บ้านในการปรับพื้นที่การก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบการต่างๆ ได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรกลจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๓๓ กองบัญชาการทหารสูงสุด เมื่อ ๒๙ กันยายน - ๙ ตุลาคม ๒๕๔๑
พื้นที่โรงเรียน จำนวน ๒๔ ไร่ ๒ แปลง แปลงที่ ๑ พื้นที่ ๔ ไร่ ได้รับบริจาคจากนางดิ๊ทู ขอบคีรีราษฎร์ เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๑ เป็นที่มีเอกสารสิทธิ์ นส.๓ ก แปลงที่ ๒ ประมาณ ๒๐ ไร่ ขอใช้พื้นที่ป่าสงวนจากกรมป่าไม้
ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล - ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยรับนักเรียนบ้านไกลจากโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านถ้ำเสือ

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
หมู่บ้านขุนห้วยแม่สอดตั้งอยู่ที่หมู่ ๖ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ก่อตั้งขึ้นมาประมาณ ๑๕๐ ปี ซึ่งแต่เดิมหมู่บ้านดังกล่าว อยู่บริเวณต้นน้ำที่ใช้ชื่อว่า แม่ซอคี หมายถึงต้นน้ำแม่สอด ปัจจุบันเป็นบ่อน้ำพุร้อน ห่างจากที่ตั้งหมู่บ้านไปทางทิศเหนือประมาณ ๑ กิโลเมตร มีต้นไม้ผลยืนต้น ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ปีปรากฏอยู่ มีภูเขาล้อมรอบหมู่บ้าน ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน
สาเหตุที่อพยพหาที่ตั้งหมู่บ้านเนื่องจากความเชื่อในอดีตมีคนตายในหมู่บ้าน ก็จะทำการโยกย้ายไปตั้งที่อยู่ใหม่ ในปัจจุบันชื่อบ้านขุนห้วยแม่สอด ซึ่งตั้งชื่อตามความหมายของขุนเขา และลำห้วยต้นน้ำแม่สอด
เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๐ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฏรและทรงปลูกต้นขนุนพันธุ์ไพศาลทักษิณ ที่ ร.ร.ปจว.ตชด.บ้านขุนห้วยแม่สอดและทอดพระเนตรบ่อน้ำร้อน

อาณาเขตของหมู่บ้านทางการปกครอง
ทิศเหนือ ติดกับ วัดถ้ำอินทนิล
ทิศตะวันออก ติดกับ ป่าอนุรักษ์ธรรมชาติเขตดอยมูเซอ
ทิศใต้ ติดกับ บ้านหัวฝาย
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านหนองบัว

การคมนาคม
ระยะทางจากอำเภอแม่สอด ถึงหมู่บ้านขุนห้วยแม่สอด ระยะทาง ๑๗ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง ๑๑ กิโลเมตร และอีก ๖ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง การเดินทางไม่สะดวก ในช่วงฤดูฝนทางลำบาก ขาด และลื่น

จำนวนประชากร
ในหมู่บ้านมีประชากรทั้งหมด ๒๔๒ คน เป็นชาย ๑๒๐ คน หญิง ๑๒๒ คน จำนวนหลังคา ๕๐ หลังคาเรือน เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ภาษาพูดใช้ภาษาไทย-กะเหรี่ยง และเขียนเป็นภาษาไทย - กะเหรี่ยง

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ รายได้เฉลี่ย ๑๐,๐๐๐ - ๑๕,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนันชื่อ นายพิทักษ์ ใจวงษ์
ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายหล่าเซ หทัยสดใส เป็นชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านโดยกำเนิด
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายจำนงค์ นนทศิริพนา เป็นชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านโดยกำเนิด
ผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ นายหล่าเซ หทัยสดใส

การสาธารณสุข
ในหมู่บ้านไม่มีสถานพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยชาวบ้านเข้ารับการรักษาที่สถานีอนามัย ตำบลพระธาตุผาแดงและโรงพยาบาลแม่สอด

ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ ค่านิยม ความเชื่อถือ
ทำบุญข้าวใหม่, เลี้ยงผีฝายผีห้วย, ผูกข้อมูลช้าง

สาธารณูปโภคที่มีอยู่ในหมู่บ้าน
  • ๑. ไฟฟ้า
  • ๒. ประปา
  • ๓. โทรศัพท์

  • ปัญหาของประชาชนในหมู่บ้าน
    ไข้มาลาเรีย

    ความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน
  • ๑. อยู่ดีกินดี
  • ๒. มีรายได้
  • ๓. ความสามัคคีในหมู่คณะ

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
    รายการ
    จำนวน
    หมายเหตุ
    ๑. อาคารเรียน
    ๑ หลัง
    สร้างปี ๒๕๔๐
    ๒. โรงอาหาร
    ๑ หลัง
    สร้างปี ๒๕๔๐
    ๓. ศาลาประชาคม (ที่ทำการศูนย์ประสานงานโครงการตามพระราชกระแส)
    ๑ หลัง
     
    ๔. ห้องน้ำห้องส้วม ๓ ที่นั่ง
    ๓ ห้อง
     
    ๕. อาคารเรียนพระราชทาน ๒
    ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน ๑ ห้องทำงาน
    สร้างปี ๒๕๔๑ (งบพระราชทาน)
    ๖. บ้านพักครู ๘ คูหา
    ๑ หลัง
    สร้างปี ๒๕๔๑ (งบพระราชทาน)
    ๗. อาคารพิพิธภัณฑ์ท่านผู้หญิง ฯ
    ๑ หลัง
    สร้างปี ๒๕๔๑ (งบพระราชทาน)
    ๘. ห้องน้ำห้องส้วม ๖ ที่นั่ง
    ๑ หลัง
    สร้างปี ๒๕๔๑ (งบพระราชทาน)
    ๙. ซุ้มป้ายชื่อโรงเรียน
    ๑ หลัง
    สร้างปี ๒๕๔๑ (งบบริจาคสมาคมชาวตาก)

    จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๘๕ คน เป็นชาย ๔๓ คน หญิง ๔๒ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย ครูจ้างสอน ๒ คน ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ ชื่อ ชื่อสกุล
    คุณวุฒิ
    ๑. ส.ต.ท.ภาณุพงษ์ ต้องใจ
    ม.๖
    ๒. ส.ต.ท.วินาน ปิมลื้อ
    ม.๖
    ๓. ส.ต.ต.จรณวีห์ ประเสริฐสุข
    ม.๖
    ๔. ส.ต.ต.สุนทร ทนตรา
    ม.๖
    ๕. ส.ต.ต.อินทร คำหล้า
    ม.๖
    ๖. ส.ต.ต.นิพล ใจบุญ
    ม.๖
    ๗. นายบุญศรี สิงห์แก้ว
    ม.๖(เดิม)
    ๘. น.ส.รัตนาภรณ์ นนทศิริพนา
    ม.๓
    ๙. น.ส.กฤษณา ชาวขุนห้วย
    ป.๖
    ๑๐.น.ส.ธิดารัตน์ ขอบคีรีราษฏร์
    ปริญญาตรี

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๙
    ๑๐
    ๒๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๔๓
    ๔๒
    ๘๕

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.สุนทร ทนตรา และ ส.ต.ต.นิพล ใจบุญ
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอแม่สอด, ปศุสัตว์อำเภอแม่สอด, วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์ และสำนักงานประมงจังหวัดตาก
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร คือ ห้วยชุลีโกล
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๗๐
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม ๒๕๔๑
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๑๐๑.๐๐ ๐.๐๐ ๓๓๕.๐๐ ๑๑๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๖.๕๘ ๐.๐๐ ๑๘๑.๐๐ ๖๔.๔๓
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๑๔๑.๔๖ ๐.๐๐ ๑๘๑.๐๐ ๖๔.๔๓
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดีมาก ดี
    สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๑๕.๐๐ ๔๐๐.๐๐ ๑๗๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๐.๐๐ ๘.๘๒ ๒๓๕.๒๙ ๑๐๐.๐๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๐.๐๐ ๓๕.๒๙ ๒๓๕.๒๙ ๑๐๐.๐๐
      ประเมินผล ปรับปรุง พอใช้ ดีมาก ดีมาก
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๙๘.๐๐ ๖๖.๐๐ ๕๒๕.๐๐ ๑๘๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๒.๔๑ ๓๕.๒๙ ๒๘๐.๗๕ ๙๘.๙๓
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๑๓๑.๐๒ ๑๔๑.๑๘ ๒๘๐.๗๕ ๙๘.๙๓
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก
    ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๙.๕๐ ๔๘.๐๐ ๔๐๐.๐๐ ๑๖๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๕๑.๑๐ ๓๕.๒๙ ๒๙๔.๑๒ ๑๑๗.๖๕
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๑๒๗.๗๖ ๑๔๑.๑๘ ๒๙๔.๑๒ ๑๑๗.๖๕
      ประเมินผล ดีมาก ดีมาก ดีมาก ดีมาก

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๙
    ๒๙
    ๒๗
    ๖.๙๐
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๑๒
    ๑๒
    ๑๑
    ๘.๓๓
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๔๑
    ๑๑
    ๑๐
    ๙.๐๙
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๕๖
    ๕๖
    ๕๔
    ๓.๕๗
    ดีมาก

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๒๐)
    (พล. ท๑ ส๖๕๒๗ ๒๕๔๒)