ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยน้ำขุ่นสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยน้ำขุ่น

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ บ้านห้วยน้ำขุ่น ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
บ้านห้วยน้ำขุ่นอยู่ห่างจากแนวชายแดนประเทศพม่าประมาณ ๕ กิโลเมตร เด็กๆ ไม่ได้รับการศึกษาเป็นจำนวนมาก ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๖ จึงได้มอบหมายให้หมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่รับผิดชอบฐานบ้านโกนเกน จัดกำลัง ตชด. ๒ นาย ไปทำการสอนเด็กๆ เพื่อให้ได้เรียนรู้ภาษาไทย ตั้งแต่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๓ โดยใช้พื้นที่ของชาวบ้านเป็นที่ทำการสอนชั่วคราว มีเด็กนักเรียนชาย ๙ คน หญิง ๗ คน รวม ๑๖ คน
ต่อมา พ.ศ.๒๕๒๕ มีนักเรียนมากขึ้น จึงได้ย้ายที่สอนไปตั้งเป็นโรงเรียนชั่วคราวข้างหมู่บ้าน (ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน) มีครู ตชด. ทำการสอนจนถึง พ.ศ.๒๕๓๐ และปิดการเรียนการสอนในปี พ.ศ.๒๕๓๐ - ๒๕๓๓เนื่องจากพื้นที่ตามแนวชายแดนมีสถานการณ์ไม่ปกติ จึงไม่ได้จัดกำลังพลมาทำการสอน
พ.ศ.๒๕๓๓ ราษฎรได้ร้องขอให้ ตชด.ไปเปิดโรงเรียนทำการสอนให้กับเด็กๆ ทางกองร้อย ตชด.๓๔๖ จึงได้มอบหมายให้ มว.มชส. ส่งกำลัง ตชด. จำนวน ๒ นาย ไปทำการสอนตั้งแต่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ โดยร่วมกับราษฎรก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ขนาด ๒ ห้องเรียน ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๔ คณะนักศึกษาชมรมชาวเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน ๒๒ คน ได้มาออกค่ายก่อสร้างอาคารเรียน แบบถาวร กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ขนาด ๓ ห้องเรียน งบประมาณการก่อสร้าง ๖๕,๐๐๐ บาท
วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๗ คุณหญิงโสภร วงศ์สวรรค์ และคุณหญิงสาหรี่ฯ ได้เดินทางไปเยี่ยม ร.ร.ปจว.บ้านห้วยน้ำขุ่น ได้มอบเงินจำนวน ๕,๐๐๐ บาท เพื่อติดตั้งไฟฟ้าภายในโรงเรียน ต่อมาวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๓๘ นักวิทยุสมัครเล่น กลุ่มเพื่อนรัก อำเภอแม่สอด ได้มอบเงินสมทบเพื่อติดตั้งไฟฟ้าอีก จำนวน ๒,๑๒๖ บาท ทาง โรงเรียนจึงได้ยื่นขอใช้กระแสไฟฟ้าเมื่อ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
พ.ศ.๒๕๓๘ นายสมาน เศรษฐี ได้บริจาควัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างอาคารเรียน ขนาด ๒ ห้องเรียน กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ในวงเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๓๘ โดย มว.มชส.ร้อย ตชด.๓๔๖
พ.ศ.๒๕๔๐ นพค.๓๓ กรป.กลาง ได้บริจาคเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อให้ก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร และก่อสร้างห้องสุขา ๓ ห้อง ดำเนินการ ก่อสร้างตั้งแต่ ๙ มีนาคม - ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๐ โดย มว.มชส.ร้อย ตชด. ๓๔๖ และในปีเดียวกัน ทาง มว.มชส. ร้อย ตชด.๓๔๖ ได้ก่อสร้างโรงอาหาร เรือนพยาบาล โดยมีผู้บริจาควัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง
เดือนมีนาคม ๒๕๔๑ ได้รื้ออาคารเรียน ที่นักศึกษาพระนครเหนือสร้างไว้เพราะอาคารชำรุดและจะต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ในเดือนเมษายน ๒๕๔๑
ผศ.วสันต์ พรหมบุญ และนักศึกษาสถาบันราชภัฎจันทรเกษม กรุงเทพฯ จำนวน ๒๐ คน ร่วมกับมว.มชส.ร้อย ตชด. ๓๔๖ ก่อสร้างอาคารเรียน ขนาด ๖ ห้องเรียน กว้าง ๘ เมตร ยาว ๓๖ เมตร งบประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ บาท วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๑ บช.ตชด.ได้อนุมัติให้ ร.ร.ปจว.ตชด.บ้านห้วยน้ำขุ่นเป็นสาขาของ ร.ร.ชด.บ้านถ้ำเสือ

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๘ ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
บ้านห้วยน้ำขุ่น ตั้งมาประมาณ ๑๕๐ ปี โดยนายพาแขะพอ อพยพครอบครัวจากบ้านแม่ท้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ไปตั้งหลักฐานอยู่ที่บ้านห้วยน้ำขุ่น และมีราษฎรบริเวณใกล้เคียงไปร่วมอยู่ด้วยทำให้เกิดเป็นชุมชนใหญ่ และได้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านนี้ เมื่อประมาณ ๔๐ ปีมาแล้ว
การตั้งชื่อบ้านในอดีตบ้านนี้มีน้ำออกรู ซึ่งขุ่นมาก ไหลตามลำห้วยจึงได้ตั้งชื่อว่าห้วยน้ำขุ่น และใช้เป็นชื่อบ้านมาจนถึงทุกวันนี้ พื้นที่ส่วนมากเป็นภูเขา มีที่ราบประมาณครึ่งหนึ่ง พื้นที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ

อาณาเขตของหมู่บ้านทางการปกครอง
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านห้วยไม้แป้น หมู่ ๕ ตำบลมหาวัน
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านม่อนหินเหล็กไฟ หมู่ ๓ ตำบลมหาวัน
ทิศใต้ ติดกับ บ้านห้วยหมี หมู่ ๑๑ ตำบลมหาวัน
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านแม่โกนเกน หมู่ ๑ ตำบลมหาวัน

การคมนาคม
ระยะทางจากอำเภอแม่สอด ถึงหมู่บ้าน ๒๓ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ระยะทาง ๒๒ กิโลเมตร และอีก ๑ กิโลเมตร เป็นถนนลูกรัง การเดินทางได้สะดวกในทุกฤดู

จำนวนประชากร
หมู่บ้านมีประชากรทั้งหมด ๖๓๒ คน เป็นชาย ๓๐๖ คน หญิง ๓๒๖ คน จำนวนหลังคาเรือน ๑๒๒ หลัง ราษฎรเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ, คริสต์ ใช้ภาษากะเหรี่ยงและภาษาไทย

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่, ทำนา หาของป่า และรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ย ๕,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน ชื่อ นายณรงค์ ห้วยผัด
ผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายสมศักดิ์ งามยิ่งสกุล
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ชื่อ นายสมพงษ์ พรมมา
ผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมากที่สุด ชื่อ นายพะฉ่วย ก่อเกียรติสมบูรณ์

ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ ค่านิยม ความเชื่อถือ
ทำบุญตักบาตรในวันพระและวันสำคัญ มีการเคารพระหว่างผู้อาวุโสกับผู้เยาว์ ราษฎรส่วนใหญ่นับถือผี ทำบุญสืบชะตาต่อายุผู้เจ็บป่วย

สาธารณูปโภคที่มีอยู่ในหมู่บ้าน
๑. ไฟฟ้า มี ๖๔ หลังคาเรือน ไม่มี ๕๘ หลังคาเรือน
๒. ประปา มี ๒๙ หลังคาเรือน ไม่มี ๙๓ หลังคาเรือน
๓. โทรศัพท์ดาวเทียม ๑ แห่ง

ปัญหาของประชาชนในหมู่บ้าน
ความยากจนขาดแคลนเสื้อผ้าและยารักษาโรค

ความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน
๑. มีบัตรประจำตัวประชาชน
๒. น้ำประปาภูเขา
๓. พื้นที่ทำกิน

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
รายการ
จำนวน
หมายเหตุ
๑.อาคารเรียนสโมสรไลออนส์มหาจักร ๑๕
๑ หลัง
สถาบันราชภัฏจันทรเกษม
๒. อาคารซายิสซิงห์เศรษฐี
๑ หลัง
 
๓. อาคาร กรป.กลาง (นพค.๓๓)
๑ หลัง
 
๔. โรงอาหาร
๑ หลัง
 
๕. เรือนพยาบาล
๑ หลัง
 
๖. ห้องน้ำ – ห้องส้วม
๕ หลัง
 
๗. โรงเรือนเลี้ยงไก่
๑ หลัง
ปศุสัตว์อำเภอแม่สอด
๘. เรือนเพาะชำ
๑ หลัง
 
๙. โรงเก็บเครื่องมือการเกษตร
๑ หลัง
 
๑๐. โรงเพาะเห็ด
๑ หลัง
เกษตรอำเภอแม่สอด

จำนวนครูและนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๑๑ คน เป็นชาย ๕๕ คน หญิง ๕๖ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย ผู้ดูแลเด็ก ๓ คน

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ ชื่อ ชื่อสกุล
คุณวุฒิ
ระยะเวลาการเป็นครู
หมายเหตุ
๑. จ.ส.ต.ประทาน พละทรัพย์
ม.๖
๓ ปี
มว.มชส.ร้อย ตชด.๓๔๖
๒. ส.ต.ต.วินิจ แย้มวงษ์
ปริญญาตรี
๖ เดือน
มว.มชส.ร้อย ตชด.๓๔๖
๓. ส.ต.ต.ทวัตร์ พรหมมา
ปริญญาตรี
๒ ปี
มว.มชส.ร้อย ตชด.๓๔๖
๔. น.ส.บัวทอง เทากมลเดช
ม.๓
๔ ปี
ผู้ดูแลเด็ก
๕. น.ส.นภา ทวีพูนสุข
ป.๖
๑ ปี
ผู้ดูแลเด็ก

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๓๐
๒๗
๕๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
๑๘
๒๗
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๓
รวม
๕๕
๕๖
๑๑๑

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.ประทาน พละทรัพย์
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน สำนักงานเกษตรอำเภอแม่สอด ปศุสัตว์อำเภอแม่สอด และประมงจังหวัดตาก
แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ลำห้วยยุวะโก และลำห้วยไม้แป้น
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๔๐
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน

รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๙
๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน กิโลกรัม
๓. นมผง ๓ งวด จำนวน กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๔๐
๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน กิโลกรัม
๓. นมผง ๑ งวด จำนวน กิโลกรัม
๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๔๑
๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน กิโลกรัม
๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน กิโลกรัม
๓. นมผง ๑ งวด จำนวน กิโลกรัม

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๖๐)
สำนักงาน, [๒๕__]