ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้าน
แม่กลองใหญ่
ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน(ตั้งแต่เริ่ม)

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กลองใหญ่

ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ ตำบลโมโกร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จ่าสิบตำรวจสมพงษ์ สงวนศักดิ์ หน้าชุด พสม.ตชด.สว. ที่ ๑ บ้านแม่กลองใหญ่ พร้อมด้วย สิบตำรวจตรีวัฒนา ภิระบรรณ เข้ามาปฏิบัติงานในหมู่บ้านได้รับทราบถึงความต้องการของราษฎรในหมู่บ้านที่ต้องการรู้หนังสือ จึงได้ร่วมกับราษฎรสร้างอาคารเรียน จำนวน ๑ หลัง ฝ้าและพื้นทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก เปิดสอนหนังสือแก่เด็กและชาวบ้าน เพื่อให้อ่านออกเขียนได้โดยตั้งชื่อว่า โรงเรียน พสม. ๑ บ้านแม่กลองใหญ่
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้อนุมัติให้จัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม เปลี่ยนชื่อจากเดิมเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่กลองใหญ่ และได้ย้ายสถานที่เดิมขึ้นไปทางทิศตะวันออกห่างจากหมู่บ้าน ๒๐๐ เมตร ปรับสร้างอาคารเรียนใหม่ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๔๒ เมตร รวม ๔ ห้องเรียน เป็นอาคารเรียนชั่วคราว หลังคามุงด้วยสังกะสี ได้รับการสนับสนุนวัสดุ - อุปกรณ์ จากกองร้อย ตชด. ๓๔๗, นายสุดใจ เกิดมูล, นางเฉลิม อิศรางกูล ณ อยุยา, คณะครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่กลองใหญ่ โดยมีนายดาบ ตำรวจพจน์ อิศรางกูร ณ อยุยา ครูใหญ่เป็นผู้รับผิดชอบ

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กลองใหญ่ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ จังหวัดตาก เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านแม่กลองใหญ่ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๘

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔
    ๒. ห้องสมุด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔
    ๓. ห้องพยาบาล กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔
    ๔. โรงอาหาร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔
    ๕. ห้องส้วม กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔
    สาธารณสุขอำเภออุ้มผาง

    จำนวนครูและนักเรียน
    เริ่มแรกเปิดทำการสอนมีนักเรียน ๔๒ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๘๖ คน เป็นชาย ๘๙ คน หญิง ๙๗ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย ครูช่วยสอน ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    คุณวุฒิ
    หน้าที่
    ๑. ส.ต.อ.นรินทร์ นาคปรีชา ปวช. ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๒. พลฯ บรรดล เมืองมูล ม.๖ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๓. พลฯ สุนทร ทบตรา ม.๖ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๔. พลฯ คนึง ทาวงศ์ษา ศศ.บ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๕. พลฯ รณวีห์ ประเสริฐสุข ม.๖ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๖. ส.ต.ต.สมพงษ์จิต ชรินทร์ ม.ศ.๓ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๗. พลฯ วันชัย คำลือ ม.๖  

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๒๑
    ๒๔
    ๔๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๖
    ๑๙
    ๔๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๒
    ๒๐
    ๓๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๗
    ๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๑
    รวม
    ๘๙
    ๙๗
    ๑๘๖

    โครงการตามพระราชดำริที่ดำเนินการ
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตาม พระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (พ.ศ. ๒๕๓๕ - พ.ศ. ๒๕๓๙)

    งานด้านอาหารและโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ จ่าสิบตำรวจสมพงษ์ สงวนศักดิ์

    ผลของการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน มีดังนี้
    กิจกรรม
    ผลการดำเนินงาน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ๑.การปลูกพืชผัก สามารถนำมาประกอบอาหาร
    ได้ และแจกจ่ายแก่ราษฎรได้
    เกษตรอำเภออุ้มผาง
    ๒. การปลูกไม้ผล กำลังเริ่มให้ผลผลิต เกษตรอำเภออุ้มผาง
    ๓. การเลี้ยงสัตว์ กำลังเริ่มให้ผลผลิต กก.ตชด.๓๔
    ๔. การถนอมอาหาร ผักกาดดอง - หน่อไม้ดอง เกษตรอำเภออุ้มผาง
    ๕. การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่า
    เกณฑ์มาตราฐาน จำนวน๑๒ คน
    สาธารณสุขอำเภออุ้มผาง

    รายการสิ่งของพระราชทาน(ตั้งแต่เริ่ม)
    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
    ๒. ไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสม จำนวน ๕๐ ตัว

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๕
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
    ๓. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๒๐๐ กิโลกรัม
    ๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง
    ๕. โปรตีน ๓ งวด จำนวน ๑๔๗ กิโลกรัม
    ๖. โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก
    ๗. โครงการเลี้ยงเป็ดเทศ
    ๘. โครงการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

    ปีการศึกษา ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม

    ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๓๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๓๐ กิโลกรัม

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี . (๘๔)
    (ตก. ท๑ ส๖๕๒๗ ๒๕๓๗)