ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่กลองคีสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแม่กลองคี

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ หมู่บ้านแม่กลองคี ตำบลโมโกร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ได้รับอนุมัติจัดตั้งเมื่อ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ โดยพระอาจารย์ สืบ ภัททะปัญโญ และคณะครูโรงเรียนดัดดรุณี จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผู้จัดหางบประมาณในการก่อสร้างอาคาร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๖ (เดิม) ร่วมกับราษฎรในพื้นที่ ซึ่งได้รับบริจาคที่ดินจากนายพะยวยก่า วิรัชมงคลศรี เป็นเนื้อที่จำนวน ๑๖ ไร่ ๔๐ ตารางวา เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๘ เป็นอาคารถาวรทำด้วยไม้ ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๑ เมตร จำนวน ๓ ห้องเรียน ใช้งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงินจำนวน ๑๕๓,๔๕๐ บาท นางทัศนีย์ เตียรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนดัดดรุณี ได้มอบอาคารเรียนให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๖ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ โดยมี พล.ต.ต.ชุบ สงวนสัตย์ ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๓ เป็นประธานรับมอบและได้เปิดทำการสอนตลอดมา
เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๔ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔๗ ได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรทำด้วยไม้ ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๔ เมตร จำนวน ๓ ห้องเรียน โดยได้งบประมาณจากคุณหญิง ขจี กันตะบุตร ซึ่งถวายผ่านสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๓๔ สโมสรนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้สร้างอาคารเรียนถาวร คอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๒๗ เมตร จำนวน ๓ ห้องเรียน ทางโมสรฯ ได้มอบอาคารเรียนและโต๊ะ ม้านั่ง รวม ๖๐ ชุด ให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ (ปัจจุบัน) เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๔ โดยมี พ.ต.ท.บุญมา เพิ่มวารี รองผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ เป็นประธานรับมอบ
วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๔ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยม และติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริในโรงเรียน
วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๕ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยม และติดตามงานโครงการตามพระราชดำริในโรงเรียนเป็นการเสด็จเยี่ยมครั้งที่สอง
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้อนุมัติจัดตั้ง ร.ร.ปจว.ตชด.บ้าน เลตองคุ, ร.ร.ปจว.ตชด.บ้านหม่องกั๊วะ ,ร.ร.ปจว.ตชด.บ้านแม่จันทะ เป็นสาขาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กลองคี
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๖ ไร่ ๔๐ ตารางวา

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ข้อมูลหมู่บ้านแม่กลองคี หมู่ ๓ ตำบลโมโกร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
หมู่บ้านแม่กลองคี เป็นภาษากะเหรี่ยงดอย แปลว่า ต้นกำเนิดของแม่กลอง สรุปคือเป็นชื่อหมู่บ้านตามแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ราษฎรตั้งถิ่นฐานมาประมาณเกือบ ๒๐๐ ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ เกิดการสู้รบระหว่างกำลังฝ่ายรัฐบาลกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ราษฎรได้อพยพไปอยู่ที่อื่น
เมื่อปี ๒๕๒๕ การสู้รบยุติลงชาวเขาได้เข้ามอบตัว ต่อมาได้ร่วมเป็นกลุ่มพัฒนาชาติไทยที่บ้านแม่กลองคีเดิมและได้เริ่มจัดตั้ง ร.ร.ชด.บ้านแม่กลองคี ขึ้นในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ และได้เปิดทำการสอนมาตลอดจนถึงปัจจุบัน
หมู่บ้านตั้งอยู่ในหุบเขา มีแม่น้ำหนึ่งสายคือ แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้าน ลักษณะบ้านชาวบ้านเป็นบ้านไม้ และบ้านฟากไม้ไผ่ พื้นที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ

อาณาเขตของหมู่บ้านทางการปกครอง
ทิศเหนือ ติดกับ บ้านแม่กลองใหญ่ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
ทิศใต้ ติดกับ บ้านวะครึโค๊ะ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพเมียนม่าร์

การคมนาคม
ระยะทางจากอำเภออุ้มผาง ถึงหมู่บ้านแม่กลองคี ระยะทาง ๓๒ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
ในหมู่บ้านมีประชากรทั้งหมด ๙๙๕ คน เป็นชาย ๕๓๘ คน หญิง ๔๕๗ คน จำนวนหลังคาเรือน ๑๖๘ หลัง
เป็นชาวเขาเผ่า กะเหรี่ยง ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ภาษาพูดเป็นภาษากะเหรี่ยงและเขียนเป็นภาษากะเหรี่ยง ส่วนนักเรียนที่จบจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านแม่กลองคีจะพูดภาษาไทยและเขียนภาษาไทย

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ข้าวโพด ถั่วลิสง ทำนาข้าว รายได้เฉลี่ย ๑๕,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนันชื่อ นายสมเดช ฉัตรชัยลือนาม
ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเจริญ ชนชีวารัตน์
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายบุญชุม วิรัชมงคลศรี, นายบุญเรือง ตระกูลสีขาว
ผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ นายซาแฮ , นางมะเลหง่วย

การสาธารณสุข
  • - สสช.บ้านแม่กลองคี
  • - โรงพยาบาลอุ้มผาง

  • ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ ค่านิยม ความเชื่อถือ
    ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ และมีประเพณีเก่าๆ อยู่บ้าง เช่น การไหว้ผี ไหว้เจดีย์ บนภูเขาที่สูง ในวันเข้าพรรษาและออกพรรษา

    สาธารณูปโภคที่มีอยู่ในหมู่บ้าน
    ๑. ประปาภูเขา
    ๒. มีไฟฟ้าใช้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐
    ๓. มีโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐

    ปัญหาของประชาชนในหมู่บ้าน
  • - การได้รับข่าวหรือสื่อสารเป็นไปได้ช้า เช่น ทีวีใช้รับช่องสัญญาณไม่ได้นอกจากใช้จานดาวเทียม
  • - ปัญหาการเจ็บป่วย

  • ความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน
  • - อ่างเก็บน้ำ, คลองส่งน้ำสู่ไร่นา
  • - ราคาผลผลิตที่ดี

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
    รายการ
    จำนวน
    ๑. อาคารเรียน
    ๓ หลัง
    ๒. อาคารอเนกประสงค์
    ๑ หลัง
    ๓. อาคารสหกรณ์
    ๑ หลัง
    ๔. อาคารศูนย์ฝึกอาชีพ
    ๑ หลัง

    จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๙๔ คน เป็นชาย ๙๘ คน หญิง ๙๖ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นาย ครูพลเรือน ๑ คน ผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ ชื่อ ชื่อสกุล
    คุณวุฒิ
    ระยะเวลาการเป็นครู
    หมายเหตุ
    ร.ต.ต. ไพบูลย์ บุญเจริญ
    ปกศ.ต้น
    ๒๕๒๗ - ปัจจุบัน
     
    ส.ต.ท. สุริยัน จันทา
    ม.๖
    ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน
     
    ส.ต.ต. ณุวัฒน์ อุดมศิริ
    ปวช.
    ๒๕๓๗ - ปัจจุบัน
     
    ส.ต.ต. ธีรภัท ชำนาญ
    ม.๖
    ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน
     
    ส.ต.ต. ประชันย์ จันต๊ะวงค์
    ม.๖
    ๒๕๓๙ - ปัจจุบัน
     
    นาย ประวัติ มีชิน
    ม.๖
    ๒๕๑๓ - ปัจจุบัน
    ครูพลเรือน
    น.ส. อรพินท์ ผาอ่าง
    ม.๖
    ๒๕๓๗ - ปัจจุบัน
    ผู้ดูแลเด็ก
    น.ส. จันพอ วิรัชมงคลศรี
    ป.๖
    ๒๕๓๗ - ปัจจุบัน
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๖
    ๑๔
    ๔๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๗
    ๑๗
    ๓๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๐
    ๑๐
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๘
    ๒๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๕
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๒
    ๑๐
    ๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๙
    ๒๗
    รวม
    ๙๘
    ๙๖
    ๑๙๔

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.ประชันย์ จันต๊ะวงศ์
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภออุ้มผาง, ปศุสัตว์อำเภออุ้มผาง และประมงอำเภออุ้มผาง
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร คือ ประปาภูเขา และน้ำจากลำเหมือง
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๐๕
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ๒๕๔๑
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕๑๘.๕๐ ๐.๐๐ ๖๐๐.๐๐ ๕๗๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๖๗.๒๗ ๐.๐๐ ๓๐๙.๒๘ ๒๙๓.๘๑
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๖๖๘.๑๗ ๐.๐๐ ๓๐๙.๒๘ ๒๙๓.๘๑
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    มิถุนายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๕๙๐.๐๐ ๐.๐๐ ๖๓๐.๐๐ ๖๐๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๖๘.๙๖ ๐.๐๐ ๑๘๐.๔๑ ๑๗๑.๘๒
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๔๒๒.๓๙ ๐.๐๐ ๑๘๐.๔๑ ๑๗๑.๘๒
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๐๕.๐๐ ๐.๐๐ ๖๔๐.๐๐ ๖๐๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๕๕.๙๓ ๐.๐๐ ๑๖๔.๙๔ ๑๕๔.๖๔
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๓๘๙.๘๒ ๐.๐๐ ๑๖๔.๙๕ ๑๕๔.๖๔
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๗๐๓.๕๐ ๐.๐๐ ๘๗๐.๐๐ ๗๘๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๘๑.๓๑ ๐.๐๐ ๒๒๔.๒๓ ๒๐๑.๐๓
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๔๕๓.๒๙ ๐.๐๐ ๒๒๔.๒๓ ๒๐๑.๐๓
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๗๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๘๕๐.๐๐ ๑,๐๐๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๖๔.๐๑ ๐.๐๐ ๑๙๙.๑๖ ๒๓๔.๓๐
      %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม) ๔๓๖.๑๓ ๐.๐๐ ๒๓๕.๑๘ ๓๕๔.๓๘
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ดีมาก ดีมาก

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๔๐
    ๓๖
    ๓๐
    ๑๖.๖๗
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๓๔
    ๓๑
    ๒๓
    ๒๕.๘๑
    พอใช้
    ประถม ๒
    ๒๔
    ๒๓
    ๒๒
    ๔.๓๕
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๗
    ๒๔
    ๒๒
    ๘.๓๓
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๒๐
    ๒๐
    ๑๘
    ๑๐.๐๐
    ดี
    ประถม ๕
    ๒๒
    ๒๑
    ๑๙
    ๙.๕๒
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๒๗
    ๒๗
    ๒๖
    ๓.๗๐
    ดีมาก
    รวม
    ๑๕๔
    ๑๔๖
    ๑๓๐
    ๑๖
    ๑๐.๙๖
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๓ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ชุด
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ชุด
    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๑ งวด จำนวน กิโลกรัม
    ๔. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๒๐)
    (พล. ท๑ ส๖๕๒๗ ๒๕๔๒)