ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านมอเกอร์ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านมอเกอร์

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ บ้านมอเกอร์ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
ก่อตั้งและเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๑ โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ (เขต ๖ เดิม) เห็นว่าบ้านมอเกอร์เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มีการโยกย้ายทำไร่เลื่อนลอย หากเป็นเช่นนี้ต่อไป อาจจะก่อให้เกิดปัญหากับบ้านเมืองได้ ทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 6 จึงสั่งให้ พลฯ มงคล ไปสำรวจข้อมูลต่างๆ เพื่อจะจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อได้ข้อมูลต่างๆ แล้ว จึงมอบหมายให้ พลฯ มงคล, พลฯ ก้อน กันทะวงษ์ เข้าไปสอนหนังสือให้กับราษฎรและเด็กนักเรียน เพื่อให้รู้จักภาษาไทย พูด อ่าน เขียนได้ โดยใช้อาคารแบบชั่วคราว
เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ สิบตำรวจโท ทรง เกษาพร เข้าไปเป็นครูใหญ่ เห็นว่าอาคารเรียนเดิมชำรุดมาก จึงพร้อมด้วย พลฯ จำเนียร และราษฎรบ้านมอเกอร์ ซึ่งมี นายปิหนะ ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยกันสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้น ซึ่งมีขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๕ เมตร จำนวน ๒ ห้องเรียน เป็นอาคารกึ่งถาวร หลังคามุงสังกะสี
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๖ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เดินทางไปก่อสร้างอาคารเรียน ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๗ เมตร ๒ ห้องเรียน
ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบการสร้างงานในชนบท จำนวน ๒๕,๐๐๐ บาท (เป็นงบซ่อมแซม) ทางคณะครูและกรรมการศึกษาเห็นว่า อาคารเดิมชำรุดทรุดโทรมมาก ยากแก่การซ่อมแซม จึงได้สร้างอาคารใหม่ขึ้นทดแทน ซึ่งมีขนาดกว้าง ๑๗.๕ เมตร ยาว ๒๘ เมตร ขนาด ๓ ห้องเรียน ในการก่อสร้างครั้งนี้ได้รับการอนุเคราะห์จากภาคเอกชนเป็นอย่างดี โดยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดเป็นเงิน ๑๔๗,๕๕๐ บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นเจ็ดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนงบการสร้างงานในชนบท จำนวน ๓๕,๐๐๐ บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) จึงได้ก่อสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ขึ้นอีก ๑ หลัง โดยพื้นอาคารเทซิเมนต์ ฝาทำด้วยไม้ไผ่

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านมอเกอร์ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ จังหวัดตาก เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๑ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านมอเกอร์ยาง บ้านพบพระ และบ้านหมื่นฤาชัย ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๓๘
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ ถึง ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๙

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ๑ กลุ่มนักศึกษาตากสินร่วมกับภาคเอกชน ร้อย ตชด.๓๔๒, ๓๔๖
    ๒. อาคารเรียน ๒ งบซ่อมแซมการสร้างงานในชนบท ๓๕,๐๐๐ บาท และงบเสริมพิเศษ จาก บช.ตชด.
    ๓. อาคารเรียน ๓ วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
    ๔. ห้องสมุด วิทยาลัยช่างกลปทุมวันก่อสร้าง ตกแต่ง กก.ตชด.๓๔
    ๕. ห้องพยาบาล วิทยาลัยช่างกลปทุมวันก่อสร้าง
    ๖. โรงอาหาร (ศาลาเอนกประสงค์)
    ๗. ห้องน้ำ-ห้องสุขา ร.ร.ตชด., ช่างกลปทุมวัน, มว.มชส.ร้อย ๓๔๖
    ๘. หอกระจายข่าว วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
    ๙. สนามเด็กเล่น วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
    ๑๐. เล้าไก่ วิทยาลัยเกษตรกรรมตาก

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๑๗ คน และครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ คน
    ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๒๐๔ คน เป็นชาย ๑๑๕ คน หญิง ๘๙ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๔ นาย ครูช่วยสอน ๑ คน และผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    คุณวุฒิ
    หน้าที่
    ๑. ส.ต.ต.ภาณุพงษ์ ต้องใจ ม.๖ รักษาราชการแทนครูใหญ่
    ๒. ด.ต.ประหยัด แกล้วกล้า ม.ศ.๓ ครูประจำชั้น ป.๔
    ๓. ส.ต.ต.วินาน ปิมลื้อ ม.๖ ครูประจำชั้น ป.๑
    ๔. พลฯ มรกต ลังกาพินธ์ ปวช. ครูประจำชั้น ป.๕-๖
    ๕. นายเล็ก เนียมก้อน ม.ศ.๓ ครูประจำชั้น ป.๒
    ๖. นางนัดดาพร ทรงบุญธรรม ป.๖ ผู้ดูแลเด็ก
    ๗. นางสาวน่อชูลา ม.๖ ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๓๙
    ๓๐
    ๖๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๗
    ๒๓
    ๕๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๐
    ๑๐
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๑
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๒
    ๑๗
    รวม
    ๑๑๕
    ๘๙
    ๒๐๔

    หมายเหตุ เด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน ๔๔ คน และเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๔๖ คน เป็นเด็กฝากจากศูนย์
    อพยพบ้านมอเกอร์ เป็นชาวกะเหรี่ยงอพยพ

    งานด้านอาหารและโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๒๔
    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ คือ ครูทุกคน

    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ปริมาณรวม (กรัม) ๖๙,๐๐๐ ๓๕,๐๐๐ ๘๐,๐๐๐ ๒๘,๐๐๐
      ปริมาณเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๓๓.๖๓ ๑๗.๐๖ ๓๘.๙๙ ๑๓.๖๕
      % ความต้องการ ๘๔.๐๖ ๖๘.๒๓ ๓๘.๙๙ ๑๓.๖๕
      ประเมินผล ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง
    มิถุนายน ปริมาณรวม (กรัม) ๕๔,๐๐๐ ๑๒,๐๐๐ ๑๐๐,๐๐๐
      ปริมาณเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๔.๓๕ ๓.๑๙ ๒๖.๕๘
      % ความต้องการ ๓๕.๘๙ ๑๒.๗๖ ๒๖.๕๘
      ประเมินผล พอใช้ ปรับปรุง พอใช้ ปรับปรุง
    กรกฎาคม ปริมาณรวม (กรัม) ๕๕,๐๐๐ ๔๔,๐๐๐ ๑๒๐,๐๐๐ ๓๐๐,๐๐๐
      ปริมาณเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๑๖.๙๓ ๑๓.๕๔ ๓๖.๙๓ ๙๒.๓๔
      % ความต้องการ ๔๒.๓๒ ๕๔.๑๗ ๓๖.๙๓ ๙๒.๓๔
      ประเมินผล พอใช้ ดี พอใช้ ดีมาก
    สิงหาคม ปริมาณรวม (กรัม) ๘๓,๕๐๐ ๔๓,๐๐๐ ๑๓๕,๐๐๐ ๓๐๐,๐๐๐
      ปริมาณเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๒๑.๒๓ ๑๐.๙๓ ๓๔.๓๒ ๗๖.๓๘
      % ความต้องการ ๕๓.๐๘ ๔๓.๗๓ ๓๔.๓๒ ๗๖.๒๘
      ประเมินผล ดี พอใช้ พอใช้ ดีมาก
    กันยายน ปริมาณรวม (กรัม) ๒๒๕,๐๐๐ ๔๕,๐๐๐ ๑๔๔,๐๐๐ ๕๖,๐๐๐
      ปริมาณเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ) ๖๒.๖๖ ๑๒.๕๓ ๔๐.๑๐ ๑๕.๕๙
      % ความต้องการ ๑๕๖.๖๔ ๕๐.๑๓ ๔๐.๑๐ ๑๕.๕๙
      ประเมินผล ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง

    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครอง และครูเวรประจำวัน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน รวมได้รับเงินค่าอาหารเดือนละ ๑๗,๑๐๐ บาท ได้รับอาหารเสริม ดังนี้
    ๑) นมสด UHT จากกองกำกับตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๔ จำนวน ๒๔๘ กล่อง
    ๒) นมผง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๗๕๐ กิโลกรัม
    ๓) แป้งถั่วเหลือง จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๕๘๕ กิโลกรัม
    ๔) น้ำตาล จากสำนักพระราชวัง จำนวน ๕๘๕ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑) นมสด UHT ทุกวันสำหรับเด็กเล็ก และเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒) นมผง วันอังคาร และพฤหัสบดี
    ๓) แป้งถั่วเหลือง วันจันทร์ พุธ และศุกร์

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
    ๒. ค่าเครื่องปรุง ๒ งวด  
    ๓. พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น
    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
    ๒. พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น
    ๓. ไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสม ๕๐ ตัว
    ๔. จอบ ๑๐ เล่ม
    ๕. ทัพพี ๒ อัน
    ๖. แก้วแองเคอร์ ๓๐ ใบ
    ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๕
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. โครงการเลี้ยงเป็ดเทศ ๑,๐๐๐ บาท
    ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๖๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๖๐๐ กิโลกรัม
    ๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง
    ปีการศึกษา ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๓. โปรตีนผง ๙ กิโลกรัม
    ปีการศึกษา ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม
    ๓. นมผง ๒ งวด จำนวน ๗๕ กิโลกรัม
    ๔. โปรตีนผง ๑ งวด จำนวน ๖ กิโลกรัม

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๑๑๘)
    (พล. ท๑ ส๖๕๒๗ ๒๕๓๘)