|
ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชนัตถ์ปิยะอุย
ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านเจดีย์ทอง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยได้รับเงินส่วนหนึ่งจากนางชนัตถ์
ปิยะอุย ถวายโดยเสด็จพระราชกุศล และด้วยความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านเจดีย์ทองและเผ่าม้งที่เห็นความสำคัญของการศึกษาที่ต้องการให้บุตรหลาน
ดำเนินการโดยทางกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ๕ อำเภอแม่ริม
จังหวัดเชียงใหม่ (ในขณะนั้น) จัดสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น
๑ หลัง ด้วยเงินงบประมาณส่วนหนึ่งจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต
๕
|
ความเป็นมา
ในอดีตหมู่บ้านเจดีย์ทอง ก่อตั้งขึ้นโดยชาวเขาเผ่าเย้า
ซึ่งอพยพหนีการโจมตีของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)
มาจากบ้านหนองเตา ประมาณ ๒๗ หลังคาเรือน โดยมี พญาเลาอู
แซ่ฟุ้ง เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านดอนเย้า"
ต่อมาสถานการณ์ ผกค. สงบลงชาวเขาเผ่าเย้า จึงได้อพยพกลับไปยังบ้านหนองเตา
ถิ่นฐานเดิม โดยมีชาวเขาเผ่าม้งจากบ้านห้วยกุ๊ก และบ้านกิ่วกาญจน์
อพยพเข้ามาแทนแล้วเปลี่ยนชื่อหมู่บ้าน เป็น
"บ้านเจดีย์ทอง" มีนาย เลาเห้อ ทะนุบงกช เป็นหัวหน้าหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
|
อาณาเขต
ทิศเหนือ | ติดต่อ | ติดต่อบ้านดอน |
ทิศใต้ | ติดต่อ | ติดต่อบ้านปางหัด |
ทิศตะวันออก | ติดต่อ | บ้านห้วยปอ และห้วยกุ๊ก |
ทิศตะวันตก | ติดต่อ | บ้านกอก |
การปกครองและประชากร
ปัจจุบันมีนายเลาเห้อ ทะนุบงกช เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน
ราษฎรมีจำนวน ๔๑ ครัวเรือน ประชากร ๒๗๖ คน เป็นชาย ๑๓๔ คน หญิง ๑๔๒ คน เป็นชาวเขาเผ่าม้ง
|
อาชีพ
ทำไร่ และรับจ้าง รายได้เฉลี่ยประมาณ ๕,๐๐๐ บาท/ครอบครัว/ปี
|
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนชนัตถ์ปิยะอุย เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดพะเยา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านกอก บ้านดอน และบ้านเจดีย์ทอง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึง ๖ ตุลาคม ๒๕๓๘
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ ถึง ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๙
|
อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
|
อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก
| ผู้ให้การสนับสนุน |
๑) อาคารเรียน ๑
| คุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย |
๒) โรงอาหาร
| กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ |
๓) ห้องน้ำ - ห้องสุขา
| คุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย |
๔) สนามเด็กเล่น
| คุณหญิงชนัตถ์ ปิยะอุย |
จำนวนครูและนักเรียน
เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๖๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๔๕ คน เป็นชาย ๑๕ คน หญิง ๓๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๕ นาย
|
ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
ยศ - ชื่อ - นามสกุล
| คุณวุฒิ
| หน้าที่รับผิดชอบ |
๑) ด.ต.นิพนธ์ วงศ์โกฎ
| ปกศ.
| ครูใหญ่ |
๒) ส.ต.อ.ศฤงคาร ถาวรศ์
| ม.ศ.๕
| ครูประจำชั้น |
๓) ส.ต.ท.ศักดิ์ สบบง
| ม.๖
| ครูประจำชั้น |
๔) พลฯ ครรชิต วงศ์ไชย
| ม.๖
| ครูประจำชั้น |
๕) พลฯ ณัฐวัฒน์ ดุลพิพัฒน์
| ปวช.
| ครูประจำชั้น |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๘
ชั้น
| ชาย
| หญิง
| รวม |
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
| ๙
| ๑๖
| ๒๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
| ๓
| ๙
| ๑๒ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
| -
| ๓
| ๓ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
| ๓
| ๒
| ๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
| -
| -
| - |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
| -
| -
| - |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
| -
| -
| - |
รวม
| ๑๕
| ๓๐
| ๔๕ |
โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้
|
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ท.ศักดิ์ สบบง
|
ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๘
เดือน
| หมวด |
เนื้อสัตว์
| ถั่ว
| ผัก
| ผลไม้ |
พฤษภาคม
| ผลผลิตรวม (กรัม)
| ๑๓,๐๐๐
| ๐.๐๐
| ๒๔,๐๐๐
| ๑๑,๐๐๐ |
| ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
| ๓๖.๙๓
| ๐.๐๐
| ๖๘.๑๘
| ๓๑.๒๕ |
| %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
| ๙๒.๓๓
| ๐.๐๐
| ๖๘.๑๘
| ๓๑.๒๕ |
| ประเมินผล
| ดีมาก
| ปรับปรุง
| ดี
| พอใช้ |
มิถุนายน
| ผลผลิตรวม (กรัม)
| ๓๓,๔๐๐
| ๐.๐๐
| ๖๒,๐๐๐
| ๔๙,๐๐๐ |
| ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
| ๓๔.๕๐
| ๐.๐๐
| ๖๔.๐๕
| ๕๐.๖๒ |
| %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
| ๘๖.๒๖
| ๐.๐๐
| ๖๔.๐๕
| ๕๐.๖๒ |
| ประเมินผล
| ดีมาก
| ปรับปรุง
| ดี
| ดี |
กรกฎาคม
| ผลผลิตรวม (กรัม)
| ๔๐,๕๐๐
| ๐.๐๐
| ๖๓,๐๐๐
| ๕๒,๐๐๐ |
| ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
| ๔๘.๔๔
| ๐.๐๐
| ๗๕.๒๖
| ๖๒.๒๐ |
| %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
| ๑๒๑.๑๑
| ๐.๐๐
| ๗๕.๓๖
| ๖๒.๒๐ |
| ประเมินผล
| ดีมาก
| ปรับปรุง
| ดีมาก
| ดี |
สิงหาคม
| ผลผลิตรวม (กรัม)
| ๕๒,๐๐๐
| ๐.๐๐
| ๗๔,๐๐๐
| ๖๕,๐๐๐ |
| ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
| ๕๑.๓๘
| ๐.๐๐
| ๗๓.๑๒
| ๖๔.๒๓ |
| %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
| ๑๒๘.๔๖
| ๐.๐๐
| ๗๓.๑๒
| ๖๔.๒๓ |
| ประเมินผล
| ดีมาก
| ปรับปรุง
| ดี
| ดี |
กันยายน
| ผลผลิตรวม (กรัม)
| ๔๙,๗๕๐
| ๐.๐๐
| ๖๖,๐๐๐
| ๕๙,๐๐๐ |
| ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
| ๕๘.๘๔
| ๐.๐๐
| ๗๑.๔๓
| ๖๓.๘๕ |
| %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
| ๑๓๔.๖๐
| ๐.๐๐
| ๗๑.๔๓
| ๖๓.๘๕ |
| ประเมินผล
| ดีมาก
| ปรับปรุง
| ดี
| ดี |
ตุลาคม
| ผลผลิตรวม (กรัม)
| ๒๔,๐๐๐
| ๐.๐๐
| ๓๘,๐๐๐
| ๓๐,๐๐๐ |
| ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
| ๔๙.๕๙
| ๐.๐๐
| ๗๘.๕๑
| ๖๑.๙๘ |
| %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
| ๑๒๓.๙๗
| ๐.๐๐
| ๗๘.๕๑
| ๖๑.๙๘ |
| ประเมินผล
| ดีมาก
| ปรับปรุง
| ดีมาก
| ดี |
พฤศจิกายน
| ผลผลิตรวม (กรัม)
| ๗๒,๖๐๐
| ๐.๐๐
| ๕๔,๐๐๐
| ๘๑,๐๐๐ |
| ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
| ๗๕.๐๐
| ๐.๐๐
| ๕๕.๗๙
| ๘๓.๖๘ |
| %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
| ๑๘๗.๕๐
| ๐.๐๐
| ๕๕.๗๙
| ๘๓.๖๘ |
| ประเมินผล
| ดีมาก
| ปรับปรุง
| ดี
| ดีมาก |
ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครู นักเรียน
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๔ คน
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน
|
มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ ครั้งที่ ๒)
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| ระดับ๑
| ระดับ๒
| ระดับ๓
| รวม
| % ต่ำหว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
เด็กเล็ก
| ๒๕
| ๒๕
| ๒๔
| ๑
| -
| -
| ๑
| ๔.๐๐
| ดีมาก |
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
| % ต่ำหว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
ประถม ๑
| ๑๒
| ๑๒
| ๑๐
| ๒
| ๑๖.๖๗
| ดี |
ประถม ๒
| ๓
| ๓
| ๓
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก |
ประถม ๓
| ๕
| ๕
| ๔
| ๑
| ๒๐.๐๐
| พอใช้ |
รวม
| ๒๐
| ๒๐
| ๑๗
| ๓
| ๑๕.๐๐
| ดี |
รายการสิ่งของพระราชทาน
ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓
๑) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๒) ค่าเครื่องปรุง ๒ งวด จำนวน ๒,๖๔๐ บาท
ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
๑) เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๕
๑) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
๓) โปรตีนผง ๓ งวด จำนวน ๒๗ กิโลกรัม
๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
๕) เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง
ปีการศึกษา ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
๓) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
๓) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
ปีการศึกษา ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙
๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๕๕ กิโลกรัม
๓) นมผง ๓ งวด จำนวน ๗๒ กิโลกรัม
๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
|
|