ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน (ตั้งแต่เริ่ม)

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๔ ตำบลแม่สะลองใน กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยกองร้อยที่ ๒ ตำรวจตระเวนชายแดน เขต ๕ เดิม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยนั้น มีครูทำหน้าที่ปฏิบัติการเรียนการสอน จำนวน ๒ นาย คือ จ.ส.ต.สมาน พิทักษ์วงศ์ ทำหน้าที่ครูใหญ่ และพลฯ นุรักษ์ บุตรธนู เป็นครูน้อย มีนักเรียนจำนวนทั้งหมด ๑๘ คน ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โรงเรียนจึงได้ย้ายตามหมู่บ้านมาตั้งที่แห่งใหม่ เนื่องจากหมู่บ้านติดชายแดนเกินไป ห่างไกลเส้นทางคมนาคมตลอดจนความยุ่งยากในด้านความเป็นอยู่ทั้งความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ซึ่งที่แห่งใหม่ ห่างจากที่ดินประมาณ ๔ กิโลเมตร และได้รับเงินบริจาคจากพระพิบูลพุทธิรังษี (พระสืบ) เป็นเงินจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) เพื่อจัดสร้างอาคารเรียน บ้านพักครูดังกล่าว
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ ดำเนินการตามโครงการพระราชดำริทุกโครงการ โดยมีพื้นที่ของโรงเรียนอยู่ในเขตป่าสงวนประมาณ ๑๕ ไร่

ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดพะเยา เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านโป่งไฮ, เสาะไม้, ป่าแอ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด พฤษภาคม ถึง ตุลาคม
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด พฤศจิกายน ถึง มีนาคม

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
    อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
    ๒. ห้องสมุด วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน
    ๓. ห้องส้วม วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน, วิทยาลัยเกษตร, กก.ตชด.๓๒
    ๔. สนามเด็กเล่น โรงพยาบาลธนบุรี

    จำนวนครูและนักเรียน
    เริ่มแรกเปิดทำการสอนมีนักเรียน ๑๘ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๒๗ คน เป็นชาย ๗๖ คน หญิง ๕๑ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ
    คุณวุฒิ
    หน้าที่
    ๑. จ.ส.ต.อนันต์ เกสร
    ปริญญาตรี
    ครูใหญ่
    ๒. ส.ต.ท.ชัยณรงค์ วงศ์ชัย
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๓. ส.ต.ต.จำรัส รวมสุข
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๔. ส.ต.ต.อัครวัฒน์ เมธาฤทธิ์
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๔. ส.ต.ต.บุญทวี ประดับผล
    ปริญญาตรี
    ครูผู้สอน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    -
    -
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๔๓
    ๔๐
    ๘๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๓
    ๑๙
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๗๖
    ๕๑
    ๑๒๗

    โครงการตามพระราชดำริที่ดำเนินการ
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีจึงทรงพระกรุราโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (พ.ศ.๒๕๓๕ - พ.ศ.๒๕๓๙)

    งานด้านอาหารและโภชนาการ และสุขภาพอนามัย
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ สิบตำรวจตรีบุญทรี ประดับผล
    ผู้ดำเนินงานโครงการ คือ ครูโรงเรียน, วิทยาลัยเกษตรกรรม, เกษตรกิ่งแม่บ้านเลย

    ผลของการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน มีดังนี้
    กิจกรรม
    ผลการดำเนินงาน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ๑. การปลูกพืชผัก ปลูกผักสวนครัวหมุนเวียน เกษตรกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง
    ๒. การปลูกไม้ผล กำลังอยู่ระหว่างเจริญเติบโต เกษตรกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง
    ๓. การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ และสุกร วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงราย
    ๔. การเฝ้าระวัง มีนักเรียนทีมีน้ำหนักต่ำกว่า
    เกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๖๖ คน
    กรมอนามัย
    ๕. กิจกรรมอื่น ๆ ให้อาหารเสริมประกอบเลี้ยง
    -

    รายการสิ่งของพระราชทาน (ตั้งแต่เริ่ม)
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. ค่าเครื่องปรุง ๒ งวด จำนวน ๑,๕๖๐ บาท
    ๓. ต้นมะม่วงพันธุ์ ๕ ต้น
    ๔. โครงการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ๘๐๐ บาท

    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
    ๒. ต้นพันธุ์มะม่วง ๕ ต้น

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๕
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๓. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๔. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง
    ๕. โปรตีนผง ๓ งวด จำนวน ๕๒ กิโลกรัม

    ปีการศึกษา ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๔๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๔๐ กิโลกรัม

    ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.
    สยามบรมราชกุมารี. (๓๙)
    (เหนือ ท๑ ส๖๕๒๖ ๒๕๓๘)