ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒

บ้านโป่งไฮ หมู่ที่ ๒๑ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
เดิมราษฎรบ้านโป่งไฮอาศัยอยู่ในเขตประเทศพม่า และอพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตชายแดนประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ บริเวณต้นน้ำโป่งไฮ จำนวน ๑๘ ครอบครัว โดยนายทูมอ เป็นผู้นำหมู่บ้าน ต่อมาชุดเฝ้าตรวจชายแดนกองร้อยที่ ๒ ค่ายกิ่วทัพยั้ง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายเขต ๕ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้ามาตั้งชุดเฝ้าตรวจชายแดนที่ ๒ บริเวณชายแดนติดกับบ้านโป่งไฮเก่า ด้วยเหตุที่ว่าประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของชุดเฝ้าตรวจชายแดนที่ ๒ เป็นชนเผ่าอาข่าไม่สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารกันได้ อีกทั้งหมู่บ้านตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลคมนาคม และยังไม่มีหน่วยงานด้านการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ เข้ามายังหมู่บ้านทั้งเพื่อเป็นการทำงานด้านการข่าว งานด้านมวลชนสัมพันธ์ และติดต่อประสานงานกับชุมชน ทางชุดเฝ้าตรวจชายแดนที่ ๒ จึงร่วมกับชาวบ้านจัดตั้งโรงเรียนชั่วคราวขึ้นครั้งแรกในหมู่บ้านเมื่อเดือน กรกฎาคม ๒๕๒๒ โดยมีจ่าสิบตำรวจสมาน พิทักษ์วงศ์ ทำหน้าที่ครูใหญ่และ พลฯ อนุรักษ์ บุตรธนู เป็นครูผู้สอนมีนักเรียนทั้งหมด ๑๘ คน
เมื่อปี ๒๕๒๕ ได้เกิดพายุรุนแรงพัดอาคารเรียนพังเสียหาย จึงได้ย้ายไปสร้างที่ใหม่ ห่างจากเดิม ๒๐๐ เมตร
เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาเอกเทศ
ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๔ ราษฎรได้อพยพพร้อมกับย้ายโรงเรียนลงมาตั้งหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน สาเหตุเนื่องจากราษฎรได้รับผลกระทบจากกองกำลังของทหารว้าเข้ามารบกวนลักขโมยสัตว์เลี้ยง และความไม่ปลอดภัยในชีวิตราษฎรได้รวมตัวกันเข้าไปร้องเรียนกับหน่วยงานของทางราชการประชาสงเคราะห์ (ขณะนั้น) จนนำไปสู่การย้ายหมู่บ้านตามที่ปรากฏในปัจจุบัน
นอกจากทำการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการแล้ว โรงเรียนได้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ๗ โครงการคือ
๑) โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๒) โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๓) โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
๔) โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ฯ
๕) โครงการส่งเสริมสหกรณ์
๖) โครงการฝึกอาชีพ
๗) โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๓๕ พระพิบูลพุทธรังสี (พระสืบ ภัทรปัญโญ) ได้บริจาคเงิน จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๘ x ๒๑ เมตร
เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม - ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ คณะนักศึกษาวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน กรุงเทพฯ ได้ออกค่ายอาสาพัฒนา ทำการก่อสร้างอาคารเรียนแบบถาวร จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๑๑ x ๔๓ เมตร จำนวน ๘ ห้องเรียน พร้อมเสาธงชาติ ห้องน้ำ–ห้องส้วมนักเรียน จำนวน ๒ ห้อง มูลค่าประมาณ ๕๔๕,๐๒๕ บาท (ห้าแสนสี่หมื่นห้าพันยี่สิบห้าบาทถ้วน)
เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโรงเรียนโรงเรียนแห่งนี้ และติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ รวมทั้งสิ้น ๗ โครงการ และทรงปลูกต้นลิ้นจี่ “พันธุ์จักรพรรดิ” จำนวน ๑ ต้น
ปี ๒๕๓๙ โรงเรียนได้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ เพิ่มเติมอีก ๑ โครงการ คือ โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร รวมดำเนินการทั้งสิ้น ๘ โครงการ
เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ นายสำรวย โตยะวนิช ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงอาหาร จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๖ x ๑๑ เมตร มูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ โรงเรียนได้เริ่มจัดการเรียนการสอนนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๖ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๑๒ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดพะเยา
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ถึง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๖
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๑๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๗๙ คน เป็นชาย ๙๑ คน หญิง ๘๘ มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๖
    ระดับชั้น
    จำนวนนักเรียน (คน)
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๔
    ๒๓
    ประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๓
    ๑๓
    ๒๖
    ประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๓
    ๑๕
    ๒๘
    ประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๓
    ประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๒๐
    ๑๗
    ๓๗
    ประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๕
    ๑๔
    ๒๙
    ประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๓
    ๑๐
    ๒๓
    รวม
    ๙๑
    ๘๘
    ๑๗๙

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ - ๒๕๔๕)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๓๖ คน ศึกษาต่อ ๓๐ คน ประกอบอาชีพ ๖ คน

    การดำเนินโครงการ
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ระยะที่ ๓ (๒๕๔๕ – ๒๕๔๙) มีการดำเนินงานดังนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.ต.นิกร ชัยคำ
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สำนักงานส่งเสริมการเกษตรที่สูงหัวแม่คำ และสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาภูเขา
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม ประปาภูเขา
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ คณะครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน
    การเฝ้าระวัง ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ ภาคเรียนที่ ๑ ผลการการตรวจภาวะโภชนาการเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน มีนักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๙๔ ค่อนข้างน้อย จำนวน ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๖ ค่อนข้างมาก+มาก จำนวน ๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๕๖ และมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๓๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๒๓ ค่อนข้างเตี้ย จำนวน ๒๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๑๗ ค่อนข้างสูง+สูง จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๒
  • โรงเรียนได้รับการสนับสนุนเงินอาหารกลางวันจากกองทุนอาหารกลางวันกระทรวงศึกษาธิการ ในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้อาหารเสริมนมปีการศึกษา ๒๕๔๖ ภาคเรียนที่ ๑ จำนวน ๑๐ กระสอบ
    การให้อาหารเสริม ดำเนินการโดยชงนมให้นักเรียนดื่มในอัตรานมผง ๓๐ กรัม/น้ำ ๒๐๐ ซีซี นักเรียนประถมศึกษาดื่มวันละ ๑ แก้ว นักเรียนก่อนประถมศึกษาดื่มวันละ ๒ แก้ว

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๖
    ระดับชั้น จำนวนนักเรียนทั้งหมด จำนวนนักเรียน น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ
    ที่ชั่งน้ำหนัก น้อย ค่อนข้างน้อย ปกติ ค่อนข้างมาก + มาก
    คน ร้อยละ คน ร้อยละ คน ร้อยละ คน ร้อยละ คน ร้อยละ
    เด็กเล็ก
    ๒๓
    ๒๓
    ๑๐๐.๐๐
    ๘.๗๐
    ๐.๐๐
    ๒๑
    ๙๑.๓๐
    ๐.๐๐
    ประถม ๑
    ๒๖
    ๒๖
    ๑๐๐.๐๐
    ๑๙.๒๓
    ๑๕.๓๙
    ๑๗
    ๖๕.๓๘
    ๐.๐๐
    ประถม ๒
    ๒๘
    ๒๘
    ๑๐๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๗.๑๔
    ๒๖
    ๙๒.๘๖
    ๐.๐๐
    ประถม ๓
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๐๐.๐๐
    ๗.๖๙
    ๗.๖๙
    ๑๑
    ๘๔.๖๒
    ๐.๐๐
    ประถม ๔
    ๓๗
    ๓๗
    ๑๐๐.๐๐
    ๘.๑๑
    ๒๔.๓๒
    ๒๕
    ๖๗.๕๗
    ๐.๐๐
    ประถม ๕
    ๒๙
    ๒๙
    ๑๐๐.๐๐
    ๑๐.๓๔
    ๓.๔๕
    ๒๔
    ๘๒.๗๖
    ๓.๔๕
    ประถม ๖
    ๒๓
    ๒๓
    ๑๐๐.๐๐
    ๘.๗๐
    ๔.๓๕
    ๒๐
    ๘๖.๙๖
    ๐.๐๐
    รวม
    ๑๗๙
    ๑๗๙
    ๑๐๐.๐๐
    ๑๖
    ๘.๙๔
    ๑๘
    ๑๐.๐๖
    ๑๔๔
    ๘๐.๔๕
    ๐.๕๖

    อัตราส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๖
    ระดับชั้น

    จำนวนนักเรียนทั้งหมด
    ทั้งหมด

    ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
    จำนวนนักเรียนที่วัดส่วนสูง
    เตี้ย
    ค่อนข้างเตี้ย
    ปกติ
    ค่อนข้างสูง + สูง
    คน
    ร้อยละ
    คน
    ร้อยละ
    คน

    ร้อยละ

    คน
    ร้อยละ
    คน
    ร้อยละ
    เด็กเล็ก
    ๒๓
    ๒๓
    ๑๐๐.๐๐
    ๑๓.๐๔
    ๘.๗๐
    ๑๘
    ๗๘.๒๖
    ๐.๐๐
    ประถม ๑
    ๒๖
    ๒๖
    ๑๐๐.๐๐
    ๒๓.๐๘
    ๑๑.๕๔
    ๑๗
    ๖๕.๓๘
    ๐.๐๐
    ประถม ๒
    ๒๘
    ๒๘
    ๑๐๐.๐๐
    ๗.๑๔
    ๗.๑๔
    ๒๔
    ๘๕.๗๑
    ๐.๐๐
    ประถม ๓
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๐๐.๐๐
    ๒๓.๐๘
    ๗.๖๙
    ๖๙.๒๓
    ๐.๐๐
    ประถม ๔
    ๓๗
    ๓๗
    ๑๐๐.๐๐
    ๑๒
    ๓๒.๔๓
    ๕.๔๑
    ๒๒
    ๕๙.๔๖
    ๒.๗๐
    ประถม ๕
    ๒๙
    ๒๙
    ๑๐๐.๐๐
    ๒๐.๖๙
    ๒๔.๑๔
    ๑๕
    ๕๑.๗๒
    ๓.๔๕
    ประถม ๖
    ๒๓
    ๒๓
    ๑๐๐.๐๐
    ๒๖.๐๙
    ๑๓.๐๔
    ๑๔
    ๖๐.๘๗
    ๐.๐๐
    รวม
    ๑๗๙
    ๑๗๙
    ๑๐๐.๐๐
    ๓๘
    ๒๑.๒๓
    ๒๐
    ๑๑.๑๗
    ๑๑๙
    ๖๖.๔๘
    ๑.๑๒

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี.(๒๐๐)
    (เหนือ ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๗(ก.พ.))