ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาโต่ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาโต่

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาโต่ (วปรอ.๓๔๔ อุปถัมภ์) เดิมชื่อ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาโต่ ตั้งอยู่บ้านนาโต่ หมู่ที่ ๔ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ข้างเคียงโครงการพัฒนาดอยตุง (พมพ.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในถิ่นทุรกันดาร และปลูกฝังจิตสำนึกให้มีความจงรักภัคดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๔ มีนักเรียน จำนวน ๔๘ คน เป็นชาย ๒๓ คน, หญิง ๒๕ คน โดยมี จ่าสิบตำรวจอนันต์ วงศ์ษา เป็นครูใหญ่ ปี ๒๕๓๕ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน จำนวน ๘๐๐,๐๐๐ บาท โดยคณะวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ๓๔๔ ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อนำไปจัดสร้างอาคารเรียนถาวร ขนาด ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง และโต๊ะ - เก้าอี้นักเรียน จำนวน ๓๐ ชุด ปี ๒๕๓๙ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน จำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยคณะวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ๓๔๔ ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบเพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๓ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาโต่ (วปรอ.๓๔๔ อุปถัมภ์) สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดพะเยา โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๔ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๓ กันยายน ๒๕๔๓
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๔

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๔๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๓๓๕ คน เป็นชาย ๑๗๘ คน หญิง ๑๕๗ มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๐ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครู และคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ – สกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการ
    ๑. ร.ต.ท.อนันต์  วงศ์ษา มศ.๕ ผู้บริหาร
    ๒. จ.ส.ต.ชัยทวี คำน้อย มศ.๕ โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๓. จ.ส.ต.สมพงษ์  ทองบำเรอ มศ.๕ โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๔. จ.ส.ต.ชัยณรงค์  วงศ์ชัย ม.๖ ห้องสมุด
    ๕. ส.ต.อ.พรพจน์  เกษม ม.๖ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๖. ส.ต.อ.สายยนต์  รักแม่ ม.๖ โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
    ๗. ส.ต.ท.ชาติชาย หล้าเมืองใจ ปวช. การส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกในโรงเรียน
    ๘. ส.ต.ท.นภดล จันทร์คำ ม.๖ โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๙. ส.ต.ต.สถิต  สินสุนทรไชย ม.๖ โครงการฝึกอาชีพ
    ๑๐. พลฯ(ญ) นงนุช แซ่ฟุ้ง ม.๖ โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๓๐
    ๒๘
    ๕๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๖
    ๔๒
    ๖๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๘
    ๓๐
    ๕๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๓๐
    ๒๐
    ๕๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๒๘
    ๑๗
    ๔๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๒๒
    ๑๓
    ๓๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๔
    ๒๑
    รวม
    ๑๗๘
    ๑๕๗
    ๓๓๕

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๒๒ คน ประกอบอาชีพจำนวน ๑๗ คน

    อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียนถาวร จำนวน ๒ หลัง คณะวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๓๔๔
    ๒. อาคารเรือนพยาบาล/สหกรณ์ ๑ หลัง คณะวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๓๔๔
    ๓. อาคารโรงอาหาร จำนวน ๑ หลัง คณะวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๓๔๔
    ๔. ห้องส้วมนักเรียน จำนวน ๑ หลัง คณะวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๓๔๔
    ๕. เครื่องรับสัญญาณจานดาวเทียม ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

    การดำเนินโครงการ
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ ส.ต.อ.พรพจน์ เกษม
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สำนักงานส่งเสริมการเกษตร
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร คือ แม่น้ำคำ และประปาภูเขา
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม จา?ประปาภูเขา
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครองนักเรียน
  • การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๑๗ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓/ภาคเรียนที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๗๕
    ๗๕
    ๕๘
    ๑๗
    ๑๗
    ๒๒.๖๗
    พอใช้

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๔๗
    ๔๗
    ๔๓
    ๘.๕๑
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๕๕
    ๕๕
    ๔๖
    ๑๖.๓๖
    ดี
    ประถม ๓
    ๕๑
    ๕๑
    ๔๗
    ๗.๘๔
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๔๒
    ๔๒
    ๔๑
    ๒.๓๘
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๓๖
    ๓๖
    ๓๖
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๒๐
    ๒๐
    ๒๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๒๕๑
    ๒๕๑
    ๒๓๓
    ๑๘
    ๗.๑๗
    ดีมาก

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๖๐)