ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์๓ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์๓

หมู่ที่ ๑ บ้านหินแตก ตำบลแม่สลองใน อำเภอ แม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน จำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนในการสร้างโรงเรียนขึ้นที่ หมู่บ้านหินแตก หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (ในขณะนั้น) เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาให้แก่เยาวชนในถิ่นทุรกันดาร โดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๐๖ พลตำรวจตรีกระจ่าง ผลเพิ่ม เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๐๗ เปิดทำการเรียนการสอนอย่างเป็นทางการเมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธี และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๓" (พอ.๓)
ต่อมาอาคารหลังเก่าชำรุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วิทยาลัยช่างกลปทุมวัน สร้างอาคารขึ้นใหม่ เมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๒๖ โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น จำนวน ๒๘๐,๐๐๐ บาท
เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริฯ โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๕ ไร่ ๒ งาน ๒๐ ตารางวา

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ ๓ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดพะเยา
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๓
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๓ ถึง ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๔

  • จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๔๓๒ คน เป็นชาย ๒๑๙ คน หญิง ๒๑๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๒ นายผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๕๓
    ๔๙
    ๑๐๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๕๙
    ๔๕
    ๑๐๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๖
    ๓๔
    ๖๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๓๐
    ๒๕
    ๕๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๗
    ๒๘
    ๔๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๑
    ๑๑
    ๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๒๓
    ๒๑
    ๔๔
    รวม
    ๒๑๙
    ๒๑๓
    ๔๓๒

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ – ๒๕๔๒)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๖๔ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๕ คน

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ จ.ส.ต.อารักษ์ สามอินต๊ะ และ ส.ต.ต.จำนง สัจจะญาติ
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ เกษตรจังหวัดเชียงราย
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาภูเขา
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม บ่อน้ำตื้น
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง / สัปดาห์
  • ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ผู้ปกครองนักเรียน
    การเฝ้าระวัง การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๓๑ %
  • โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน
    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ คือ ให้ผู้ปกครองนักเรียนที่มาประกอบอาหารต้มนมให้นักเรียนดื่มทุกวันทำการ ระหว่างช่วงเช้า และเย็น

  • ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๑๐๑
    ๑๐๑
    ๗๖
    ๒๕
    ๒๕
    ๒๔.๗๕
    พอใช้

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๐๗
    ๑๐๗
    ๑๐๐
    ๖.๕๔
    ดีมาก
    ประถม ๒
    ๖๒
    ๖๒
    ๕๙
    ๔.๘๔
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๖๗
    ๖๗
    ๖๖
    ๑.๔๙
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๔๓
    ๔๓
    ๔๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๒๑
    ๒๑
    ๒๑
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๔๘
    ๔๘
    ๔๔
    ๘.๓๓
    ดีมาก
    รวม
    ๓๔๘
    ๓๔๘
    ๓๓๓
    ๑๕
    ๔.๓๑
    ดีมาก

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๖๐)