ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังวาลย์วิท ๘ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังวาลย์วิท ๘

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังวาลย์วิท ๘ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านจะลอ ตำบลเทอดไทย กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ศึกษานิเทศก์จังหวัดเชียงราย ได้จัดส่งครูของศึกษานิเทศก์จังหวัดเข้ามาสำรวจและจัดตั้งเป็นศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขาบ้านจะลอ ขึ้น และเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ มีครู ๒ คน และมีนักเรียน จำนวน ๓๗ คน เป็นชาย ๒๓ คน หญิง ๑๔ คน
ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้มีคำสั่งให้กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๓ ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านจะลอ ตามแผนงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตของโครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ ได้มีคำสั่งให้จ่าสิบตำรวจสมชาย กาละวงศ์ เข้ามาทำการสอนร่วมกับครู ศศช. และเริ่มใช้หลักสูตรการประถมศึกษาแห่งชาติ ๒๕๒๗ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๓๒ และมีครูตำรวจตระเวนชายแดนเข้ามาร่วมสอนรวม ๓ นาย คือ
  • ๑. จ.ส.ต.สมชาย กาละวงศ์ ทำหน้าที่ ครูใหญ่
  • ๒. จ.ส.ต.บุญแปลก กาบอ ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
  • ๓. จ.ส.ต.บุญเรือง ช่างเขียน ทำหน้าที่ ครูผู้สอน
    ต่อมาทางกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน ๓๒๗ ได้ทำเรื่องของอนุมัติใช้พื้นที่ ๒๑ ไร่ เพื่อจัดตั้งโรงเรียนทาง คพต. ได้อนุมัติโดย พลตรีแป้ง มาลากุลฯ และทางกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้รับเงินพระราชทานจากมูลนิธิกองทุนการกุศล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นจำนวนเงิน ๒,๖๐๕,๕๒๔ บาท (สองล้านหกแสนห้าพันห้าร้อยยี่สิบสี่บาทถ้วน) ให้ดำเนินการจัดสร้างเป็นอาคารเรียนแบบถาวรตามแบบแปลนของคณะกรรมการ คพต.อนุมัติ ประกอบด้วย อาคารเรียน ๓ หลัง บ้านพักครู ๒ หลัง อาคารเอนกประสงค์ ๑ หลัง ห้องส้วมนักเรียน ๑ หลัง ถังเก็บน้ำฝน ๒ แห่ง และทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๒ โดย พลตำรวจเอกแสวง ธีรสวัสดิ์ อธิบดีกรมตำรวจ ต่อมาทางกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อขอรับพระราชทานชื่อโรงเรียน ทรงพระราชทานชื่อโรงเรียน "โรงเรียนสังวาลย์ ๘" และพระองค์ทรงเสด็จพระราชทานดำเนินมาเปิดอาคารเรียน เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔

  • ระบบการศึกษา
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสังวาลย์ ๘ เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดเชียงราย เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านจะลอ ดำเนินการสอน ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิดเรียน ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๗ ตุลาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิดเรียน ๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ถึง ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๘

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๓๗ คน และครูตำรวจตระเวนชายแดน ๓ นาย ในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งสิ้น ๒๑๘ คน เป็นชาย ๑๐๕ คน หญิง ๑๑๓ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย ๗ นา ผู้ดูแลเด็กเล็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ทำหน้าที่
    ๑) จ.ส.ต.บุญแปลก กามอย
    ม.ศ.๕
    ครูใหญ่
    ๒) จ.ส.ต.บุญเรือง มณีวรรณ
    ม.ศ.๕
    ครูผู้สอน
    ๓) ส.ตท.พิพัฒน์ บุญมากาศ
    ม.ศ.๕
    ครูผู้สอน
    ๔) ส.ต.ท.วิเชียร มั่นคง
    ม.ศ.๕
    ครูผู้สอน
    ๕) ส.ต.ท.มานัส สุทธิแสน
    ม.ศ.๕
    ครูผู้สอน
    ๖) ส.ต.ท.มงคล สุริวงศ์
    ม.ศ.๕
    ครูผู้สอน
    ๗) ส.ต.ต.ภุชงค์ เรือนแก้ว
    ปริญญาตรี
    ครูผู้สอน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๑๑
    ๒๐
    ชั้นอนุบาล
    ๒๐
    ๒๑
    ๔๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๕
    ๓๘
    ๖๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๒
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๔
    ๒๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๖
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๖
    รวม
    ๑๐๕
    ๑๑๓
    ๒๑๘

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙)

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้เด็กมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่ารับประทาน โดยนำผลผลิตทางการเกษตรที่นักเรียนผลิตขึ้นเองในโรงเรียนมาใช้ประกอบอาหาร
    ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คือ จ.ส.ต. บุญเรือง ช่างเขียน
    ผู้ดำเนินงานโครงการ คือ คณะครูร่วมกับเด็กนักเรียน

    ผลของการดำเนินการโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันในปัจจุบัน มีดังนี้
    กิจกรรม
    ผลการดำเนินงาน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
    ๑. การปลูกพืชผัก ปลูกพืชผักหมุนเวียนตามฤดูกาล ๑. ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยตุง
    ๒. วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงราย
    ๒. การปลูกไม้ผล ลิ้นจี่, ขนุน, กล้วยหอม,
    กล้วยน้ำว้า
    ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยตุง
    ๓. การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ วิทยาลัยเกษตรเชียงราย
    ๔. การถนอมอาหาร ผักกาดดอง, หน่อไม้ดอง,
    กล้วยฉาบ
    คณะครูร่วมกับนักเรียน
    ๕. การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์
    จำนวน ๖๔ คน
    กก.ตชด.๓๒

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ ชุด
    ๒. ไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสม ๕๐ ตัว

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๕
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
    ๑. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ ชุด
    ๒. แป้งถั่วเหลือง ๒๖ กิโลกรัม
    ๓. น้ำตาลทราย ๒๖๐ กิโลกรัม
    ๔. โปรตีนผง ๑๒๑ กิโลกรัม
    ๕. เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

    ปีการศึกษา ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓๐๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓๐๐ กิโลกรัม

    ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒๑๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒๑๐ กิโลกรัม

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๘๘)
    (เหนือ ท1 ส๖๕๒๘ ๒๕๓๗)