ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายสมถวิลจินตมัยระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสมถวิลจินตมัย

ตั้งอยู่ที่บ้านห้วยแล้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
เดิมชื่อโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๙๓ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๑๓ โดยชุดเฝ้าตรวจชายแดนที่ ๒๑ ร่วมมือกับราษฎรชาวเขาเผ่าม้ง โดยขอกำลังสนับสนุนจาก ตชด.ที่ ๕๖๐ บ้านท่าข้าม ไปยังกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต ๕ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (ขณะนั้น) ซึ่งได้ส่ง พลฯ เผชิญ กล่ำแก้ว มาทำการสอนต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับเงินพระราชทานจากสมเด็จพระบรมราชชนนีฯ จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท ให้นำมาสร้างโรงเรียนและบ้านพักครู โดยลงมือสร้างเมื่อต้นปี ๒๕๑๖ เมื่อดำเนินการสร้างอาคารถาวรเสร็จแล้ว จึงได้กราบบังคมทูล ถวายรายงานการก่อสร้างแด่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงทราบ พร้อมทั้งได้กราบบังคมทูลเชิญ ทรงทำพิธีเปิดอาคารเรียน เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๑๖ และทรงพระราชทานนามว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสมถวิลจินตมัย

ความเป็นมา
เดิมพื้นที่ของบ้านห้วยแล้งเป็นป่า มีผู้ก่อการร้ายใช้เป็นเส้นทางขนเสบียง ต่อมานายเลาเจอ ศักดิ์สิทธานุภาพ และนายจงนึ่ง ศักดิ์สิทธานุภาพ ชาวเขาเผ่าม้ง ได้พาครอบครัว และเพื่อนบ้านจากหลายหมู่บ้าน ได้มาตั้งเป็นหมู่บ้านห้วยแล้ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ มีบ้านเรือนจำนวน ๖ หลังคาเรือนในขณะนั้น

อาณาเขต
  • ทิศเหนือ
  • ติดต่อบ้านออน
  • ทิศใต้
  • ติดต่อบ้านท่าข้าม
  • ทิศตะวันออก
  • ติดต่อบ้านบ่อ
  • ทิศตะวันตก
  • ติดต่อภูเขาเขตป่าสงวนแห่งชาติ

    การปกครองและประชากร
    ปัจจุบันมีนายจงนึ่ง ศักดิ์สิทธานุภาพ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
    มีจำนวนบ้านเรือน ๑๓๘ หลังคาเรือน ประชากร ๑,๑๕๑ คน เป็นชาย ๕๖๒ คน หญิง ๕๘๙ คน เชื้อชาติไทยนับถือศาสนาคริสต์ และนับถือผี และภาษาไทยท้องถิ่น

    อาชีพ
    ทำไร่ รายได้เฉลี่ยประมาณ ๕,๐๐๐ บาท/ครอบคัว/ปี

    ระบบการศึกษา
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสมถวิลจินตมัย เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒ จังหวัดพะเยา กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
    โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านห้วยแล้ง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๘ ถึง ๖ ตุลาคม ๒๕๓๘
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ ถึง ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๙

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
    อาคารและสิ่งอำนวยความสะดวก
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑) อาคารเรียน ๑ ได้รับเงินพระราชทานจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
    ๒) ห้องน้ำ - ห้องสุขา กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒๖
    ๓) เรือนเพาะชำ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒๖
    ๔) เรือนเลี้ยงไก่ วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงราย
    ๕) เรือนเพาะเห็ด คณะครูร่วมกับราษฎร
    ๖) โรงประกอบอาหาร กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๒๖

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๐ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑ นาย
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๘๐ คน เป็นชาย ๒๕ คน หญิง ๕๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๖ นาย

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ยศ - ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    หน้าที่รับผิดชอบ
    ๑) จ.ส.ต.อร ทุนอินทร์
    คบ.
    ครูใหญ่
    ๒) จ.ส.ต.สมบูรณ์ สุวรรณวงศ์
    ป.กศ.
    ครูผู้สอน
    ๓) จ.ส.ต.วุฒิพงษ์ ไกลถิ่น
    ม.ศ.๓
    ครูผู้สอน
    ๔) ส.ต.ท.ดอน สมควร
    ม.๓
    ครูผู้สอน
    ๕) ส.ต.ต.สำรวจ ไข่ดำ
    ม.๖
    ครูผู้สอน
    ๖) พลฯ อดุลย์ ใชยา
    ปวช.
    ครูผู้สอน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๘
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๗
    ๓๓
    ๕๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๒
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    -
    -
    -
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    -
    -
    -
    รวม
    ๒๕
    ๕๕
    ๘๐

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๕ - ๒๕๓๙) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ พลฯ อดุลย์ ใชยา

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๘
    เดือน
    หมวด
    เนื้อสัตว์
    ถั่ว
    ผัก
    ผลไม้
    พฤษภาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๑๒.๐๐๐
    ๐.๐๐
    ๓๐.๐๐๐
    ๑๐.๐๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๑๓.๖๔
    ๐.๐๐
    ๓๔.๐๙
    ๑๑.๓๖
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ๓๔.๐๙
    ๐.๐๐
    ๓๔.๐๙
    ๑๑.๓๖
     
    ประเมินผล
    พอใช้
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ปรับปรุง
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๑๘๕,๐๐๐
    ๐.๐๐
    ๓๘.๐๐๐
    ๔๒,๐๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๑๐.๕๑
    ๐.๐๐
    ๒๑.๕๙
    ๒๓.๘๖
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ๒๖.๒๘
    ๐.๐๐
    ๒๑.๕๙
    ๒๓.๘๖
     
    ประเมินผล
    พอใช้
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๕๕,๒๕๐
    ๐.๐๐
    ๔๑,๐๐๐
    ๓๖,๐๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๓๖.๒๕
    ๐.๐๐
    ๒๖.๙๗
    ๒๓.๖๘
     
    % ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ๙๐.๘๗
    ๐.๐๐
    ๒๖.๙๗
    ๒๓.๖๘
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ปรับปรุง
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๖๒.๐๕๐
    ๐.๐๐
    ๗๙,๐๐๐
    ๔๐,๐๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๓๓.๗๒
    ๐.๐๐
    ๔๒.๙๓
    ๒๑.๗๔
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ๘๔.๓๑
    ๐.๐๐
    ๔๒.๙๓
    ๒๑.๗๔
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ปรับปรุง
    กันยายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๗๕,๙๐๐
    ๐.๐๐
    ๘๐,๐๐๐
    ๔๔,๐๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๔๕.๑๘
    ๐.๐๐
    ๔๗.๖๒
    ๒๖.๑๙
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ๑๒๒.๙๕
    ๐.๐๐
    ๔๗.๖๒
    ๒๖.๑๙
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ตุลาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๕๕,๓๕๐
    ๐.๐๐
    ๕๒,๐๐๐
    ๕๒,๐๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๖๒.๙๐
    ๐.๐๐
    ๕๙.๐๙
    ๒๙.๕๕
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ๑๕๗.๒๔
    ๐.๐๐
    ๕๙.๐๙
    ๒๙.๕๕
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    ดี
    พอใช้
    พฤศจิกายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๑๑๓,๒๐๐
    ๐.๐๐
    ๘๐.๐๐๐
    ๔๒,๐๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๖๔.๓๒
    ๐.๐๐
    ๔๕.๔๕
    ๒๓.๘๖
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ
    ๑๖๐.๘๐
    ๐.๐๐
    ๔๕.๔๕
    ๒๓.๘๖
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    พอใช้
    ปรับปรุง

    มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๓๘ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๕๐
    ๓๖
    ๒๘
    ๒๘
    ๗๗.๗๘
    ปรับปรุง

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๐
    ๖๒.๕๐
    ปรับปรุง
    ประถม ๒
    ๑๐
    ๑๐
    ๕๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ประถม ๓
    ๕๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๑๐๐.๐๐
    ปรับปรุง
    รวม
    ๓๐
    ๓๐
    ๑๓
    ๑๓
    ๕๖.๖๗
    ปรับปรุง

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓
    ๑) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒) ค่าเครื่องปรุง ๒ งวด จำนวน ๒,๒๒๐ บาท
    ๓) พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

    ปีการศึกษา ๒๕๓๓ - ๒๕๒๔
    ๑) เมล็ดพันธุ์ผัก ๑ งวด จำนวน ๑ ชุด
    ๒) ไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสม ๕๐ ตัว
    ๓) พันธุ์มะม่วง ๒๐ ต้น

    ปีการศึกษา ๒๕๓๔ - ๒๕๓๕
    ๑) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด
    ๒) โครงการสร้างโรงอาหาร ๑ หลัง จำนวน ๓,๐๐๐ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๓๕ - ๒๕๓๖
    ๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๒๐ กิโลกรัม
    ๓) โปรตีนผง ๓ งวด จำนวน ๕๑ กิโลกรัม
    ๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ กิโลกรัม
    ๕) เครื่องชั่งน้ำหนัก ๑ เครื่อง

    ปีการศึกษา ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗
    ๑) แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม
    ๒) น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๘๐ กิโลกรัม
    ๓) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ กิโลกรัม

    ปีการศึกษา ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘
    ๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
    ๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๖๐ กิโลกรัม
    ๓) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ กิโลกรัม

    ปีการศึกษา ๒๕๓๘ - ๒๕๓๙
    ๑) แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๙๕ กิโลกรัม
    ๒) น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๙๕ กิโลกรัม
    ๓) นมผง ๓ งวด จำนวน ๙๔ กิโลกรัม
    ๔) เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ กิโลกรัม

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๘๗)
    (ชร. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๓๙)