ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรัปปาปอร์ตข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรัปปาปอร์ต

หมู่ที่ ๘ บ้านป่าเกี๊ยะใน ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
จัดตั้งเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๑๓ โดยใช้ชื่อว่า ร.ร.ชด.บำรุงที่ ๙๒ หมู่บ้านห้วยต้นผึ้ง ตำบลแม่นาวร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ กก.ตชด.เขต ๕ เป็นอาคารเรียนชั่วคราว มุงด้วยหญ้าคา เปิดสอนเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๓ พ.ศ.๒๕๑๕ ราษฎรบ้านห้วยต้นผึ้ง ได้อพยพมาอยู่บ้านป่าเกี๊ยะ ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ จึงย้ายโรงเรียนมาตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่าเกี๊ยะ และได้รับเงินงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนประจำปีจาก กก.ตชด.เขต ๕ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียน จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๖ x ๑๓ เมตร จำนวน ๓ ห้องเรียน และเปิดสอนเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๑๕ เป็นต้นมา ๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้พระราชทานเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ซึ่งได้รับทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อโดยเสด็จพระราชกุศล จาก นายรัปปาปอร์ต ชาวฝรั่งเศษ เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๑ หลัง ขนาด ๖ x ๑๘ เมตร ชื่ออาคาร "รัปปาปอร์ต" จำนวน ๑ หลัง ๔๐ เมษายน ๒๕๓๐ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและได้พระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรัปปาปอร์ต" โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๕ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาล้อมรอบ พื้นที่เพาะปลูกเป็นดินร่วนปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก มีลำห้วยไหลผ่าน ๒ สาย และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
  • ทิศเหนือ   ติดต่อ หมู่บ้านแม่ยางห้า
  • ทิศใต้   ติดต่อ หมู่บ้านบ่อแก้ว
  • ทิศตะวันออก   ติดต่อ หมู่บ้านป่าเกี๊ยะนอก
  • ทิศตะวันตก   ติดต่อ ภูเขาเขตติดต่ออำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

  • การคมนาคม
    ระยะทางจากอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงหมู่บ้านป่าเกี๊ยะใน ๓๓ กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ๒๒ กิโลเมตร เป็นถนนคอนกรีตบล๊อค (อิฐ รพช.) ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร และถนนดินลูกรัง ๑ กิโลเมตร

    จำนวนประชากร
    ในหมู่บ้านมีประชากรทั้งหมด ๗๖๖ คน เป็นชาย ๓๙๗ คน หญิง ๓๖๙ คน จำนวนหลัง ๙๓ หลังคาเรือน แบ่งเป็น ๑๘๓ ครอบครัว

    การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
    ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้ มีรายได้เฉลี่ยประมาณปีละ ๖๐,๐๐๐ - ๘๐,๐๐๐ บาท/ครอบครัว

    ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
    ๑. พื้นที่ของหมู่บ้านเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ยังไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์ จึงมีความต้องการเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน เพื่อไว้สำหรับประกอบอาชีพ
    ๒. มีความต้องการที่จะฝึกอาชีพเพื่อจะได้มีงานทำในหมู่บ้าน และนำไปฝึกอาชีพในหมู่บ้านใกล้เคียง

    ข้อมูลนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๕๙ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย
    ปัจจุบัน มีนักเรียน ๒๐๓ คน เป็นชาย ๑๑๕ คน หญิง ๘๘ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๔ นาย ครูพลเรือน ๔ คน และผู้ดูแลเด็ก ๒ คน

    ระบบการศึกษา
    โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรัปปาปอร์ต สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๓ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านป่าเกี๊ยะใน, ป่าเกี๊ยะนอก, สบห้วยฟาน และปางมะโอ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๑ ถึง เดือนตุลาคม ๒๕๔๑
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๑ ถึง เดือนมีนาคม ๒๕๔๒

  • ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๒๐
    ๒๐
    ๔๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๑
    ๑๐
    ๓๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๐
    ๑๔
    ๒๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๔
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๓๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๘
    ๑๐
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๙
    ๒๘
    รวม
    ๑๑๕
    ๘๘
    ๒๐๓

    การดำเนินโครงการ
    การศึกษานอกโรงเรียนที่ดำเนินการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนรัปปาปอร์ต
    - เป็นจุดติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ สามารถรับสัญญาณภาพและเสียงได้ชัดเจน ได้รับตารางออกอากาศพร้อมคู่มือทุกภาคเรียน
    - เป็นที่ตั้งที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ได้รับหนังสือพิมพ์วันละ ๒ ฉบับ
    - เป็นจุดจัดการศึกษาสายอาชีพ จัดอบรมกลุ่มสนใจให้กับประชาชน

    ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายศรีวรรณ สารเงิน และนายสมนึก ขัตติมะ
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอสะเมิง ปศุสัตว์อำเภอสะเมิง วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีลำพูน
  • แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาภูเขา
  • แหล่งน้ำสำหรับดื่ม ประปาภูเขา และน้ำฝน
  • ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครูผู้รับผิดชอบ แม่บ้าน และนักเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๙๙ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
    ๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันอังคาร และพฤหัสบดี
    ๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มวันจันทร์ พุธ และศุกร์
    ๓. นมสด UHT ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ดื่ม

  • ผลการดำเนินโครงการ
    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน ๒๕๔๑
    เดือน
    หมวด
    เนื้อสัตว์
    ถั่ว
    ผัก
    ผลไม้
    พฤษภาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๒๐๒.๒๕
    ๐.๐๐
    ๔๐.๐๐
    ๕๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๑๑๐.๗๐
    ๐.๐๐
    ๒๑.๘๙
    ๒๗.๓๗
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ(กรัม)
    ๒๗๖.๗๕
    ๐.๐๐
    ๒๑.๘๙
    ๒๗.๓๗
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    พอใช้
    มิถุนายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๓๐๑.๗๐
    ๐.๐๐
    ๑๐๐.๐๐
    ๓๙๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๖๗.๕๕
    ๐.๐๐
    ๒๒.๓๙
    ๘๗.๓๓
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ๑๖๘.๘๙
    ๐.๐๐
    ๒๒.๓๙
    ๘๗.๓
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    ปรับปรุง
    ดีมาก
    กรกฎาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๓๓๐.๐๕
    ๐.๐๐
    ๓๓๕.๐๐
    ๑๘๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๗๗.๔๒
    ๐.๐๐
    ๗๘.๕๘
    ๔๒.๓๒
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ๑๙๓.๕๖
    ๐.๐๐
    ๗๘.๕๘
    ๔๒.๓๒
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    ดีมาก
    พอใช้
    สิงหาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๑๗๕.๐๐
    ๐.๐๐
    ๔๕๐.๐๐
    ๕๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๔๓.๑๐
    ๐.๐๐
    ๑๑๐.๘๔
    ๑๒.๓๒
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ๑๐๗.๗๖
    ๐.๐๐
    ๑๑๐.๘๔
    ๑๒.๓๒
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    กันยายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๑๘๘.๙๕
    ๐.๐๐
    ๔๐๐.๐๐
    ๑๔๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๔๒.๓๑
    ๐.๐๐
    ๘๙.๕๗
    ๓๑.๓๕
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ๑๐๕.๗๗
    ๐.๐๐
    ๘๙.๕๗
    ๓๑.๓๕
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    ดีมาก
    พอใช้
    ตุลาคม
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๑๔๖.๕๕
    ๐.๐๐
    ๓๙๐.๐๐
    ๐.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๖๐.๑๖
    ๐.๐๐
    ๑๖๐.๑๐
    ๐.๐๐
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ๑๕๐.๔๐
    ๐.๐๐
    ๑๖๐.๑๐
    ๐.๐๐
     
    ประเมินผล
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    ดีมาก
    ปรับปรุง
    พฤศจิกายน
    ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ๑๑๔.๗๕
    ๐.๐๐
    ๔๓๐.๐๐
    ๔๕.๐๐
     
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    ๒๖.๙๒
    ๐.๐๐
    ๑๐๐.๘๗
    ๑๐.๕๖
     
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ๖๗.๒๙
    ๐.๐๐
    ๑๐๐.๘๗
    ๑๐.๕๖
     
    ประเมินผล
    ดี
    ปรับปรุง
    ดี
    ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๑ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๔๐
    ๔๐
    ๓๖
    ๑๐.๐๐
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๓๔
    ๓๔
    ๒๖
    ๒๓.๕๓
    พอใช้
    ประถม ๒
    ๒๔
    ๒๔
    ๒๓
    ๔.๑๗
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๑
    ๒๑
    ๑๙
    ๙.๕๒
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๓๒
    ๓๒
    ๓๑
    ๓.๑๓
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๒๘
    ๒๘
    ๒๒
    ๒๑.๔
    พอใช้
    ประถม ๖
    ๒๘
    ๒๘
    ๒๖
    ๗.๑๐
    ดีมาก
    รวม
    ๑๖๗
    ๑๖๗
    ๑๔๗
    ๒๐
    ๑๑.๙๘
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑.  แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๐๕ กิโลกรัม
    ๒.  น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๐๕ กิโลกรัม
    ๓.  นมผง ๓ งวด จำนวน ๓๐๐ กิโลกรัม
    ๔.  เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๑
    ๑.  แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๙๐ กิโลกรัม
    ๒.  น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๙๐ กิโลกรัม
    ๓.  นมผง ๓ งวด จำนวน ๒๗๕ กิโลกรัม
    ๔.  เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๘)