|
ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสโมสรไลออนส์รัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
หมู่ที่ ๑๙ บ้านห้วยหอย ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ราษฏรบ้านห้วยงู ตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑๕ ครอบครัว ได้ร้องขอให้ กก.ตชด.เขต ๕ (เดิม) จัดตั้งโรงเรียนในหมู่บ้านเพื่อให้บุตรธิดาได้เล่าเรียนหนังสือ
ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ชื่อว่า "รร.ตชด.บ้านห้วยงู" มีครูตชด. ทำการสอน ๒ นาย มีนักเรียน ๓๕ คน
ต่อมาหมู่บ้านประสบปัญหาภาวะแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการอุปโภค - บริโภค และการเกษตร จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านห้วยหอย บ้านห้วยข้าวลีบ บ้านนุนนาสาและบ้านประตูเมือง
นักเรียนต้องอพยพตามผู้ปกครอง ต้องเดินทางไปโรงเรียนไกลกว่าเดิม จึงทำเรื่องขอย้าย รร.ตชด.บ้านห้วยงู ไปตั้งที่บ้านห้วยหอย ซึ่งเป้นการปกครองของอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ได้รับการอนุมัติให้ย้าย เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๒ และเปลี่ยนชื่อเป็น "รร.ตชด.บ้านห้วยหอย"
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ สโมสรไลออนส์รัตนโกสินทร์ กรุงเพทฯ บริจาคเงินจำนวน ๓๔๐,๐๐๐ บาท เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรจำนวน ๑ หลัง ๖ ห้องเรียน ๑ ห้องพักครู
ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๕๔ เมตร และอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "รร.ตชด.สโมสรไลออนส์รัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ" มีพิธีรับมอบเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๓๕๓๓
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เยี่ยมโรงเรียนและทรงติดตามงานโครงการตามพระราชดำริ
|
ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสโมสรไลออนส์รัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๔
|
ตารางแสดงจำนวนนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๔๑ -๒๕๔๓
ชั้นเรียน |
ปีการศึกษา |
๒๕๔๑ |
๒๕๔๒ |
๒๕๔๓ |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
เด็กก่อนวัยเรียน |
๑๗ |
๑๔ |
๓๑ |
๑๘ |
๑๕ |
๓๓ |
๑๗ |
๑๖ |
๓๓ |
ประถมศึกษาปีที่ ๑ |
๘ |
๑๕ |
๒๓ |
๒ |
๘ |
๑๐ |
๕ |
๒ |
๗ |
ประถมศึกษาปีที่ ๒ |
๘ |
๗ |
๑๕ |
๑๑ |
๑๒ |
๒๓ |
๒ |
๖ |
๘ |
ประถมศึกษาปีที่ ๓ |
๑๖ |
๘ |
๒๔ |
๘ |
๗ |
๑๕ |
๙ |
๑๒ |
๒๑ |
ประถมศึกษาปีที่ ๔ |
๘ |
๙ |
๑๗ |
๑๖ |
๘ |
๒๔ |
๑๐ |
๕ |
๑๕ |
ประถมศึกษาปีที่ ๕ |
๑๒ |
๘ |
๒๐ |
๙ |
๑๐ |
๑๙ |
๑๒ |
๘ |
๒๐ |
ประถมศึกษาปีที่ ๖ |
๖ |
๕ |
๑๑ |
๑๑ |
๘ |
๑๙ |
๖ |
๙ |
๑๕ |
รวม |
๗๕ |
๖๖ |
๑๔๑ |
๗๕ |
๖๘ |
๑๔๓ |
๖๑ |
๕๘ |
๑๑๙ |
การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพของนักเรียน(ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ )
ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๓๖ คน ศึกษาต่อ ๓๓ คน ประกอบอาชีพ ๓ คน
|
การดำเนินโครงการ
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
ครูผู้รับผิดชอบ จ.ส.ต. กษิดิศ บุญยัง
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอแม่วาง, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอแม่วาง, สำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่ และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน
แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร ฝายกั้นน้ำแม่ป๋วยตามโครงการพระราชดำริ และประปาภูเขา
แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
การประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์ โดยผู้ปกครองนักเรียนเป็นผู้ประกอบอาหาร
การเฝ้าระวัง ปัจจุบันมีนักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน ๓ คน และระดับประถมศึกษา จำนวน ๙ คน
โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ ในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน
การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการโดยให้นักเรียนดื่มนม ต้มถั่ว และมีผลไม้ให้นักเรียนบริโภค
|
ผลการดำเนินงานโครงการ
อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓(ตรวจครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๓)
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| ระดับ ๑
| ระดับ ๒
| ระดับ ๓
| รวม
| % ต่ำ กว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
เด็กเล็ก
| ๓๓
| ๒๕
| ๒๒
| ๓
| ๐
| ๐
| ๓
| ๑๒.๐๐
| ดี |
ชั้น
| นร.ทั้งหมด
| นร.ที่ตรวจ
| นร.ปกติ
| จำนวนต่ำ กว่าเกณฑ์
| % ต่ำกว่าเกณฑ์
| ประเมิน |
ประถม ๑
| ๘
| ๗
| ๕
| ๒
| ๒๘.๕๗
| พอใช้ |
ประถม ๒
| ๗
| ๖
| ๕
| ๑
| ๑๖.๖๗
| ดี |
ประถม ๓
| ๒๑
| ๒๑
| ๑๘
| ๓
| ๑๔.๒๙
| ดี |
ประถม ๔
| ๑๕
| ๑๕
| ๑๒
| ๓
| ๒๐.๐๐
| พอใช้ |
ประถม ๕
| ๒๐
| ๒๐
| ๒๐
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก |
ประถม ๖
| ๑๕
| ๑๒
| ๑๒
| ๐
| ๐.๐๐
| ดีมาก |
รวม
| ๘๖
| ๘๑
| ๗๑
| ๙
| ๑๑.๑๑
| ดี |
|