ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา
"แม่ฟ้าหลวง" บ้านปูหลวง
ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านปูหลวง

หมู่ที่ ๔ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๒ โดยโครงการพัฒนาที่สูงดอยแปเป้อให้การสนับสนุนด้านวัสดุ - อุปกรณ์ บางส่วนได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและเริ่มจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตั้งแต่วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ โดยจัดการเรียนการสอนช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน
ต่อมาในเดือนธันวาคม ๒๕๔๑ ได้รับการสนับสนุนอาคารเรียนจากรายการโรงเรียนของหนู จำนวน ๑ หลัง

ข้อมูลนักเรียน
สภาพการเรียนรู้หนังสือ
๑. เด็กรู้หนังสือ อ่านออก เขียนได้ จำนวน ๓๐ คน
๒. ผู้ใหญ่ อ่านออก เขียนได้ จำนวน ๑๓๔ คน จากทั้งหมด ๒๘๘ คน พูดภาษาไทยได้ จำนวน ๒๑๕ คน พูดไม่ได้ ๗๓ คน
๓. โรงเรียนประถมศึกษาที่อยู่ใกล้ คือ โรงเรียนบ้านสบลาน มีระยะทางจาก ศศช. ๗ กิโลเมตร ไม่มีนักเรียน ศศช. ไปเรียน
๔. มีนักเรียนใน ศศช.ไปเรียนชุมชนบ้านอมก๋อย ๑๓ คน ห่างจากบ้านหลังป่าข่า ๒๗ กิโลเมตร พักหอพัก คริสตจักร

จำนวนครูและนักเรียน
จำนวนผู้เรียนมีทั้งหมด ๙๕ คน โดยแยกรายละเอียด ดังนี้

ตารางแสดงผู้เรียนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จำนวน ๙๕ คน
ระดับ
จำนวนผู้เรียน
ชาย
หญิง
รวม
ผู้เรียนเด็ก
 
 
 
เตรียมความพร้อม
๒๓
๒๒
๔๕
ระดับประถมศึกษา
 
 
 
- เทียบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๑
๑๘
- เทียบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๗
ผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่
 
 
 
๑. หลักสูตรสายสามัญ ระดับประถมศึกษา
๒. หลักสูตรสายสามัญ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
-
รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด
๕๕
๔๐
๙๕
การดำเนินโครงการ

- เด็กนักเรียนทำแปลงเกษตรโดยมอบหมายให้รับผิดชอบแปลงของตนเอง และได้รับพระราชทานเมล็ดผัก
- ปลูกผักส่วนใหญ่จะเป็นผักที่ปลูกขึ้นง่ายในพื้นที่ คือ ผักกาด ถั่วฝักยาว และผักกาดแก้ว กระหล่ำปลี

ผลการดำเนินโครงการ

- การเฝ้าระวัง มีเด็กก่อนวัยเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๓๘ และนักเรียนชั้นประถม จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘๑
- มีผักหลากหลายในการประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน
- ได้เรียนรู้วิธีการปลูกผัก และการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
- ชุมชนมีส่วนร่วมในการนำผลผลิตมาให้เด็กประกอบอาหาร เช่น ผักกาด ถั่วฝักยาว และกะหล่ำปลี

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๒)