ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา
"แม่ฟ้าหลวง" บ้านปิคี
การดำเนินโครงการ
  ข้อมูลนักเรียน
  ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านปิคี

หมู่ที่ ๓ ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
หมู่บ้านแม่ปิคี ตั้งมานานหลายชั่วคนประมาณ ๒๐๐ ปี ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดเป็นหมู่บ้านเล็กๆ เผ่ากระเหรี่ยงตั้งอยู่บนภูเขาสูงและมีภูเขาล้อมรอบ ฤดูหนาวอากาศหนาวจัดและมีลมพัดผ่านตลอดปี ภูเขาส่วนใหญ่เป็นภูเขาหัวโล้น แต่มีบางส่วนที่ยังอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านเรียกว่า "ป่าตัวเมีย" ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง ผลผลิตในแต่ละปีได้ปริมาณน้อย ซึ่งมีฐานะยากจน ปัจจุบันมีจำนวนประชากร ๑๒๙ คน เป็นชาย ๖๔ คน หญิง ๖๕ คน แยกเป็น ๒๖ หลังคาเรือน
เริ่มจัดตั้งอาคารเมื่อ พ.ศ ๒๕๓๙ โดยได้รับพระราชทานเงิน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) และเครื่องครัวพระราชทาน เพื่อจัดทำโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็ก อาคารเรียนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ ๒๕๔๑ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๔๖ คน ชาย ๒๕ คน หญิง ๒๑ คน การจัดการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในศูนย์การเรียนได้มีกิจกรรม การเลี้ยงไก่ หมู เป็ดเทศ

ข้อมูลนักเรียน
สภาพการเรียนรู้หนังสือ
๑. เด็กเรียนรู้หนังสืออ่านออกเขียนได้ จำนวน ๑๗ คน อ่านไม่ได้ ๒๙ คน
๒. ผู้ใหญ่อ่านออกเขียนได้ จำนวน ๒ คน จากทั้งหมด ๑๒๙ คน พูดภาษาไทยได้ ๒๒ คน พูดไม่ได้ ๑๐๗ คน
๓. นักเรียนที่ออกไปเรียนที่อื่นไม่มี

จำนวนครูและนักเรียน

ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน ที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษาในศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านแม่ปิคี มีจำนวน ๓ คน

ตารางแสดงผู้เรียนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จำนวน ๑๓๕ คน
ระดับ
จำนวนผู้เรียน
ชาย
หญิง
รวม
ผู้เรียนเด็ก
 
 
 
เตรียมความพร้อม
๑๘
๑๑
๒๔
ระดับประถมศึกษา
 
 
 
- เทียบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
- เทียบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๒
- เทียบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
-
ผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่หลักสูตร ศศช.
 
 
 
รวมจำนวนผู้เรียนทั้งสิ้น
๒๕
๒๑
๔๖

การดำเนินโครงการ

- เด็กนักเรียนทำแปลงเกษตรโดยมอบหมายให้รับผิดชอบแปลงของตนเอง และได้รับพระราชทานเมล็ดผัก
- ปลูกผักส่วนใหญ่จะเป็นผักที่ปลูกขึ้นง่ายในพื้นที่ คือ ผักกาด ถั่วฝักยาว และผักกาดแก้ว กระหล่ำปลี

ผลการดำเนินโครงการ

- การเฝ้าระวัง มีเด็กก่อนวัยเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๓๘ และนักเรียนชั้นประถม จำนวน ๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๓.๘๑
- มีผักหลากหลายในการประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน
- ได้เรียนรู้วิธีการปลูกผัก และการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
- ชุมชนมีส่วนร่วมในการนำผลผลิตมาให้เด็กประกอบอาหาร เช่น ผักกาด ถั่วฝักยาว และกะหล่ำปลี

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๑)