ประวัติ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบญจมะ ๑ ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบญจมะ ๑

หมู่ที่ ๖ บ้านสามหมื่น ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่
จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๐๘ โดยราษฎรบ้านสามหมื่น ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าลีซอ ได้ขอให้ กก.ตชด.เขต ๕ (เดิม) จัดตั้ง ร.ร.ตชด.ขึ้นที่บ้านสามหมื่น เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้เรียนหนังสือ สามารถพูด อ่าน และเขียนภาษาไทยได้ มีนักเรียนจำนวน ๓๘ คน เป็นชาย ๒๐ คน หญิง ๑๘ คน มีครูทำการสอน ๒ นาย ต่อมาสมาคมเบญจมบพิตร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อจัดสร้างอาคารเรียนแห่งนี้ จำนวน ๒๐,๐๐๐ บาท โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๐๘ เป็นอาคารเรียนถาวร ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๖ เมตร และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จฯ ทรงเปิดอาคารเรียน เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๐ และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบญจมะ ๑" สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จฯ ไปทรงงาน พอ.สว. ที่บ้านสามหมื่น โดยใช้สถานที่ ร.ร.ตชด.เบญจมะ ๑ แห่งนี้เป็นครั้งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๑๒ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมและติดตามงานโครงการตามพระราชดำริในโรงเรียน โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๔ ไร่ ๒ งาน

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเบญจมะ ๑ สังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พื้นที่รับผิดชอบ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๓๓ จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ถึง ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๔

  • จำนวนครูปัจจุบัน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๘ คน มีครู ตชด. ๒ นาย ปัจจุบันมีนักเรียน ๗๙ คน เป็นชาย ๕๐ คน หญิง ๒๙ คน มีครู ตชด. ๖ นาย ครูอาสาช่วยสอน ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๔๑ – ๒๕๔๓
     

    ปีการศึกษา

    ชั้นเรียน

    ๒๕๔๑

    ๒๕๔๒

    ๒๕๔๓

     

    ชาย

    หญิง

    รวม

    ชาย

    หญิง

    รวม

    ชาย

    หญิง

    รวม

    เด็กก่อนวัยเรียน

    ๑๓

    ๒๒

    ๑๔

    ๒๓

    ๑๘

    ๒๕

    ประถมศึกษาปีที่ ๑

    ๑๓

    ๒๑

    ๑๑

    ๒๐

    ๑๔

    ประถมศึกษาปีที่ ๒

    ๑๑

    ประถมศึกษาปีที่ ๓

    ประถมศึกษาปีที่ ๔

    ๑๐

    ๑๐

    ประถมศึกษาปีที่ ๕

    ๑๑

    ๑๑

    ประถมศึกษาปีที่ ๖

    ๑๐

    รวม

    ๔๘

    ๔๐

    ๘๘

    ๕๒

    ๓๕

    ๘๗

    ๕๐

    ๒๙

    ๗๙


    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ – ๒๕๔๒)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วศึกษาต่อ จำนวน ๑๘ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๒ คน

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ ส.ต.อ.ปัญญา พลอยไธสง
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน สำนักงานเกษตรอำเภอเวียงแหง, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงแหง และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาภูเขา
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
    การประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์ โดยผู้ปกครอง ครู และนักเรียนเป็นผู้ประกอบอาหาร
    การเฝ้าระวัง ปัจจุบันมีเด็กก่อนวัยเรียน มีภาวะการขาดสารอาหาร ระดับ ๑ จำนวน ๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖ ระดับประถมศึกษา มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๕.๔๕ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการโดยให้นักเรียนดื่มนม ต้มถั่ว และมีผลไม้ให้บริโภค

    ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ (ตรวจครั้งที่ ๒ เมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๓)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๕
    ๒๕
    ๒๑
    -
    -
    ๑๖.๐๐
    ดี

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๔
    ๑๔
    ๑๒
    ๑๔.๒๙
    ดี
    ประถม ๒
    ๑๒.๕๐
    ดี
    ประถม ๓
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๔
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๐
    ๑๐
    ๑๐
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    ประถม ๖
    ๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๕๕
    ๕๕
    ๕๒
    ๕.๔๕
    ดีมาก

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๑)