kanbinthai
kaosarapee
klongjareansuk
thakenchai
bankoknoi
bantakfah
banthapakchee
bannumaom
bannumaom
banwangsritong

pracharath
bannumaom

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังศรีทอง
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโครงการตามพระราชดำริ

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านวังศรีทอง
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ เนื่องจากบ้านวังโพธิ์ทองตั้งอยู่ห่างจากสถาน ศึกษาของรัฐ เป็นระยะทาง ๖ กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมเป็นทางเท้า มีสภาพเป็นป่าทึบสองข้างทาง ในช่วงฤดูฝนมีน้ำท่วม ทำให้บุตรหลาน เดินทางไปเรียนไม่ปลอดภัย ประชาชนบ้านวังโพธิ์ทองจึงพร้อมใจกันก่อ สร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราวขนาด กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง เพื่อให้บุตรหลานได้เรียนหนังสือ โดยมีหลวงพ่อต่วน คนึงเขต บริจาค วัสดุก่อสร้าง คิดเป็นมูลค่า ๕,๐๐๐ บาท และนายสมศักดิ์ ประจงศิลป์ บริจาค ที่ดินสำหรับก่อตั้งโรงเรียน จำนวน ๒๘ ไร่ เมื่อก่อสร้างเสร็จได้ร้องขอครู ตำรวจตระเวนชายแดนจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ (เขต ๒ เดิม) ไปทำการสอน ต่อมาผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ (เขต ๒ เดิม) ได้ส่งข้า ราชการตำรวจ จำนวน ๒ นาย ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นครูสอน เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๒๐ เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๔ ปัจจุบันโรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๓ ไร่ (ถูกถนนตัดผ่านเสียพื้นที่ จำนวน ๕ ไร่)

ระบบการศึกษา

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนวังศรีทอง เป็นโรงเรียนที่ตั้งขึ้นในสังกัดกรมตำรวจ พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ จังหวัดสระแก้ว กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๐ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านวังโพธิ์ทอง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้

ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๑๐ ตุลาคม
ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤศจิกายน ถึง ๓๑ มีนาคม

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้
อาคารสถานที่
ผู้ให้การสนับสนุน
๑) อาคารเรียน ขนาด ๔
ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
โรงเรียนบวรนิเวศน์, ราษฎรในพื้นที่
และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
๒) อาคารชั้นเด็กเล็กมูลนิธิสุมิตร เลิศสุมิตรกุล
(เดิมเป็นอาคารเอนกประสงค์)
๓) อาคารพยาบาลกรมทหารพรานที่ ๑๓,
ราษฎรในพื้นที่ และคณะครู
๔) บ้านพักครู
และห้องน้ำห้องส้วม
โรงเจวัดโสธรวรารามวรวิหาร,
ราษฎรในพื้นที่ และคณะครู
๕) อาคารสหกรณ์
และอาคารห้องสมุด
กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗
และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
๖) โรงเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่,
พันธุ์พื้นเมือง
UNBRO, กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗
และกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
๗) โรงอาคาร/โรงครัวราษฎรบ้านวังโพธิ์ทอง และกองร้อยตำรวจ
ตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗

จำนวนครูและนักเรียน

เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๓๕ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๒ นาย ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๘๐ คน เป็นชาย ๓๙ คน หญิง ๔๑ คน มีครูตำรวจตระเวนชายแดน ๘ นาย

ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ

ยศ - ชื่อ - นามสกุล
คุณวุฒิ
หน้าที่รับผิดชอบ
๑) จ.ส.ต.ยุวฤทธิ์ หลาทองม.ศ.๕โครงการตามพระราชดำริ, บริหาร
๒) จ.ส.ต.สมบูรณ์ ปลงรัมย์ม.ศ.๕โครงการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๓) ส.ต.อ.ยงยุทธ อ่ำภารัศมีปวช.โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
และโครงการส่งเสริมสหกรณ์
๔) ส.ต.ท.นิกรณ์ เสริมทรงม.๖โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
๕) พลฯ วิมาน ไชยสินปวส.โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
๖) พลฯ ชาตรี ระวาดชูปวส.โครงการฝึกอาชีพ
๗) พลฯ. เสริมศักดิ์ โคสาสุป.กศ.สูงโครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์, หญ้าแฝก
๘) พลฯ ปัญญา จงสูงเนินปวช. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐

ชั้นชายหญิงรวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน๑๓๒๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔๑๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
รวม๓๙๔๑๘๐

โครงการตามพระราชดำริ

เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงาน โครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ตามแผน พัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๓๙ - ๒๕๔๐) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

ครูผู้รับผิดชอบ คือ พลฯ วิมาน ไชยสิน ผู้ดำเนินงานโครงการฯ คือ เกษตรอำเภอวังน้ำเย็น, ปศุสัตว์อำเภอวังน้ำเย็น, วิทยาลัยเกษตรกรรมสระแก้ว

ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๙ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๐

เดือนหมวด
เนื้อสัตว์ ถั่วผัก ผลไม้
พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๘.๗๐๑.๕๐ ๔.๕๐๙.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๑๒.๒๕๒.๑๑ ๖.๓๔๑๒.๖๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๓๐.๖๓๘.๔๕ ๖.๓๔๑๒.๖๘
  ประเมินผลพอใช้ปรับปรุง ปรับปรุงปรับปรุง
มิถุนายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๑๐.๘๐๑.๕๐ ๔.๕๐๙.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
๗.๖๑
๑.๐๖
๓.๑๗
๖.๓๔
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
๑๙.๐๑
๔.๒๓
๓.๑๗
๖.๓๔
  ประเมินผลปรับปรุงปรับปรุง ปรับปรุงปรับปรุง
กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๑๔.๐๐๑.๕๐ ๔.๕๐๑๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๙.๓๙๑.๐๑ ๓.๐๒๖.๗๑
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๒๓.๔๗๔.๐๒ ๓.๐๒๖.๗๑
  ประเมินผลปรับปรุงปรับปรุง ปรับปรุงปรับปรุง
สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๑๒.๒๕๒.๐๐ ๕.๐๐๑๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๘.๒๒๑.๓๔ ๓.๓๕๖.๗๑
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๒๐.๕๔๕.๓๗ ๓.๓๕๖.๗๑
  ประเมินผลปรับปรุงปรับปรุง ปรับปรุงปรับปรุง
กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๗๓.๐๐๔๐.๐๐ ๘๐.๐๐๑๒๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๔๘.๙๘๒๖.๘๓ ๕๓.๖๖๘๐.๔๘
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๑๒๒.๔๐๑๐๗.๓๑ ๕๓.๖๖๘๐.๔๘
  ประเมินผลดีมากดีมาก ดีดีมาก
ตุลาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๙.๙๕๑.๕๐ ๔๔.๐๐๑๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๒๘.๐๓๔.๒๓ ๑๒๓.๙๔๒๘.๑๗
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๒๘.๐๓๑๖.๙๐ ๑๒๓.๙๔๒๘.๑๗
  ประเมินผลดี ปรับปรุง ดีมากพอใช้
พฤศจิกายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๔๖.๐๐๑.๕๐ ๕๐.๐๐๔๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๓๐.๘๕๑.๐๑ ๓๓.๕๓๒๖.๘๓
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๗๗.๑๓๔.๐๒ ๓๓.๕๓๒๖.๘๓
  ประเมินผลดีมากปรับปรุง พอใช้พอใช้
ธันวาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๖๖.๐๐๑๕.๐๐ ๘๐.๐๐๗๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๔๘.๙๓๑๑.๑๒ ๕๙.๓๐๕๑.๘๙
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๑๒๒.๓๑๔๔.๔๘ ๕๙.๓๐๕๑.๘๙
  ประเมินผลดีมากพอใช้ ดีดี
มกราคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๑๐๖.๐๐๓๐.๐๐ ๘๕.๐๐๘๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๗๔.๖๕๒๑.๑๓ ๕๙.๘๖๕๖.๓๔
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๑๘๖.๖๒๘๔.๕๑ ๕๙.๘๖๕๖.๓๔
  ประเมินผลดีมากดีมาก ดีดี
กุมภาพันธ์ ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๑๗๙.๐๐๓๐.๐๐ ๘๐.๐๐>๕๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๑๒๖.๐๖๒๑.๑๓ ๕๖.๓๔๓๕.๒๑
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๓๑๕.๑๔๘๔.๕๑ ๕๖.๓๔๓๕.๒๑
  ประเมินผลดีมากดีมาก ดีพอใช้
มีนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)๒๔๕.๐๐๘๐.๐๐ ๑๕๐.๐๐๑๘๐.๐๐
  ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)๑๗๒.๕๔๕๖.๓๔ ๑๐๕.๖๓๑๒๖.๗๖
  %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)๔๓๑.๓๔๒๒๕.๓๕ ๑๐๕.๖๓๑๒๖.๗๖
  ประเมินผลดีมากดีมาก ดีมากดีมาก

หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
> ๗๕% = ดีมาก
> ๕๐% - ๗๕% = ดี
> ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
< ๒๕% = ปรับปรุง

ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
ผู้ประกอบเลี้ยง คือ ครู และผู้ปกครอง
การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๒๘ (สำรวจเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐) โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับ ในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ ดังนี้

๑. นมผง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๙๐ กิโลกรัม
๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๙๕ กิโลกรัม

การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
๑. นมผง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี
๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนดื่มทุกวันจันทร์, พุธ และศุกร์

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี(๒๕)
(ออก ท๑ ส๖๕๒๔ ๒๕๔๐)