|
ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตากฟ้า
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตากฟ้า จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่
๔
มิถุนายน ๒๕๒๓ โดยประชาชนหมู่บ้านตากฟ้าและอยู่บ้านใกล้เคียง
เช่น หมู่บ้านวังจำปี,หมู่บ้านซับตะเคียน,หมู่บ้านนาดี,หมู่บ้านใหม่
คลองยาง ไม่มีสถานศึกษาในพื้นที่ ทำให้เด็กที่มีอายุในเกณฑ์
การศึกษาภาคบังคับไปเข้าเรียน ณ สถานศึกษาของรัฐที่อยู่จาก
หมู่บ้าน เป็นระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร เป็นสาเหตุให้เด็กที่มีอายุ
ในวัยเรียนไม่สามารถเดินทางไปศึกษา ณ สถานศึกษาดังกล่าวได้
ซึ่งสภาพสองข้างทางเป็นป่าทึบ ในช่วงฤดูฝนมีน้ำท่วมเส้นทาง
ประชาชนหมู่บ้านตากฟ้าและหมู่บ้านใกล้เคียงจึงได้ร่วมใจกันสละ
ทรัพย์สละแรงงานก่อสร้างอาคารเรียนแบบชั่วคราวขึ้น ๑
หลัง
ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น
๒๗,๐๐๐
โดยมี นายเสริม บุญเกิด บริจาคที่ดิน จำนวน ๑๐ ไร่ ,
นายเขียว
ดีแป้น บริจาคที่ดิน จำนวน ๕ ไร่, นายหา ใจแสน บริจาคที่ดิน
จำนวน ๕ ไร่, นายดำ ในแสน บริจาคที่ดิน จำนวน ๕ ไร่,
นางมิ้ม
ในแสน บริจาคที่ดิน ๕ ไร่ รวมเป็นที่ดินที่ได้รับบริจาคจัดตั้งโรงเรียน
จำนวน ๓๐ ไร่ พร้อมทั้งได้ประสานของความอนุเคราะห์จาก
กอง
กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ เขต ๒ เดิม) เพื่อขอครูไป
ทำการสอน และในเดือนเดียวกัน พันตำรวจเอก สมนึก พลสิทธิ์
ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชานแดนเขต ๒ ได้จัดส่งข้าราชการใน
บังคับบัญชา จำนวน ๒ นาย ไปปฏิบัติหน้าที่ครู คือ
๑. จ่าสิบตำรวจ มานะ สุคนธ์ ทำหน้าที่ครูใหญ่
๒. สิบตำรวจตรี จรัส ช่างสี ทำหน้าที่ครูน้อย
เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๒๓ เปิดสอนตั้งแต่ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ มีนักเรียน ชายหญิง จำนวน ๗๓ คน
(ชาย
๔๔ คน, หญิง ๒๙ คน) และได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนตำ
รวจตระเวนชายแดนบ้านตากฟ้า จากกองกำกับการตำรวจตระเวน
ชายแดน เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๒๓
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ผู้ปกครองนักเรียนและประชาชนในพื้นที่ร่วมกัน
สละทรัพย์ สละแรงงาน ขยายอาคารเรียนหลังเดิม จากกว้าง
๖
เมตร ยาว ๑๒ เมตร เป็น ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร
คิด
เป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ คณะอาจารย์,นักศึกษา วิทยาเขตอุเทนถวายและ
สโมสรไลอ้อนมหาจักร กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ
ถาวร (โครงหลังคาเหล็ก) ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๘ เมตร
จำนวน
๑ หลัง คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
สมัยนายดาบตำรวจ สาระเจริญ ปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่
ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒ สร้าง
อาคารเอนกประสงค์ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๑
หลัง
คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐ บาท ดำเนินการก่อสร้างโดยชุดช่าง
กอง
ร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
๑๒
ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ องค์การยูเอ็นโบรว์ สนับสนุนเงินก่อสร้างโรงเลี้ยงไก่แบบ
ถาวร ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน
๓๐,๐๐๐
บาท และก่อสร้างบ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐
บาท ดำเนิน
การก่อสร้างโดยชุดช่าง กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗
กองกำกับ
การตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ กรมชลประทาน (โครงการศูนย์บริการการเกษตรเคลื่อนที่)
ได้ขุดแหล่งน้ำ ขนาดกว้าง ๔๘ เมตร ยาว ๘๕ เมตร ลึก ๕
เมตร ความจุ
ประมาณ ๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร งบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มูลนิธิสุมิตร เสิศสุมิตรกุล บริจาคเงินก่อสร้างอาคารโรง
อาหารขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร (แบบกึ่งถาวร) จำนวน
๑ หลัง
เป็นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท และสร้างประปาโรงเรียน เป็นเงิน
๓๐,๐๐๐ บาท ดำเนิน
การก่อสร้างโดยชุดช่าง กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒๗
กองกำกับการ
ตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะครูและประชาชนบ้านตากฟ้า ได้ร่วมกันสละทรัพย์
สละ
แรงงาน ก่อสร้างโรงเลี้ยงไก่, โรงเลี้ยงเป็ด แบบชั่วคราว
รวม ๒ หลัง คิดเป็น
มูลค่าทั้งสิ้น ๑๘,๐๐๐ บาท
ปัจจุบัน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตากฟ้า มีนักเรียนชาย-หญิง
จำนวน
๔๓ คน (ชาย ๒๖ คน,หญิง ๑๗ คน) ครูตำรวจตระเวนชายแดน
จำนวน ๗ นาย
เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กก่อนวัยเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่
๖ มีอาคารเรียนจำนวน
๒ หลัง อาคารประกอบ จำนวน ๗ หลัง และขณะนี้ที่ดินพร้อมสิ่งก่อสร้างภายใน
โรงเรียนอยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นบัญชีคุมราชพัสดุ
|
ประวัติความเป็นมา
หมู่บ้านตากฟ้า ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลซับมะกรูด
อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
พื้นที่หมู่บ้านเป็นพื้นที่ด้านการเกษตร ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น
พื้นที่เสื่อมโทรม ตั้งหมู่บ้านขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖
โดยมี นายเสริม บุญเกิด พร้อม
ครอบครัวและเพื่อนบ้านย้ายมาจาก จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดนครสวรรค์
ประมาณ ๓๕ ครอบครัว เข้ามาประกอบอาชีพที่บ้านตากฟ้า ในเขตการปกครองของ
ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาได้ตั้ง
กิ่ง อำเภอคลองหาด
จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบัน จังหวัดสระแก้ว บ้านตากฟ้าได้ขึ้นในเขตการปกครองของ
อำเภอคลองหาด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับการจัดตั้งให้เป็นหมู่บ้านที่ถูกต้องทางระ
เบียบทางราชการ มี นายเสนอ สำเภาทอง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
โดยได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตาม
บ้านเดิมชื่อตากฟ้า แล้วก็ตั้งชื่อที่มาอยู่ใหม่ว่า หมู่บ้านตากฟ้า
และมี นายชำนาญ
อาจห้วยแก้ว และนายวิชัย บุญเกิด เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ราษฎรส่วนใหญ่ ย้าย
มาจากภาคกลาง
-ภาคกลาง ๑๐ ครอบครัว
-ภาคกลางตอนบน ๒๕ ครอบครัว
ปัจจุบันภาษาที่ใช้สื่อความหมาย ใช้ภาษาไทยกลาง และภาษาท้องถิ่น
|
สภาพทางกายภาพชุมชน
ลักษณะทางภูมิประเทศ
ที่ตั้งหมู่บ้านตากฟ้า ตั้งอยู่ห่าง
ตำบลซับมะกรูด ๘.๓ กิโลเมตร
อำเภอคลองหาด ๑๔ กิโลเมตร
อำเภอวังน้ำเย็น ๖ กิโลเมตร
จังหวัดสระแก้ว ๔๐ กิโลเมตร
กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒
(๑) หมู่บ้าน-วังน้ำเย็น-สระแก้ว-อรัญประเทศ ๙๔ กิโลเมตร
(๒) หมู่บ้าน-อำเภอคลองหาด-อรัญประเทศ ๗๔ กิโลเมตร
(๓) หมู่บ้าน-วัฒนานคร-อรัญประเทศ ๖๘ กิโลเมตร
|
อาณาเขตพื้นที่ติดต่อ
ทิศเหนือ มีพื้นที่ติดต่อ
- บ้านทรัพย์ตะเคียน หมู่ที่ ๕ ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด
จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๑.๕ กิโลเมตร
- บ้านนาดี หมู่ที่ ๓ ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด
จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๓.๕ กิโลเมตร
ทิศตะวันออก มีพื้นที่ติดต่อ
- บ้านใหม่คลองยาว หมู่ที่ ๖ ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด
จังหวัดสระแก้ว ระยะ ๒ กิโลเมตร
ทิศตะวันตก มีพื้นที่ติดต่อ
- บ้านวังจำปี หมู่ที่ ๖ ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
ระยะทาง ๔ กิโลเมตร
- บ้านคลองกลาง หมู่ที่ ๗ ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
ระยะทาง ๔.๕ กิโลเมตร
ทิศใต้ มีพื้นที่ติดต่อ
- ตำบลไทยอุดม หมู่ที่ ๙ อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ระยะทาง ๘ กิโลเมตร
|
สภาพภูมิประเทศ
บ้านตากฟ้าปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร
สำนักงานปฏิรูป
ที่ดินจังหวัดสระแก้ว พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ
สภาพดินดี เป็นดินเหนียว
ปนดินร่วนเหมาะแก่การปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่ว เนื้อที่เพาะปลูกประมาณ
๒,๘๙๐ ไร่
|
ทรัพยากรธรรมชาติ
(๑) ป่าไม้ แต่เดิมหมู่บ้านตากฟ้าและหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดม
สมบูรณ์ มีป่าไม้ เช่น ไม้มะค่า กระบก ตะแบก ไม้ยาง และไม้เบญจพรรณอื่น
ๆ
จำนวนมาก ต่อมาประชาชนได้ตัดไปใช้ประโยชน์สร้างที่อยู่อาศัย
รวมทั้งมีการ
สัมปทาน จนในปัจจุบันสภาพป่าหมดไป
(๒) ดิน จากดินที่มีความอุดมสมบูรณ์แต่เดิม ปัจจุบันมีสภาพขาดแร่ธาตุ
ต้องใช้
ปุ๋ยเคมี ช่วยในการปรับปรุง
(๓) สัตว์ป่า เมื่อก่อนสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าหลายชนิด
เช่น หมูป่า,
เก้ง,กระต่าย,ชะมด,กระจง,นกชนิดต่าง ๆ ปัจจุบันเหลือสัตว์ป่าจำนวนน้อย
เช่น
กระต่าย,นกเอี้ยง,นกกระจิบ,นกเขา
(๔) แหล่งน้ำ มีคลองตากฟ้า ซึ่งเป็นคลองธรรมชาติน้ำไหลผ่านตลอดปี
และสระ
น้ำรัฐบาลสร้างให้ชาวบ้าน และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตากฟ้า
โดย
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันอำเภอคลองหาด
จัดการ
สร้างแหล่งน้ำแบบฝายน้ำล้น จำนวน ๒ แห่ง ส่วนแหล่งน้ำบริโภคไม่เพียงพอต่อ
การนำมาใช้ในการเกษตรและปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคตลอดปี
|
โครงสร้างการปกครองและสังคม
ประชากร
ปัจจุบันหมู่บ้านตากฟ้า หมู่ที่ ๑๐ ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด
จังหวัดสระแก้ว จำนวน ๕๐ ครัวเรือน ประชากร ๑๘๖ คน
- ประชากรชาย ๙๗ คน
- ประชากรหญิง ๘๙ คน
|
การปกครอง
ปัจจุบันหมู่บ้านตากฟ้า หมู่ที่ ๑๐ ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด
จังหวัดสระแก้ว จัดการปกครองแบบที่ทางราชการจัดไว้มีผู้ใหญ่บ้าน
เป็นผู้นำ ๑ คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ๔ คน และผู้ทรงคุณวุฒิ
๑ คน
|
ศาสนา
- นับถือศาสนาพุทธ ๑๗๕ คน (๑๐๐ เปอร์เซ็นต์)
- สำนักสงฆ์ จำนวน ๑ แห่ง
- พระภิกษุ จำนวน ๑ รูป
|
การสาธารณสุข
- มีสถานีให้การบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน จำนวน
๒ แห่ง
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตากฟ้า บริการแจกจ่ายยาและ
ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ให้แก่นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนและ
ประชาชนในพื้นที่ โดยมีครูตำรวจตระเวนชายแดนทำหน้าที่ครูพยาบาล
จำนวน ๑ นาย เป็นผู้ให้บริการ
- มีสถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้เคียง จำนวน ๑ แห่ง คือสถานีอนามัย
บ้านนาดี ตำบลซับมะกรูด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
ห่างจากบ้าน
ตากฟ้า และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตากฟ้า ระยะทาง
๓.๕ กิโลเมตร
|
การคมนาคมขนส่ง
หมู่บ้านตากฟ้า มีเส้นทางคมนาคมขนส่งดังนี้
- หมู่บ้าน-โรงพยาบาลวังน้ำเย็น-ตลาดวังน้ำเย็น ระยะทาง
๖.๕ กิโลเมตร
มีรถสามล้อเครื่องรับจ้าง อัตราค่าโดยสารคนละ ๒๐ บาท/คน/เที่ยว
ใช้ระยะเวลา ๓๐ นาที
- หมู่บ้าน-บ้านใหม่คลองยาง-บ้านน้ำคำ-ตลาดอำเภอคลองหาด
ระยะทาง ๑๔ กิโลเมตร
- หมู่บ้าน-โรงพยาบาลวังน้ำเย็น-ตลาดจังหวัดสระแก้ว ระยะทาง
๔๐ กิโลเมตร
|
เส้นทางจากหมู่บ้านบ้านตากฟ้า ถึง อำเภอคลองหาด อำเภอวังน้ำเย็น
จังหวัดสระแก้ว ถนนทุกสายเป็นถนนลาดยางและลูกรัง ใช้ได้ตลอดทุกฤดู
ผู้นำท้องถิ่น จำนวน ๗ คน
๑ |
นายพัด เจิมเกาะ |
กำนันตำบลซับมะกรูด |
๒ |
นายเสนอ สำเภาทอง |
ผู้ใหญ่บ้านตากฟ้า |
๓ |
นายชำนาญ อาจห้วยแก้ว |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง |
๔ |
นายเฮียง ปริธรรมมัง |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง |
๕ |
นายวิชัย บุญเกิด |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบ |
๖ |
นายบุญมี พุทธิชนย์ |
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ |
๗ |
นายสามารถ อาจห้วยแก้ว |
ผู้ทรงคุณวุฒิ |
ผู้นำตามธรรมชาติ จำนวน ๓ คน
๑ |
นายคำ ใจแสน |
ผู้นำการเกษตร |
๒ |
นายหา ใจแสน |
ผู้นำทางศาสนา |
๓ |
นายนาค เกตุมณี |
ผู้นำทางศาสนา |
รายชื่อครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตากฟ้า ปัจจุบัน
ยศ - ชื่อ - นามสกุล |
คุณวุฒิ |
ตำแหน่ง |
หน้าที่ได้รับมอบหมาย |
หมายเหตุ |
๑) จ.ส.ต.จำรูญ มะโนบาล |
ม.ศ.๓ |
โครูใหญ่ |
- งานบุคคลากร |
|
๒) ส.ต.อ.ณรงค์ฤทธิ์ เงางาม |
ม.ศ.๕ |
ครู |
- งานอาคารสถานที่, แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม |
|
๓) ส.ต.ต.มนัส เคลื่อนไธสง |
ปวช. |
ครู |
- งานธุรการ,การเงิน, โครงการสหกรณ์ |
|
๔) ส.ต.ต.สำริทธิ์ อุ่นมี |
ปวช. |
ครู |
- งานวิชาการ,โครงการ เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน, โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา |
|
๕) ส.ต.ต.ไพรรัตน์ ประวะภูตา |
ม.๖ |
ครู |
- งานกิจการนักเรียน,โครงการ ควบคุมโรคขาดวานไอโอดีน | |
๖) พลฯ เสริมเกีนรติ ตรงกิ่งตอน |
ม.๖ |
ครู พยาบาล |
- งานความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับชุมชน,โครงการ นักเรียน |
|
๗) พลฯ สุริยัน คำภู |
ม.๖ |
ครู |
ในพระราชนุเคราะห์ -โครงการสาธิตขยายพันธุ์ หญ้าแฝก |
|
ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๓๙
ชั้น |
ชาย |
หญิง |
รวม |
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน (อนุบาล) |
๙ |
๖ |
๑๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ |
๓ |
๓ |
๖ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ |
๓ |
๒ |
๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ |
๔ |
๑ |
๕ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ |
๒ |
๒ |
๔ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ |
๓ |
๑ |
๔ |
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ |
๒ |
๒ |
๔ |
รวม |
๒๖ |
๑๗ |
๔๓ |
ตารางแสดงจำนวนนักเรียนเขตบริการของโรงเรียน/ ปีการศึกษา
หมู่บ้าน |
๒๕๓๗ |
๒๕๓๘ |
๒๕๓๙ |
หมายเหตุ |
บ้านตากฟ้า |
๒๘ |
๒๘ |
๒๙ | |
บ้านทรัพย์ตะเคียน |
๘ |
๕ |
๒ |
|
บ้านไกลนคร |
๔ |
๓ |
๓ |
|
บ้านใหม่คลองยาง |
๒ |
๒ |
๑๑ |
|
รวม |
๔๒ |
๓๘ |
๔๓ |
|
แผนงานด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัย
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ถึงปัจจุบัน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ส.ต.ต. สำริทธิ์ อุนมี หัวหน้า
พลฯ เสริมเกียรติ ตรงกิ่งตอน ผู้ช่วย
พลฯ สุริยัน คำภู
|
กิจกรรมดำเนินการ
ปลูกพืชผักสวนครัวหมุนเวียนตามอายุการเจริญเติบโตและ
ฤดูกาลพื้นที่ดำเนินการ ๑๒๐ ตารางวา ใช้ปลูกผักและแปลงผัก
๒๐
แปลง ขนาดของแปลง กว้าง ๑ เมตร ยาว ๔ เมตร ปลูกมะเขือ,ถั่วพู,
ชะอม,ตำลึง,มะละกอ,พริก ตามของรอบรั้ว
|
ผู้รับผิดชอบ
ส.ต.ต. สำริทธิ์ อุ่นมี
พืชที่ปลูก
- ผักกาดขาว จำนวน ๔ แปลง
- ผักกาดเขียว จำนวน ๕ แปลง
- หอมแดง จำนวน ๔ แปลง
- ผักบุ้ง จำนวน ๔ แปลง
- ตำลึง ใช้ร้านสำกรับให้ขึ้น จำนวน ๒๒ แปลง (ให้ผลผลิตแล้ว)
- บวบเหลี่ยม จำนวน ๔ แปลง
- ถั่วฝักยาว จำนวน ๖ แปลง
- ถั่วลิสง จำนวน ๖ แปลง
- มะเขือพวง จำนวน ๒๙ ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)
- มะละกอ จำนวน ๔๐ ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)
- ถั่วพู จำนวน ๔๓ ต้น
- ชะอม จำนวน ๒๓ ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)
- พริกขี้หนู จำนวน ๗๙ ต้น
- ข่า จำนวน ๕ หลุม (ให้ผลผลิตแล้ว)
- ตะไคร้ จำนวน ๙ ก่อ (ให้ผลผลิตแล้ว)
- ต้นโหระพา,แมงลัก จำนวน ๑๙ ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)
|
เลี้ยงสัตว์ปีก
ผู้รับผิดชอบ
พลฯ สุริยัน คำภู
สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่
- เป็นพันธุ์เนื้อ จำนวน ๑๕ ตัว
- ห่าน จำนวน ๓ ตัว
- ไก่พันธุ์พื้นเมือง จำนวน ๗๐ ตัว
- ไก่พันธุ์เนื้อ จำนวน ๑๕ ตัว
- เป็ดพันธุ์ไข่ จำนวน ๑๓ ตัว
- เป็นพันธุ์เนื้อ จำนวน ๕ ตัว
|
บ่อเลี้ยงปลา
- เริ่มเลี้ยงปลาเมื่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ ปล่อยปลานิล,ปลาตะเพียน,
ปลาในปัจจุบันมีปลาประมาณ ๓๐,๐๐๐ ตัว (ให้ผลผลิตแล้ว)
|
ปลูกไม้ผล
ผู้รับผิดชอบ
พลฯ เสริมเกียรติ ตรงกิ่งตอน
ต้นไม้ที่ปลูก
มะม่วง จำนวน ๔๑ ต้น
ขนุน จำนวน ๒๐ ต้น
กล้วยน้ำว้า จำนวน ๒๓ ต้น
มะพร้าว จำนวน ๑๐ ต้น
- ฝรั่ง จำนวน ๒ ต้น
- มะยม จำนวน ๑ ต้น
- มะเฟือง จำนวน ๒ ต้น
- มะขาม จำนวน ๑ ต้น
- มะม่วงหิมพานต์ จำนวน ๖ ต้น
พืชไร่ จำนวน ๔ ไร่
- ข้าวโพดหวาน จำนวน ๔ ไร่
|
การดำเนินงาน ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน ปีการศึกษา ๒๕๓๘
(๑) สำนักโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แป้งถั่วเหลือง
น้ำตาลทราย
นมผงบอแรกซ์
พันธุ์ผักพระราชทาน
นมผงดูเม็กซ์
3 ผงโปรตีน
(๒) กรมการส่งเสริมการเกษตร (สำนักงานเกษตรอำเภอคลองหาด,
สำนักงานเกษตร จังหวัดสระแก้ว,สำนักงานเกษตรภาคตะวันออก จังหวัดระยอง)
- ปุ๋ยเคมี (ตลอดปี)
- ยากำจักศัตรูพืช (สมุนไพร)
- บัวรดน้ำ
- อุปกรณ์การเกษตร
- พันธุ์ผัก
- ไก่ไข่พันธุ์ผสม
- อาหารไก่
- ยาป้องกันโรคไก่
- ยากำจัดศัตรูพืช
(๓) การอาชีวศึกษา (วิทยาลัยเกษตรกรรมสระแก้ว)
- เป็ดพันธุ์พื้นเมือง
- เชื้อเห็ด
- ปุ๋ยเคมี
- พันธุ์ผัก
(๔) กระทรวงศึกษาธิการ
- สนับสนุนเงินโครงการอาหารกลางวัน อัตรา ๕ บาท/คน/วัน
(๕) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สนับสนุนนมกล่อง,อาคารสิ่ง
ก่อสร้าง,อุปกรณ์งานครัว,พาหนะบรรทุกสิ่งของ
|
ปัญหาอุปสรรค
ยังมีนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่พอใจ
คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๖๕
- ปีการศึกษา ๒๕๓๖มีนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็น
ร้อยละ ๑๖.๑๓/นักเรียนที่รับการตรวจ ๓๑ คน (นักเรียนไม่ปกติ ๕ คน)
- ปีการศึกษา ๒๕๓๗มีนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็น
ร้อยละ ๑๓.๓๓/นักเรียนที่รับการตรวจ ๓๐ คน (นักเรียนไม่ปกติ ๔ คน)
- ปีการศึกษา ๒๕๓๘มีนักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็น
ร้อยละ ๑๙.๐๙/นักเรียนที่
รับการตรวจ ๒๑ คน (นักเรียน
ไม่ปกติ๔ คน) การประกอบอาหาร
กลางวัน ทางโรงเรียนตำรวจ
ตระเวนชายแดนบ้านตาก
ฟ้า ประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์ และได้รับ
ความร่วมมือจากเคหะกิจ
เกษตร อำเภอคลองหาด,แม่บ้าน มาประกอบ
เลี้ยงเดือนละประมาณ ๓ครั้ง และ เด็กนัก
เรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปี
ที่๔ ประกอบ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมา ประกอบ
อาหารกลางวัน โดยใช้ผลผลิตทาง
การเกษตรจากโรงเรียนส่วนหนึ่ง และ
จัดซื้ออีกส่วนหนึ่ง การจัด
อาหารเสริม ได้จัดนมถั่วเหลือง ให้
นักเรียนดื่ม๓ ครั้ง/สัปดาห์ (จันทร์, พุธ,ศุกร์) ทำให้
นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำ
กว่าเกณฑ์มีจำนวนลดลง การ
ติดตามผล กองกำกับการตำรวจ
ตระเวนชายแดนที่ ๑๒ ได้มอบหมาย
ให้ พันตำรวจโทพงษ์ศักดิ์ นาควิจิตร รอง
ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่
|
สรุปผลการดำเนินโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ปีงบประมาณ ๒๕๓๗
สถานที่ |
กิจกรรมที่ให้การสนับสนุน |
งบประมาณ |
โรงเรียน ตชด. |
-ให้ความรู้แก่นักเรียน ศิษย์เก่า ประชาชนผู้ |
๔๔๐,๐๐๐ |
บ้านตากฟ้า |
สนใจ เรื่องการปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงปลา |
(๑ ใน ๑๒โรงเรียน) |
ต.ซับมะกรูด |
การป้องกันโรคสัตว์ปีก จำนวน ๓๐ คน |
|
อ.วังนำเย็น |
- มอบพันธุ์ปลาปล่อยบ่อ จำนวน ๕,๐๐๐ ตัว | |
จ.สระแก้ว
|
- มอบเมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน ๑๕ ชนิด เพื่อให้ |
|
|
โรงเรียนปลูกและนำผลผลิตไปประกอบอาหาร |
|
|
กลางวัน |
|
|