kanbinthai
kaosarapee
klongjareansuk
thakenchai
bankoknoi
bantakfah
banthapakchee
bannumaom
bannumaom
banwangsritong

pracharath
bannumaom

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโคกน้อย ระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จำนวนครูและนักเรียน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโคกน้อย
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ คณะกรรมการหมู่บ้าน ได้ มีความเห็น พ้องต้องกัน ว่าอยากให้บุตรหลานของ ตนได้เรียนในระดับ ประถมศึกษา ภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการ ประถม ศึกษาแห่งชาติ เนื่องจากบ้านโคก น้อยไม่มีโรงเรียนและ ตั้งอยู่ ห่างจากโรงเรียน สปช. ประกอบกับเส้น ทางในหมู่ บ้านยังไม่มี ต้องใช้ ทางเท้า ตามเส้นทางที่เป็นป่า ทึบทำให้ ยากลำบาก แก่บุตรหลาน ที่จะเข้ารับการศึกษา จึงร้อง ขอให้ ทางกำกับการตำรวจตระเวน ชายแดนเขต ๒ (ปัจจุบันกองกำ กับการ ตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒) จัดตั้ง โรงเรียน ทางกอง กำหับการฯ จึงได้ เสนอเรื่องตามขั้นตอนเพื่ออนุมัติ จัดตั้ง โรงเรียนและได้อนุมัติให้ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม๒๕๒๔
กอง กำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ มอบให้ ร.ต.ต.ประวิทย์ขออาพัด ผู้บังคับ หมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒

ประวัติความเป็นมา

บ้านโคกน้อยเดิมเป็นหมู่ บ้านเล็ก ๆ ที่อยู่ในถิ่น ทุรกันดาร อยู่ห่างไกลคมนาคม บุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ได้ ให้ ความสนใจมากนัก ชาว บ้านที่อยู่อาศัยในถิ่น นี้จึงไม่ได้รับ การศึกษา เป็น สาเหตุให้ชาวบ้านถูกผู้ ก่อการร้ายโฆษณา หลงเชื่อ ทำแต่สิ่งที่ผิด ๆ ต่อมา ตำรวจตระเวนชายแดนได้ เล็ง เห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึง มีนโยบายที่จะปรับ ปรุงให้ประชาชน แห่งนี้ มีความรู้ คือ ให้การศึกษา การ อนามัย ตลอดจนรักษาถิ่น ที่อยู่ ของตนเอง จึงได้ก่อตั้ง โรงเรียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ที่ บ้านโคกน้อย โดยเปิดทำการ สอนระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ถึง ประถมศึกษาปีที่ ๔

สภาพทั่วไป

บ้านโคกน้อยมีประชา กร ๕๗๐ ครอบครัว มีประชากร ๓,๑๖๐ คน นับ ถือศาสนาพุทธ ภาษาไทย อีสาน ประชากร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา ทำสวน มีนาย สำรวย จันทร์มงคล เป็นกำนัน และนาย คำขาน ศรีดาเลิศ เป็นผู้ ใหญ่บ้าน
อยู่ห่างจากอำเภอ วังน้ำเย็นทางทิศตะวัน ออกเฉียงเหนือประมาณ ๓๔ กิโลเมตร
อยู่ ห่างจากอำเภอเมืองสระแก้ว ทางทิศเหนือประมาณ ๗๐ กิโลเมตร
อยู่ ห่างจากกองร้อยตำรวจตระเวน ชายแดนที่ ๑๒๗ ทางทิศตะวันออก เฉียงเหนือประมาณ ๕๐ กิโลเมตร
อยู่ห่างจาก กองกำกับการตำรวจตระเวนชาย แดนที่ ๑๒ ทางทิศตะวันออกเฉียง เหนือประมาณ ๑๒๐ กิโลเมตร

ระบบการศึกษา

โรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดนบ้านโคก น้อย สังกัดกองกำกับการ ตำรวจ ตระเวนชายแดน ที่ ๑๒ จังหวัดสระ แก้ว เปิดทำการสอนตั้ง แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยรับเด็กจาก หมู่บ้านโคกน้อย ดำเนิน การสอนเป็น๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๘ ตุลาคม ๒๕๓๗
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๘
  • พื้นที่ของโรงเรียนและแหล่งน้ำ

    โรงเรียนมีพื้นที่ในการทำการเกษตร
    ปลูกผลไม้ ๒๐ ต้น
    พื้นที่ปลูกผัก ๕,๐๐๐ ตารางเมตร
    บ่อเลี้ยงปลา ๒,๐๐๐ เมตร
    แหล่งน้ำ มีบ่อน้ำบาดาล สระน้ำ

    จำนวนครูและนักเรียน

    เมื่อเริ่มก่อตั้งมี นักเรียน ๖๓ คน ครูตำรวจตระเวน ชายแดน๓ นาย ปัจจุบันมีนักเรียน ทั้งสิ้น ๓๗๖ คน เป็นชาย ๑๙๑ คน หญิง๑๘๕ คน มี ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๑๑ นาย ผู้ ดูแลเด็ก ๒ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ

    ชื่อ – นามสกุล
    วุฒิ
    ตำแหน่ง
    ๑.  ด.ต.สวัสดิ์ ช้างนะ
    ม.ศ.๓
    ผู้บริหารโรงเรียน
    ๒. ด.ต.สมโภชน์ ใบใหญ่
    ม.ศ.๓
    ผู้ช่วยฯ
    ๓. จ.ส.ต.วิทยา มะลิดา
    ม.ศ.๓
    มวลชนสัมพันธ์
    ๔. จ.ส.ต.ดนัยเดช เกขุนทด
    ม.๖
    โครงการฝึกอาชีพ
    ๕. ต.ส.ต.อุทัย จินตะกัน
    ม.ศ.๓
    โครงการปลูกหญ้าแฝก,ผู้ดูและเด็ก
    ๖. จ.ส.ต.บุญธรรม ยะนินทร
    ม.๖
    โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์
    ๗. จ.ส.ต.สนั่น วงเวียน
    ม.ศ.๓
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๘. จ.ส.ต.คำเลิศ แก้วรักษา
    ม.ศ.๓
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๙. จ.ส.ต.สัมพันธ์ ลีลาชาญสุวรรณ์
    ม.๖
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๑๐. ส.ต.ต.ถนอม ทรงจันทึก
    อศศ.
    การเงิน, อาคารสถานที่
    ๑๑. ส.ต.ต.บรรจง เรืองสุขสุด
    ปก.ศ.สูง
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ๑๒. นางสาวสุภาพ แพนทิศ
    ป.๖
    ผู้ดูแลเด็ก
    ๑๓. นางสาวพนมพร มั่นคง
    ม.๓
    ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน

    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กก่อนวัยเรียน
    ๒๐
    ๒๕
    ๔๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๖
    ๒๕
    ๕๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๗
    ๑๖
    ๔๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๓๑
    ๓๓
    ๖๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๓๖
    ๔๑
    ๗๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๒๒
    ๑๙
    ๔๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๒๙
    ๒๖
    ๕๕
    รวม
    ๑๙๑
    ๑๘๕
    ๓๗๖

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    ช่วงเดือน พฤษภาคม – มกราคม ๒๕๓๘

    ผลผลิตทางการเกษตร และวัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร
    ประเภท
    ผลผลิตทางการเกษตร
    (กิโลกรัม)
    วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหาร
    (กิโลกรัม)
    ๑. เนื้อสัตว์
    - สัตว์ปีก
    ๗๑
    ๑,๑๔๕
    - ไข่ (ฟอง)
    ๔๕๒
    ๑๙,๔๘๖
    - ปลา
    -
    ๑,๑๔๐
    - อื่น ๆ
    -
    ๕๙๔
    ๒. ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น
    ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น
    ๕๙๖
    ๘๔๕
    ๓. พืชผัก
    ๒,๑๗๘
    ๔,๕๒๓
    ๔. ไม้ผล
    -
    ๖๐๐

    ภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ระดับชั้น จำนวนนักเรียน จำนวนนักเรียน ภาวะโภชนาการ
    ทั้งหมด ที่ตรวจจำนวนปกติ จำนวนไม่ปกติ
      คน ร้อยละ คน ร้อยละ คน ร้อยละ
    เด็กก่อนวัยเรียน ๔๘ ๓๖ ๗๕.๐๐ ๓๒ ๘๘.๘๙ ๑๑.๑๑
    ประถมศึกษาปีที่ ๑ ๔๗ ๔๗ ๑๐๐ ๓๕ ๗๔.๔๗ ๑๒ ๒๕.๕๓
    ประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔๑ ๓๙ ๙๕.๑๒ ๓๓ ๘๔.๖๒ ๑๕.๓๘
    ประถมศึกษาปีที่ ๓ ๖๑ ๖๑ ๑๐๐ ๕๐ ๘๑.๙๗ ๑๑ ๑๘.๐๓
    ประถมศึกษาปีที่ ๔ ๗๓ ๗๒ ๙๘.๖๓ ๖๒ ๘๖.๑๑ ๑๐ ๑๓.๘๙
    ประถมศึกษาปีที่ ๕ ๔๑ ๔๑ ๑๐๐ ๓๒ ๗๘.๐๕ ๒๑.๙๕
    ประถมศึกษาปีที่ ๖ ๕๓ ๕๒ ๙๘.๑๑ ๔๘ ๙๒.๓๑ ๗.๖๙
    รวม ๓๖๔ ๓๔๘ ๙๕.๖๐ ๒๙๒ ๘๓.๙๑ ๕๖ ๑๙.๐๙

    ที่มา :แบบรายงานภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนโรงเรียนตชด.การบินไทยปีการศึกษา ๒/๒๕๓๗


    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี.(๑๐)
    (ออก ท๑ ส๖๕๒๒ ๒๕๓๘)