ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาขวางระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาขวาง

หมู่ที่ ๕ บ้านนาขวาง ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๒ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด จัดการเรียนการสอนที่บริเวณสำนักสงฆ์บ้านนาขวาง เปิดสอนได้ ๑ ปี จึงย้ายไปตั้งที่บริเวณทุ่งนาติดกับลำน้ำมาง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ตั้งเดิม โดยได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน จำนวน ๑ หลัง ๒ ห้องเรียน
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๓๘ บริษัทซิว - เนชั่นแนล จำกัด ได้สร้างอาคารเรียน สปช.๑๐๕/๒๙ ให้ จำนวน ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน เป็นเงิน ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท และสร้างส้วมแบบกรมสามัญศึกษาให้ จำนวน ๑ หลัง ๖ ที่นั่ง เป็นเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยห่างจากที่ตั้งเดิม ๖๐๐ เมตร
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่

การคมนาคม
หมู่บ้านอยู่ห่างจาก สปอ.บ่อเกลือ ระยะทาง ๙ กิโลเมตร และห่างจาก สปจ.น่าน ๑๒๗ กิโลเมตร การเดินทางไม่สะดวกเนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา มีรถโดยสารประจำทาง ๑ เที่ยวต่อวัน

จำนวนประชากร
มีประชากร ทั้งหมด ๕๖๖ คน แยกเป็น ๑๓๒ ครัวเรือน เป็นชาย ๓๐๕ คน หญิง ๒๖๑ คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองร้อยละ ๗๐ เป็นชาวเขาเผ่าถิ่นร้อยละ ๓๐ มีเด็กอายุต่ำกว่าเกณฑ์ ๗ ปี จำนวน ๗๒ คน เป็นชาย ๔๗ คน หญิง ๒๕ คน

การประกอบอาชีพ/รายได้เฉลี่ย
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ค้าขายและรับจ้าง มีรายได้เฉลี่ย ๖,๐๐๐ บาท/ปี/คน

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน นายก๋อง อุปจักร์
ผู้ใหญ่บ้าน นายบุญมี เขื่อนเมือง

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
บ้านผักเฮือก ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากบ้านนาขวาง ประมาณ ๕๐๐ เมตร

ปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องการพัฒนา
๑. ต้องการมีแหล่งรับซื้อสินค้าทางการเกษตร
๒. การปรับพื้นที่ทำกิน
๓. ทุนการศึกษาของนักเรียน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านนาขวาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๒ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านนาขวาง และบ้านวังปะ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ ถึง ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑. อาคารเรียน ๑ หลัง ๒ ห้องเรียน งบประมาณ กระทรวงศึกษาธิการ
    ๒. อาคารเรียน ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน บริษัทซิว - เนชั่นแนล จำกัด
    ๓. ส้วม ๑ หลัง ๖ ที่นั่ง บริษัทซิว - เนชั่นแนล จำกัด

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๖๕ คน มีครู ๑ คน
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๑๑๐ คน เป็นชาย ๖๗ คน หญิง ๔๓ คน มีครู ๕ คน

    ตารางแสดงจำนวนและคุณวุฒิ
    ยศ – ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    ผู้รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. นายพรชัย แก้วจอด
    คบ.
    ครูใหญ่
    ๒. นางภัทรา ขจรฤทธิ์
    คบ.
    โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๓. นายไพบูลย์ ไชยโย
    คบ.
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๔. นายเอกวิทย์ กนกพิชญ์กุล
    คบ.
    โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
    ๕. นางดวงฤดี ดาวดึงษ์
    คบ.
    โครงการส่งเสริมสหกรณ์

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๒๔
    ๓๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๑
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๐
    ๑๖
    รวม
    ๖๗
    ๔๓
    ๑๑๐

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายไพบูลย์ ไชยโย
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ เกษตรอำเภอบ่อเกลือ
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาภูเขา
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ กลุ่มแม่บ้าน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๘ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมสด UHT จาก กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน ๑๓,๒๐๐ กล่อง
    ๒. แป้งถั่วเหลือง จาก สำนักพระราชวัง จำนวน ๑๔๕ กิโลกรัม

    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ
    ๑. นมสด UHT ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่ม วันละ ๑ กล่อง
    ๒. นมถั่วเหลือง ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวัน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๕๐.๐๐
    ๒๐.๖๖
    ๒๐.๖๖
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๗๐.๙๕
    ๓๒.๒๕
    ๘๐.๖๓
    ดีมาก
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๑๐.๐๐
    ๔.๕๕
    ๔.๕๕
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    กันยายน ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
    ผลผลิตเฉลี่ย (กรัม/คน/มื้อ)
    %ผลผลิตที่ได้/ความต้องการ (กรัม)
    ประเมินผล
    ๓.๙๕
    ๑.๖๓
    ๔.๐๘
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง
    ๓๐.๐๐
    ๑๒.๔๐
    ๑๒.๔๐
    ปรับปรุง
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ๐.๐๐
    ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕% = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕% = ดี
    > ๒๕% - ๕๐% = พอใช้
    < ๒๕% = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๓๓
    ๑๙
    ๑๙
    -
    -
    ๐.๐๐
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๑๕
    ๑๐
    ๑๐.๐๐
    ดี
    ประถม ๒
    ๑๓
    ๑๓
    ๑๒
    ๗.๖๙
    ดีมาก
    ประถม ๓
    ๒๐.๐๐
    พอใช้
    ประถม ๔
    ๑๒
    ๑๒
    ๑๑
    ๘.๓๓
    ดีมาก
    ประถม ๕
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๔
    ๑๒.๕๐
    ดี
    ประถม ๖
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๔
    ๑๒.๕๐
    ดี
    รวม
    ๗๗
    ๗๒
    ๖๔
    ๑๑.๑๑
    ดี

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๑๐๐ กิโลกรัม
    ๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๕๐ กิโลกรัม
    ๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๑๐๙)
    (นน. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๐)