ประวัติโรงเรียนบ้านห้วยฟองระบบการศึกษา
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันรายการสิ่งของพระราชทาน

ประวัติโรงเรียนบ้านห้วยฟอง

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ บ้านห้วยฟอง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ โดยราษฎรบ้านสะจุก บ้านสะเกี้ยง และบ้านห้วยฟอง ร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง บนที่ดินประมาณ ๔ ไร่ ที่นายศรีเดช ช่างเงิน กำนันตำบลขุนน่านบริจาคให้ ซึ่งจัดตั้งเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านเปียงซ้อ ต่อมาเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๐ ได้รับการยกฐานะเป็นโรงเรียนเอกเทศ ชื่อว่า "โรงเรียนบ้านห้วยฟอง" ปัจจุบันโรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๑๐ ไร่

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ข้อมูลหมู่บ้านห้วยฟองหมู่ที่ ๖ ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
ตั้งบนภูเขาสูง สภาพที่ตั้งหมู่บ้านเป็นหย่อมบ้านตามเนินเขา ตั้งอยู่ห่างกันประมาณ ๓ - ๔ กิโลเมตร สภาพอากาศหนาวเย็น

การคมนาคม
เป็นถนนลูกรังจากถนนลาดยางไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ใช้ได้ในฤดูแล้ง ส่วนในฤดูฝนถนนจะขาดเป็นช่วงๆ ส่วนมากเป็นทางลาดชัน ระยะทางห่างจาก สปอ.เฉลิมพระเกียรติ ๖๑ กิโลเมตร ห่างจาก สปจ.น่าน ๒๐๖ กิโลเมตร

จำนวนประชากร
มีประชากร จำนวน ๓๓๖ คน แยกเป็น ๘๑ ครัวเรือน เป็นชาวเผ่าถิ่น

การประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม ทำไร่ และค้าขาย

ผู้นำหมู่บ้าน
กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน   นายศรีเดช   ช่างเงิน

ข้อมูลทั่วไปหมู่บ้านใกล้เคียง
๑. หมู่บ้านสะจุก ห่างจากหมู่บ้านห้วยฟอง ประมาณ ๒ กิโลเมตร มีประชากร ๔๑๑ คน เป็นชาวเผ่าถิ่น มีฐานะยากจน เป็นที่ตั้งสถานพยาบาล (ศสช.)
๒. หมู่บ้านสะเกี้ยง ห่างจากหมู่บ้านห้วยฟอง ประมาณ ๔ กิโลเมตร มีประชากร ๕๑๓ คน เป็นชาวเผ่าถิ่น มีฐานะยากจน เป็นที่ตั้งฐาน ตชด.
๓. หมู่บ้านเปีองซ้อ ห่างจากหมู่บ้านห้วยฟอง ประมาณ ๕ กิโลเมตร มีประชากร ๖๑๑ คน เป็นชาวเผ่าถิ่น มีฐานะยากจน อยู่ติดชายแดนลาว

ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านห้วยฟอง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ โดยรับเด็กจากหมู่บ้านสะจุก บ้านสะเกี้ยง และบ้านห้วยฟอง ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๐ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๔๐
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ ถึง ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๑

  • อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
    ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

    อาคารสถานที่
    ผู้ให้การสนับสนุน
    ๑.อาคารเรียนชั่วคราว ชาวบ้านบ้านสะจุก บ้านสะเกี้ยง บ้านห้วยฟอง และงบปรับปรุง สปช.
    ๒. อาคารเรียนชั่วคราว ชมรมอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และงบปรับปรุง สปช.
    ๓. อาคารเรียนชั่วคราว ชมรมอาสาพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    ๔. อาคารเรียนถาวร ๑ หลัง ๓ ห้องเรียน สปช. ปีงบประมาณ ๒๕๔๐

    จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๒๖๔ คน มีครู ๑ คน
    ปัจจุบัน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐) มีนักเรียน ๓๓๖ คน เป็นชาย ๑๖๗ คน หญิง ๑๖๙ คน มีครู ๖ คน ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนครูและคุณวุฒิ
    ชื่อ - นามสกุล
    คุณวุฒิ
    รับผิดชอบโครงการฯ
    ๑. นายวีระยุทธ กันทะเสน ค.บ. รักษาการฯ ครูใหญ่/โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ๒.  นายศฤงคาร เรืองกาอินทร์ ค.บ. โครงการส่งเสริมสหกรณ์
    ๓.&nbspนางชวนพิศ ปันตาดี ค.บ. โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
    ๔.  น.ส.สุภารัตน์ นาคว้าย ค.บ.  
    ๕. น.ส.เดือนฉาย จันทะ ค.บ. โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ๖.  น.ส.ณัฐณิชา รัตนวรกร ค.บ.  
    ๗. น.ส.พิชชาพร อุ่นถิ่น ม.๓ ผู้ดูแลเด็ก

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๒
    ๑๖
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๓๔
    ๒๖
    ๖๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๐
    ๒๐
    ๔๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๕
    ๑๗
    ๓๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๓๐
    ๓๔
    ๖๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๔๗
    ๕๑
    ๙๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๔
    รวม
    ๑๖๗
    ๑๖๙
    ๓๓๖

    โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
    เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายธีระยุทธ กันทะเสน
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ สปจ.น่าน สปอ.เฉลิมพระเกียรติ เกษตรอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ประมงอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร และแหล่งน้ำสำหรับดื่ม คือ ประปาหมู่บ้าน
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยง ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ผู้ประกอบเลี้ยง คือ นักเรียน
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๖๖ คน
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๕ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมปีการศึกษา ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐ ดังนี้
    ๑. นมสด UHT  จาก สปช.  จำนวน  ๒๙,๐๐๗ กล่อง
    ๒. แป้งถั่วเหลือง  จาก สำนักพระราชวัง  จำนวน   ๔๐  กิโลกรัม
    ๓. นมสด UHT  จาก กรมอนามัย   จำนวน   ๘,๕๐๐  กล่อง
    การให้อาหารเสริม มีการดำเนินการ ดังนี้
      ๑. นมสด UHT  ให้นักเรียนที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานดื่ม วันละ ๒ กล่อง
    ๒. นมผง  ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวัน
    ๓. นมถั่วเหลือง  ให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวัน

    ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๔๐
    เดือน หมวด
    เนื้อสัตว์ ถั่ว ผัก ผลไม้
    พฤษภาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๖.๐๐ ๘๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย
    (กรัม/คน/มื้อ)
    ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๙.๘๐ ๑๔.๐๑
      %ผลผลิตที่ได้/
    ความต้องการ (กรัม)
    ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๙.๘๐ ๑๔.๐๑
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    มิถุนาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๘๐.๐๐ ๑๒๕.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย
    (กรัม/คน/มื้อ)
    ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๑.๓๔ ๑๗.๗๒
      %ผลผลิตที่ได้/
    ความต้องการ (กรัม)
    ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๑๑.๓๔ ๑๗.๗๒
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    กรกฎาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๒๘.๐๐ ๐.๐๐ ๙๒.๐๐ ๑๓๘.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย
    (กรัม/คน/มื้อ)
    ๓.๙๗ ๐.๐๐ ๑๓.๐๔ ๑๙.๕๖
      %ผลผลิตที่ได้/
    ความต้องการ (กรัม)
    ๙.๙๒ ๐.๐๐ ๑๓.๐๔ ๑๙.๕๖
      ประเมินผล ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
    สิงหาคม ผลผลิตรวม (กิโลกรัม) ๖๕.๐๐ ๐.๐๐ ๘๕.๐๐ ๑๔๐.๐๐
      ผลผลิตเฉลี่ย
    (กรัม/คน/มื้อ)
    ๙.๖๗ ๐.๐๐ ๑๒.๖๕ ๒๐.๘๓
      %ผลผลิตที่ได้/
    ความต้องการ (กรัม)
    ๒๔.๑๘ ๐.๐๐ ๑๒.๖๕ ๒๐.๘๓
      ประเมินผล ดีมาก ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง

    หมายเหตุ คำอธิบายการแปลผล/เกณฑ์
    > ๗๕%   = ดีมาก
    > ๕๐% - ๗๕%   = ดี
    > ๒๕% - ๕๐%   = พอใช้
    < ๒๕%   = ปรับปรุง

    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๒)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๒๘
    ๒๑
    ๒๐
    -
    -
    ๔.๗๖
    ดีมาก

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๖๐
    ๔๘
    ๒๘
    ๒๐
    ๔๑.๗๐
    ปรับปรุง
    ประถม ๒
    ๔๐
    ๔๐
    ๒๙
    ๑๑
    ๒๗.๕๐
    พอใช้
    ประถม ๓
    ๓๒
    ๓๑
    ๑๗
    ๑๔
    ๔๕.๑๖
    ปรับปรุง
    ประถม ๔
    ๖๔
    ๔๘
    ๓๘
    ๑๐
    ๒๐.๘๓
    พอใช้
    ประถม ๕
    ๙๘
    ๖๕
    ๕๕
    ๑๐
    ๑๕.๔๐
    ดี
    ประถม ๖
    ๑๔
    ๑๐
    ๑๐.๐๐
    ดีมาก
    รวม
    ๓๐๘
    ๒๔๒
    ๑๗๖
    ๖๖
    ๒๒.๒๗
    พอใช้

    รายการสิ่งของพระราชทาน
    ปีการศึกษา ๒๕๓๙
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๓ งวด จำนวน ๓๐ กิโลกรัม
    ๒. น้ำตาลทราย ๓ งวด จำนวน ๓๐ กิโลกรัม
    ๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ปีการศึกษา ๒๕๔๐
    ๑. แป้งถั่วเหลือง ๑ งวด จำนวน ๑๐ กิโลกรัม
    ๒.น้ำตาลทราย ๒ งวด จำนวน ๑๐ กิโลกรัม
    ๓. เมล็ดพันธุ์ผัก ๒ งวด จำนวน ๒ ชุด

    ระยะ ๒


    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๐๐)
    (นน. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๐)