ประวัติโรงเรียนบ้านห่างทางหลวงจำนวนครูและนักเรียน
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

ประวัติโรงเรียนบ้านห่างทางหลวง

หมู่ที่ ๒ ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงาน องค์กรการกุศล "อ๊อกเคเดนเวนเจอร์" สร้างอาคารเรียนชั่วคราว จำนวน ๓ ห้องเรียน และจ้างนายจันดี ขาเหล็ก ไปทำการสอน ต่อมาวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๓๙ ทาง สปจ.น่าน ได้ส่งครูเข้าไปทำการสอน โดยกำหนดให้เป็นโรงเรียนบ้านนากอก สาขาบ้านสบกอก วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๒๙ สปจ.น่าน ได้ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนเอกเทศ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๓๐ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สร้างอาคารเรียนแบบ ๑๐๓ จำนวน ๓ ห้องเรียน และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๒/๒๖ จำนวน ๒ ห้องเรียน วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๓๒ สปจ.น่าน ได้จัดสรรอัตราครูมาเพิ่มเป็นจำนวน ๑๐ อัตรา ปีงบประมาณ ๒๕๓๗ โรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.๑๐๒/๒๖ ขนาด ๓ ห้องเรียน ราคา ๗๘๐,๐๐๐ บาท อาคารแบบ สปช. ๒๐๑/๒๖ ซึ่งเป็นอาคารเอนกประสงค์ ราคา ๓๘๐,๐๐๐ บาท ส้วมแบบ ๖๐๑/๒๖ ราคา ๔๕,๐๐๐ บาท อย่างละ ๑ หลัง โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๕ ไร่

อาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
ทางโรงเรียนมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ดังนี้

อาคารสถานที่
ขนาด/จำนวน
๑.อาคารเรียน สปช.๑๐๒/๒๖ ๑ ชั้น ๒ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
๒.อาคารเรียน ๑๐๓ ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
๓. อาคารเรียน สปช. ๑๐๒/๒๖ ๑ ชั้น ๓ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง
๔.อาคารเอนกประสงค์ สปช.๒๐๑/๒๖ ๑ หลัง
๕. ห้องครัว ๑ หลัง
๖.ห้องสมุด ๑ หลัง
๗.ส้วม สปช.๖๐๑/๒๖ ๔ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง
๘.ส้วม สปช. ๖๐๑/๒๖ ๒ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง
๙.บ้านพักครู สปช.๓๐๒/๒๘ ๑ หลัง
๑๐.บ้านพักครูที่ราษฎรร่วมกันบริจาค ๒ ชั้น ๔ ห้องนอน จำนวน ๑ หลัง

จำนวนครูและนักเรียน
ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๐๔ คน เป็นชาย ๕๘ คน หญิง ๔๘ คน มีครู ๘ คน นักการภารโรง ๑ คน

ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๒
ชั้น
ชาย
หญิง
รวม
เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
๑๕
๑๗
๗๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑๑
๑๙
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
๑๐
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
๑๒
๑๖
รวม
๕๘
๔๘
๑๐๖

โครงการตามพระราชดำริที่โรงเรียนดำเนินการอยู่
เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้น ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนต่างๆ ในโครงการตามพระราชดำริ ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร (๒๕๔๐ - ๒๕๔๔) ดังต่อไปนี้

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
กิจกรรมการผลิตทางการเกษตร
ผลการดำเนินงาน การปลูกพืชผักสวนครัวยังปลูกได้น้อย มีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทางโรงเรียนต้องจัดซื้อวัตถุดิบมาทดแทน บางครั้งก็ให้ผู้ปกครองนักเรียนหาพืชผักที่มีอยู่ตามท้องถิ่นมาให้ ทางโรงเรียนได้ปลูกพืชผักหมุนเวียนติดต่อกันไปอย่างต่อเนื่อง ส่วนการผลิตถั่วเมล็ดแห้งและการผลิตไม้ผลในโรงเรียนได้ปริมาณยังไม่เพียงพอ ต้องซื้อหามาเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง ส่วนการเลี้ยงสัตว์ได้เลี้ยงไก่พันธุ์สามสายเลือด ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ผลผลิตที่ได้จำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันและจำหน่ายให้กับชาวบ้าน โดยการหมุนเวียนในรูปของสหกรณ์ และการเลี้ยงปลากินพืช ได้ผลน้อย เนื่องจากปลาได้ออกจากสระในช่วงฤดูฝนเพราะน้ำท่วมบ่อปลา แต่นักเรียนส่วนใหญ่ได้รับประทานอาหารจำพวกเนื้ออย่างเพียงพอ การประกอบเลี้ยงอาหารกลางวัน
ผลการดำเนินการ โรงเรียนประกอบเลี้ยงอาหารกลางวันได้ครบทุกวัน และคำนึงถึงคุณค่าอาหารที่นักเรียนได้รับในแต่ละมื้อด้วย ส่วนประกอบการทำขนมหวาน ส่วนใหญ่ทางโรงเรียนจะเน้นจำพวกถั่วต่างๆ และได้วางแผนให้สอดคล้องกับแผนการประกอบอาหารที่ทางโรงเรียนได้จัดทำขึ้นมา

อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ ครั้งที่๑)
ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
ระดับ๑
ระดับ๒
ระดับ๓
รวม
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
เด็กเล็ก
๑๔
๑๔
๑๓
๗.๑๔
ดีมาก

ชั้น
นร.ทั้งหมด
นร.ที่ตรวจ
นร.ปกติ
จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
% ต่ำกว่าเกณฑ์
ประเมิน
ประถม ๑
๑๔
๑๔
๑๒
๑๔.๒๙
ดี
ประถม ๒
๑๐
๑๐
๑๐
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๓
๑๙
๑๙
๑๗
๑๐.๕๓
ดี
ประถม ๔
๑๐
๑๐
๒๐.๐๐
พอใช้
ประถม ๕
๑๕
๑๕
๑๕
๐.๐๐
ดีมาก
ประถม ๖
๒๔
๒๔
๒๔
๐.๐๐
ดีมาก
รวม
๙๒
๙๒
๘๖
๖.๕๒
ดีมาก

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี. (๑๙๘)
(นน. ท๑ ส๖๕๒ ๒๕๔๒)