ประวัติโรงเรียนบ้านห้วยฟองข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการผลการดำเนินโครงการ

ข้อมูลนักเรียน

เมื่อเริ่มก่อตั้ง มีนักเรียน ๒๔๖ คน ปัจจุบันมีนักเรียน ๓๘๕ คน เป็นชาย ๑๘๔ คน หญิง ๒๐๑ คน มีข้าราชการครู ๙ คน ครูอัตราจ้าง ๓ คน ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน

ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านห้วยฟอง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๕๓๖ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓   ถึง  วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๓
  • ภาคเรียนที่ ๒ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๓  ถึง  วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔

  • ผลการดำเนินโครงการ
    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒)
    ปีการศึกษา ๒๕๔๐ นักเรียนจบประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๐ คน ศึกษาต่อ จำนวน ๒ คน และประกอบอาชีพ จำนวน ๗ คน บรรพชาเป็นสามเณรแล้วเรียนต่อ ๑ รูป
    ปีการศึกษา ๒๕๔๑ นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๖๗ คน เรียนต่อมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่โรงเรียนบ้านห้วยฟอง จำนวน ๒๔ คน ประกอบอาชีพที่บ้าน และไปค้าแรงงานจำนวน ๔๓ คน
    ปีการศึกษา ๒๕๔๒ นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๔๗ คน เรียนต่อมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านห้วยฟอง จำนวน ๔๕ คน ประกอบอาชีพที่บ้าน ๒ คน

    การดำเนินโครงการ
    ๑. โรงเรียนประสานงานกับกรมประมง เพื่อขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่ของโรงเรียน ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องของการขาดแคลนน้ำอุปโภคในการประกอบกิจกรรมด้านเกษตร แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้
    ๒. ให้นักเรียนประกอบกิจกรรมการเกษตร ปลูกผัก ปลูกไม้ผล และเลี้ยงสัตว์ปีก โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ
    ๓. นำผลผลิตที่ได้จากการเกษตรจำหน่ายผ่านระบบสหกรณ์ของโรงเรียนให้กับฝ่ายอาหารกลางวัน
    ๔. โรงเรียนนำผลผลิตของนักเรียนมาประกอบเป็นอาหารให้นักเรียนรับประทาน ๕ ครั้ง/สัปดาห์
    ๕. ขอความร่วมมือจากชุมชนในการช่วยเหลือกิจกรรมบางกรณีตามความเหมาะสมของฤดูกาล
    ๖. โรงเรียนทำนมถั่วเหลือง และแจกนมลาสเจอร์ไรส์ ให้นักเรียนดื่มทุกวัน
    ๗. โรงเรียนแต่งตั้งครูผู้รับผิดชอบในการเฝ้าระวังด้านภาวะโภชนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยการชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง และรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกเดือน
    ๘. โรงเรียนประสานงานกับเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยบ้านสะจุก ตรวจสุขภาพนักเรียน และฉีดวัคซีนคุ้มกันปีละ ๒ ครั้งเป็นอย่างต่ำ และตรวจสุขภาพทั่วไปตามปฏิทินของสถานีอนามัย
    ๙. โรงเรียนจัดระบบการค้นหานักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการตั้งแต่ต้นปี เมื่อพบนักเรียนที่มีปัญหา จะแยกบัญชีเฉพาะไว้เพื่อติดตามแก้ไข ตลอดทั้งแจ้งผู้ปกครองให้ทราบเกี่ยกับภาวะโภชนาการของบุตรหลาน ถ้าพบนักเรียนมีอาการรุนแรงก็จัดส่งเข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรง
    ๑๐. โรงเรียนประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ การถนอมอาหาร และอื่นๆ ตามความเหมาะสม

    ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ ๑
    ระดับ ๒
    ระดับ ๓
    รวม
    % ต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๕๔
    ๔๘
    ๔๐
    ๑๖.๖๗
    รุนแรงปานกลาง

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำ
    กว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๓๐
    ๒๘
    ๒๕
    ๑๐.๗๑
    รุนแรงปานกลาง
    ประถม ๒
    ๔๒
    ๔๐
    ๓๘
    ๕.๐๐
    รุนแรงน้อย
    ประถม ๓
    ๔๗
    ๔๕
    ๔๒
    ๖.๖๗
    รุนแรงน้อย
    ประถม ๔
    ๔๗
    ๔๓
    ๔๐
    ๖.๙๘
    รุนแรงน้อย
    ประถม ๕
    ๔๑
    ๔๐
    ๓๗
    ๗.๕๐
    รุนแรงน้อย
    ประถม ๖
    ๓๐
    ๓๐
    ๒๘
    ๖.๖๗
    รุนแรงน้อย
    รวม
    ๒๓๗
    ๒๒๖
    ๒๑๐
    ๑๖
    ๗.๐๘
    รุนแรงน้อย

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๔)