ประวัติโรงเรียนบ้านสบมาง ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนบ้านสบมาง

หมู่ที่ ๔ บ้านสบมาง ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
โรงเรียนบ้านสบมาง จัดสร้างขึ้นหลังจากที่ทางราชการและประชาชนในพื้นที่ สามารถสร้างความเข้าใจกันได้ และตกลงที่จะร่วมมือกันพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญยิ่งขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ชค.๒๑๕ พทต.๓๒ ดำเนินการสร้างอาคารชั่วคราวและให้ทหารดำเนินการสอน ต่อมา ผบ.พตม.๓๒ ได้สั่งการให้ดำเนินการจัดมวยการกุศล ในการจัดครั้งนี้ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น ๑๓๓,๐๐๐ บาท จึงนำเงินมาสร้างอาคารเรียน แบบ ป.๑ ช จำนวน ๑ หลัง ๓ ห้องเรียน และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๒๗ โดยในระยะแรกนี้ให้โรงเรียนบ้านสบมาเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านบ่อหลวง ปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารประกอบดังนี้ ๑. อาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๓/๒๖ ขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง ใช้งบประมาณ ๖๘๐,๐๐๐ บาท
๒. บ้านพักครูแบบครูชายแดน สปช.๓๐๒/๒๖ จำนวน ๑ หลัง งบประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท
๓. ส้วมแบบ นน.๑๐ จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๒ ที่นั่ง งบประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท
ในปีงบประมาณ ๒๕๓๒ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างบ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง ส้วมแบบ สปช.๖๐๑/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๒ ที่นั่ง งบประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท ปีการศึกษา ๒๕๓๓ กรมประมงได้มาทำการขุดบ่อเลี้ยงปลาให้ทางโรงเรียน จำนวน ๑ บ่อ ปีงบประมาณ ๒๕๓๘ ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารประกอบ จำนวน ๒ หลัง คือ ๑. อาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช.๒๐๑/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ใช้งบประมาณ ๓๘๐,๐๐๐ บาท
๒. ส้วมแบบ สปช.๖๐๑/๒๖ จำนวน ๑ หลัง ขนาด ๒ ที่นั่ง ใช้งบประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาท
และได้งบประมาณจากมูลนิธิฐานเศรษฐกิจตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท โดยโรงเรียนได้เข้าเป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเทพรัตราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยี่ยมและทอดพระเนตรกิจกรรมตามโครงการต่างๆ ของโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ในปีการศึกษา ๒๕๓๙ โรงเรียนได้ขอเปิดเป็นห้องเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนบ้านบ่อหลวง อนึ่ง ในปีงบประมาณ ๒๕๔๐ ทางโรงเรียนบ้านสบมาง ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ขนาด ๔ ห้องเรียน จำนวน ๑ หลัง และส้วมแบบ สปช.๖๐๑/๒๖ ขนาด ๔ ที่นั่ง จำนวน ๑ หลัง ปีการศึกษา ๒๕๔๒ ได้รับงบประมาณก่อสร้างสนามวอลเลย์บอล และถังเก็บน้ำฝนแบบ ฝ ๓๐ พิเศษ จำนวน ๔ ถัง และในปีการศึกษา ๒๕๔๓ ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างสนามบาสเกตบอล และโรงเรียนได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๒ - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนายอนันต์ ธิคำ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนบ้านสบมาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน มีหมู่บ้านในเขตบริการ ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๓ บ้านผาสุข หมู่ที่ ๔ บ้านสบมาง และหมู่ที่ ๕ บ้านห้วยล้อม โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๗ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ เปิด วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ถึง วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๓
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๓ ถึง วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๔

  • จำนวนครูและนักเรียน
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๓๒๗ คน เป็นชาย ๑๓๐ คน หญิง ๑๙๗ คน มีข้าราชการครู ๑๔ คน ช่วยราชการ ๑ คน ลาศึกษาต่อ ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๓
    ชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    อนุบาล
    ๓๑
    ๒๔
    ๕๕
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๓
    ๑๕
    ๒๘
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๒๐
    ๒๑
    ๔๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๖
    ๑๘
    ๓๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๕
    ๑๕
    ๓๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๔
    ๑๙
    ๓๓
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    ๑๗
    ๒๖
    รวม
    ๑๑๘
    ๑๒๙
    ๒๔๗
    มัธยมศึกษาปีที่ ๑
    ๒๕
    ๑๖
    ๔๑
    มัธยมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๖
    ๒๑
    มัธยมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๖
    ๑๘
    รวม
    ๓๒
    ๔๘
    ๘๐
    รวมทั้งหมด
    ๑๕๐
    ๑๗๗
    ๓๒๗

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒)
    อัตราการศึกษาต่อของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

    ปีการศึกษา

    จำนวนนักเรียน

    ศึกษาต่อ

    ประกอบอาชีพ

       

    คน

    ร้อยละ

    คน

    ร้อยละ

    ๒๕๔๐

    ๔๒

    ๒๘

    ๖๖.๖๖

    ๑๔

    ๓๓.๓๔

    ๒๕๔๑

    ๔๒

    ๓๐

    ๗๑.๔๒

    ๑๒

    ๒๘.๕๙

    ๒๕๔๒

    ๕๔

    ๔๕

    ๗๗.๕๘

    ๑๓

    ๒๒.๔๒


    อัตราการศึกษาต่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

    ปีการศึกษา

    จำนวนนักเรียน

    ศึกษาต่อ

    ประกอบอาชีพ

       

    คน

    ร้อยละ

    คน

    ร้อยละ

    ๒๕๔๑

    ๑๑

    ๕๔.๕๔

    ๔๕.๔๖

    ๒๕๔๒

    ๒๙

    ๑๐

    ๓๔.๔๘

    ๑๙

    ๖๕.๕๒


    การดำเนินโครงการ
    • กิจกรรมอาหารเสริม
    ๑. นมถั่วเหลืองพระราชทานต้มให้นักเรียนทั้งหมดดื่มทุกวัน เวลา ๐๙.๐๐ น.
    ๒. แจกนมพลาสเจอร์ไรส์ที่ได้รับจัดสรรตามงบประมาณให้นักเรียนชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๔ ดื่มทุกวัน เวลา ๑๕.๐๐ น.
    • การประกอบอาหารแบ่งผู้รับผิดชอบเป็น ๓ กลุ่ม คือ
    ๑. ครูเวรประจำวัน มีหน้าที่จัดหาอาหารและดูแลความเรียบร้อยของโรงประกอบอาหาร
    ๒. นักเรียนเวรวันละ ๓ คน ทำหน้าที่ต้มถั่วเหลือง และดูแลทำความสะอาดโรงประกอบอาหาร
    ๓. แม่บ้านแต่ละหมู่บ้านจะมาประกอบอาหารวันละ ๕ คน โดยหมุนเวียนกันหมู่บ้านละ ๑ สัปดาห์

    ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ ครั้งที่ ๑)
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    เด็กเล็ก
    ๕๕
    ๕๒
    ๓๔
    ๑๘
    ๑๘
    ๓๔.๖๒
    รุนแรงมากที่สุด

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำหว่าเกณฑ์
    ประเมิน
    ประถม ๑
    ๒๘
    ๒๗
    ๑๐
    ๑๗
    ๖๒.๙๖
    รุนแรงมากที่สุด
    ประถม ๒
    ๔๑
    ๔๐
    ๑๘
    ๒๒
    ๕๕.๐๐
    รุนแรงมากที่สุด
    ประถม ๓
    ๓๔
    ๓๒
    ๒๐
    ๑๒
    ๓๗.๕๐
    รุนแรงมากที่สุด
    ประถม ๔
    ๓๑
    ๓๑
    ๑๙
    ๑๒
    ๓๘.๗๑
    รุนแรงมากที่สุด
    ประถม ๕
    ๓๓
    ๒๙
    ๑๗
    ๑๒
    ๔๑.๓๘
    รุนแรงมากที่สุด
    ประถม ๖
    ๒๖
    ๒๖
    ๒๓
    ๑๑.๕๔
    รุนแรงปานกลาง
    รวม
    ๑๙๓
    ๑๘๕
    ๑๐๗
    ๗๘
    ๔๒.๑๖
    รุนแรงปานกลาง

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. (๒๑๔)