ประวัติโรงเรียนแก้งคำประชาสามัคคี ข้อมูลนักเรียน
การดำเนินโครงการ ผลการดำเนินโครงการ

ประวัติโรงเรียนแก้งคำประชาสามัคคี

หมู่ที่ ๓ บ้านแก้งท่าลับ ตำบลอุ่มจาน อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
 โรงเรียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๘๙ โดยก่อสร้างเป็นอาคารเรียนแบบชั่วคราว ขนาด ๕ x ๗ เมตรพื้นที่ ๒๑ ไร่
 ปี พ.ศ.๒๕๐๙ ชาวบ้านได้ร่วมมือกับปลูกสร้างอาคารเรียนแบบถาวร ๑ หลัง ในปีเดียวกันได้ขยายชั้นเรียน เพิ่มเป็น ป.๑ - ป.๖ ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้งบประมาณสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง พร้อมอาคาร สน.๐๐๑
พ.ศ.๒๕๓๕ โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการตามพระราชดำริ
โรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด ๒๑ ไร่

ข้อมูลนักเรียน
ระบบการศึกษา
โรงเรียนแก้งคำประชาสามัคคี สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสกลนคร
โรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ดำเนินการสอนเป็น ๒ ภาคเรียน ดังนี้
  • ภาคเรียนที่ ๑ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๔ ถึง ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๔
  • ภาคเรียนที่ ๒ เปิด เปิด ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ ถึง ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๕

  • จำนวนครูและนักเรียน
    เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน ๕๔ คน
    ปัจจุบันมีนักเรียน ๑๐๙ คน เป็นชาย ๔๘ คน หญิง ๖๑ คน มีครู ๗ คน ผู้ดูแลเด็ก ๑ คน นักการภารโรง ๑ คน

    ตารางแสดงจำนวนนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๔๔
    ระดับชั้น
    ชาย
    หญิง
    รวม
    เด็กเล็กก่อนวัยเรียน
    ๑๑
    ๑๐
    ๒๑
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
    ๑๔
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
    ๑๐
    ๑๗
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
    ๑๒
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
    ๑๖
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
    ๑๓
    ๒๐
    ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
    รวม
    ๔๘
    ๖๑
    ๑๐๙

    การศึกษาต่อของนักเรียนและการประกอบอาชีพของนักเรียน (ปีการศึกษา ๒๕๔๐ - ๒๕๔๓)
    ปัจจุบันมีนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ศึกษาต่อ จำนวน ๒๕ คน ประกอบอาชีพ จำนวน ๑๕ คน

    การดำเนินโครงการ
    โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
    ครูผู้รับผิดชอบ คือ นายโอกาส ไชยภักดี
    หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน คือ สำนักงานเกษตรจังหวัดสกลนคร สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร สำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร
    แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ประปาในโรงเรียน
    แหล่งน้ำสำหรับดื่ม น้ำฝน น้ำบาดาล
    ปัจจุบันมีการประกอบเลี้ยงครั้ง ๕ /สัปดาห์
    ผู้ประกอบการเลี้ยง คือ นางขวัญ นาโควงค์ งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบล
    การเฝ้าระวัง มีนักเรียนที่มีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑
    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับในอัตรา ๖ บาท/คน/วัน และได้รับอาหารเสริมเป็นนมถั่วเหลือง และนมผง

    ผลการดำเนินโครงการ
    อัตราการมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ปีการศึกษา ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑
    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    ระดับ๑
    ระดับ๒
    ระดับ๓
    รวม
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    เด็กเล็ก
    ๒๑
    ๒๑
    ๒๐
    ๔.๗๖

    ชั้น
    นร.ทั้งหมด
    นร.ที่ตรวจ
    นร.ปกติ
    จำนวนต่ำกว่าเกณฑ์
    % ต่ำกว่าเกณฑ์
    ประถม ๑
    ๑๔
    ๑๔
    ๑๒
    ๑๔.๒๘
    ประถม ๒
    ๑๗
    ๑๗
    ๑๕
    ๑๑.๗๖
    ประถม ๓
    ๑๒
    ๑๒
    ๒๕
    ประถม ๔
    ๑๖
    ๑๖
    ๑๔
    ๑๒.๕
    ประถม ๕
    ๒๐
    ๒๐
    ๒๐
    ๐.๐๐
    ประถม ๖
    ๒๒.๒๒
    รวม
    ๘๘
    ๘๘
    ๗๗
    ๑๑
    ๑๒.๕

    แหล่งอ้างอิง : สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
    สยามบรมราชกุมารี. (๒๖)
    อีสาน ท๑ ส๖๕๒๘๒ ๒๖๔๔